หน้าเว็บ

บทความที่ได้รับความนิยม

9 พฤศจิกายน 2554

เศรษฐกิจพอเพียง กับความมั่นคง


คำนำ
                               
                                "เศรษฐกิจพอเพียง"  เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้แนะแนวทาง
การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย   ซึ่ง
การศึกษาเพื่อให้เข้าถึงแก่นแท้ของหลักปรัชญา ฯ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากลำบาก  เนื่องจากไม่มีตำราหรือเอกสารเฉพาะที่จะใช้ค้นคว้าและยึดเป็นหลักอ้างอิงได้  ดังนั้นการค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลมาศึกษาทำความเข้าใจ   จึงต้องใช้วิธีประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสที่พระราชทานในวโรกาสต่าง ๆ  รวมทั้งรวบรวมความรู้จากแหล่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความหลากหลายในความคิดเห็น และมีขอบเขตกว้างขวางลึกซึ้งแตกต่างกันไปตามมุมมองของแต่ละคน ทั้งนี้เนื่องจากแต่ละคนมีสติปัญญา  ความรู้  นิสัย ทัศนคติ อาชีพ  ประสบการณ์ สภาพแวดล้อม ภูมิหลัง และภูมิธรรมที่ต่างกัน ไม่อาจจะตัดสินได้ว่าความคิดเห็นใครผิดใครถูก หรือใครถูกมากกว่ากัน เพราะใครศรัทธาและนำไปใช้อย่างจริงจังในเรื่องใดก็ได้ผลดีในเรื่องนั้น อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความคิดหลากหลายของแต่ละคนนั้น มีอยู่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน
นั่นคือ การยอมรับว่าหลักปรัชญาฯ  เป็นแนวทางอันประเสริฐที่จะช่วยให้ทุกคนอยู่รอดปลอดภัยและมีความสุข
  ถ้ารู้จักพอในสิ่งที่ตนมีอยู่  อันจะทำให้ตนเองเข้มแข็งและมีความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด
                                การจัดทำ  " แนวทางการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการปฏิบัติงาน
ของกระทรวงกลาโหม " ฉบับนี้  กระทรวงกลาโหมได้น้อมนำ
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาพิจารณา
ประกอบกับนโยบายของรัฐบาล  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่  ๑๐
  แผนแม่บทการปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงกลาโหม  ยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศ  และนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๔  มาเป็นกรอบในการจัดทำแนวทางการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหมในบทบาทต่าง ๆ
  ซึ่งเมื่อศึกษาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว จะพบว่าหลักปรัชญานี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในทุกเรื่องราวทุกสถานการณ์ไม่มีขอบเขตจำกัด  เพราะช่วยให้คนมีสติและเกิดปัญญาในการใช้ความรู้ความสามารถของตนเองอยู่ตลอดเวลา  เนื่องจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยแท้จริงก็คือหลักธรรมนั่นเอง
                                การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้เป็นหลักในการปฏิบัติงานของกระทรวงกลาโหม จะได้ผลเพียงใด จึงขึ้นอยู่กับความศรัทธาและความจริงจังของกำลังพลทุกคน  อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินงานตามแนวทางนี้  กระทรวงกลาโหมจะมีการติดตามและประเมินผลเป็นระยะอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมยิ่งขึ้น อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
แก่กระทรวงกลาโหมและประเทศชาติต่อไป
                                                                                                พลเอก
                                                                   ( บุญรอด  สมทัศน์ )
                                                                                                              รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
                                                                                                                      ธันวาคม ๒๕๕๐







  สารบัญ
.............................................

                                                                                                                                                                                     หน้า
คำนำ                                                                                                                                                                                                                   
บทที่ ๑ :   กล่าวทั่วไป                                                                                                                                                        
บทที่ ๒ :   หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง                                                                                                                      
บทที่ ๓ :  การประยุกต์ใช้                                                                                                                                                  ๑๑                      
                    ด้านการสร้างองค์ความรู้                                                                                                                          ๑๑
            ด้านการพัฒนากำลังพล                                                                                                                ๑๒
                    ด้านการเตรียมกำลัง                                                                                                               ๑๓ 
                    ด้านการใช้กำลังทหาร                                                                                                                ๑๖   
                    ด้านการบริหารจัดการ                                                                         ๒๐
บทที่ ๔ :  แนวทางการดำเนินการตามนโยบายการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง                     ๒๓    
                 มาใช้เป็นหลักในการปฏิบัติงานของ กห.                                                               ภาคผนวก  : ความสัมพันธ์ของหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว                                 ๒๕
                     กับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และยุทธศาสตร์พระราชทาน   

.............................................



















บทที่ ๑
กล่าวทั่วไป
.............................................

                                กระทรวงกลาโหม  มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ   การรักษาผลประโยชน์ของชาติ  และสนับสนุนการพัฒนาประเทศ ซึ่งจากอำนาจหน้าที่ดังกล่าวทำให้กระทรวงกลาโหมต้องติดตามข้อมูลข่าวสาร และการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก  เพื่อประเมินสถานการณ์ภัยคุกคามที่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัย
และผลประโยชน์ของชาติอย่างต่อเนื่อง  กระทรวงกลาโหมจึงได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ตามแนว
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานของกระทรวง กลาโหม  เพื่อให้กองทัพมีความพร้อมในการปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาของชาติได้อย่างเหมาะสมกับทุกสถานการณ์ได้ทันที  รวมทั้งช่วยให้กองทัพมีระบบการควบคุม  ระบบการบริหารจัดการที่ดี  และพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา  โดยกระทรวงกลาโหมได้ตรวจสอบสถานการณ์ความมั่นคง
ในภาพรวม 
รวมทั้งกำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมายการดำเนินการ ดังนี้
                                ๑.  สถานการณ์ความมั่นคงในภาพรวม  มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้  
                                      ๑.๑    สถานการณ์โลก   จากแนวความคิดการจัดระเบียบโลกใหม่ (New  World  Order)
ที่มีสหรัฐ ฯ และกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกเป็นแกนนำ  และผลแห่งกระแสโลกาภิวัตน์
คือความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  ทำให้คนทั้งโลกติดต่อสื่อสารถึงกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว  สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้พร้อมกันทั่วทุกมุมโลก ได้ส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางเศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง  และการทหารในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเป็นอย่างมาก  เกิดการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม รวมทั้ง
การพยายามครอบงำทางเศรษฐกิจ
และแสวงประโยชน์อื่น ๆ จากประเทศที่กำลังพัฒนา โดยใช้กระแสสิทธิและเสรีภาพ  เช่น การปกครองแบบประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน การค้าเสรี และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เป็นต้น
 เป็นผลทำให้สภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงเปลี่ยนแปลงไป  ซึ่งมีปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการดำรงอยู่และการพัฒนากองทัพ  ได้แก่
                                                ๑.๑.๑  ความขัดแย้งระหว่างประเทศมหาอำนาจกับกลุ่มก่อการร้าย  นับตั้งแต่วันที่  ๑๑ กันยายน ๒๕๔๔   เป็นต้นมา  ความขัดแย้งดังกล่าวได้ส่งผลให้การเมืองระดับโลกเกิดการแบ่งฝ่าย
ที่ชัดเจนขึ้นจนเห็นได้ชัด ทั้งกลุ่มอุดมการณ์ทางการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์  ทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง   ซึ่งปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ตระหนักถึงภัยคุกคามและความเสียหายที่เกิดจากการก่อการร้าย  ทั้งทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศ  โดยได้หันมาเพิ่มความร่วมมือเพื่อต่อต้านขบวนการก่อการร้ายมากขึ้นกว่าเดิม         






- ๒ -

                                                ๑.๑.๒  ความขัดแย้งของประเทศในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก  ยังคงมีกรณี
ความขัดแย้งในพื้นที่ต่าง ๆ ของภูมิภาค  อาทิ ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ระหว่างจีนกับประเทศที่อ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อน ซึ่งในอนาคตอาจเกิดความรุนแรงขึ้นได้   ความขัดแย้งระหว่างอินเดียและปากีสถานซึ่งทั้งสองประเทศต่างก็มีอาวุธนิวเคลียร์อยู่ในความครอบครองน่าจะยังคงมีความขัดแย้งกันต่อไป  ความขัดแย้งระหว่างจีนและไต้หวันที่ต้องการประกาศเอกราชก็อาจขยายตัวจนเกิดสงครามขึ้นได้ในอนาคต  และปัญหาคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งการเจรจายังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เป็นต้น
                       ๑.๒  สถานการณ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างไทยกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (อาเซียน)   มีการพัฒนาความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมมาอย่างต่อเนื่องทั้งกรอบทวิภาคีและพหุภาคี  โดยเฉพาะการร่วมลงนามในกฎบัตรอาเซียน ในการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ ๑๓  ณ ประเทศสิงคโปร์  เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ทำให้กระบวนการรวมกลุ่มของอาเซียน  มีสถานะความเป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีพื้นฐานทางกฎหมายรองรับ และมีพันธะสัญญาต่อกันมากขึ้น  อย่างไรก็ตาม ปัญหาของอาเซียนมีความหลากหลายและแตกต่างกันเป็นอย่างมาก 
ซึ่งล้วนเป็นปัญหาที่หยั่งรากลึก และสะสมจากปัญหาภายในประเทศของแต่ละประเทศมาเป็นเวลานาน  ทั้งด้าน
ภาษา วัฒนธรรม เชื้อชาติ ศาสนา ระบบการปกครอง เศรษฐกิจ และสภาพการดำรงชีวิต  ในขณะเดียวกัน อาเซียนยังต้องเผชิญกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่  ซึ่งเป็นปัญหาข้ามชาติที่ทวีความรุนแรง และต้องอาศัย
ความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมในระดับภูมิภาคเพื่อแก้ไขปัญหา  อาเซียนจึงให้ความสำคัญมากขึ้น
กับการส่งเสริมการพัฒนาความร่วมมือด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม ได้แก่ ความร่วมมือ
ในการต่อต้านการก่อการร้ายสากล  อาชญากรรมข้ามชาติ  การป้องกันภัยจากโจรสลัดในช่องแคบมะละกา  การจัดการภัยพิบัติ  การป้องกันโรคระบาด  และการจัดทำเขตการค้าเสรี  เป็นต้น
                                      ๑.๓   สถานการณ์ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน  ในทศวรรษที่ผ่านมาสถานการณ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านได้พัฒนาสู่ทิศทางการมีความร่วมมือที่ดีต่อกัน เพราะต่างเห็นความสำคัญของความร่วมมือเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาที่แตกต่างกัน และเพิ่มพูนอำนาจการแข่งขันไปด้วยกัน  จึงได้มีความพยายามที่จะสร้างกรอบความร่วมมือในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านและในภูมิภาค ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี  โดยยุทธศาสตร์ในการสร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านให้เกิดความเข้าใจและไว้วางใจนั้น  มีโครงการความร่วมมือด้านความมั่นคง การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และได้รับการสนับสนุนทั้งในระดับรัฐบาลและประชาชน  ด้วยการใช้ปัญหาที่เผชิญร่วมกันเป็นตัวตั้ง และช่วยเหลือกันในการร่วมกันหาวิธีแก้ปัญหา  การเรียนรู้พึ่งพากันโดยใช้มิติทางวัฒนธรรมเป็นปัจจัยยึดโยง เพื่อทำให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อกัน  สำหรับด้านพลังงาน การท่องเที่ยวและการคมนาคม  ได้มีการสร้างความร่วมมือและพัฒนาเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านและในภูมิภาค  เพื่อใช้เป็นเส้นทางติดต่อแลกเปลี่ยนด้านสินค้าและบริการ และการเดินทางข้ามแดนที่มีการผ่อนคลายให้มีความสะดวกมากขึ้น ทั้งนี้ประเทศไทยได้ยึดหลักการประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างใกล้ชิดและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน  บนพื้นฐาน




- ๓ -

ของความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ยังคงมีอยู่ เช่น การปักปันเขตแดน  ยาเสพติดตามแนวชายแดน  การประมงข้ามเขต  และผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย  ให้มีผล
เป็นรูปธรรมต่อไป
                                       ๑.๔  สถานการณ์ภายในประเทศ  ไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบจากแนวความคิดการจัดระเบียบโลกใหม่และกระแสโลกาภิวัตน์ได้  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจ การเมือง และการรุกรานทางวัฒนธรรมที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตดั่งเดิม  ทำให้คนไทยบางส่วน
เกิดค่านิยมที่ผิด เช่น มีค่านิยมทางวัตถุเกินพอดีจนลืมรากฐานที่ดีงามของตนเองและสังคมไทย  ขาดวินัยทางการเงิน   มีนิสัยสุรุ่ยสุร่าย  มีหนี้สินมากเกินตัว ละทิ้งวัฒนธรรมของชาติ  ละเลยคุณธรรมและจริยธรรม 
กล้าทำในสิ่งที่ผิดศีลธรรมเพื่อประโยชน์
ของตน  มีการทุจริตคอรัปชั่นมากขึ้น  มีการใช้อำนาจหน้าที่แสวงประโยชน์ส่วนตน  การบังคับใช้กฎหมายหย่อนยานและมีการเลือกปฏิบัติ   ส่งผลให้สำนึกในความรักชาติลดลง เกิดสภาพหย่อนยานของอำนาจรัฐและภูมิคุ้มกันของสังคมไทยต่ำลง  นอกจากนี้ ปัญหาการก่อความ
ไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่  ตลอดจนปัญหาที่เป็นเรื่องสืบเนื่องจากอดีต  อาทิ  ปัญหายาเสพติด และปัญหาแรงงานต่างด้าว ยังเป็นภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง  
ทั้งยังจะต้องเผชิญกับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และโรคระบาดที่รุนแรง  ซึ่งทำให้มีการใช้กำลังทหารนอกเหนือจากภารกิจหลักเพิ่มมากขึ้น
                                       ๑.๕  สถานการณ์ภายในกองทัพ  จากการที่สถานการณ์ภายนอกมีการเปลี่ยนแปลง
ทั้งด้านการเมือง  สังคม เศรษฐกิจ และการทหารอยู่ตลอดเวลา  ทำให้กองทัพต้องตื่นตัวที่จะพัฒนาตนเอง
ให้เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมและภัยคุกคามอย่างต่อเนื่อง  เพื่อไม่ให้เกิดปัจจัยเสี่ยงด้านความมั่นคง
ของประเทศ  โดยต้องพร้อมที่จะปฏิบัติการรักษาผลประโยชน์ของชาติ  แต่ยังมีข้อจำกัดบางประการ
ต่อการพัฒนาขีดความสามารถกองทัพ  ได้แก่  
                                   ๑.๕.๑ ด้านงบประมาณ   มีตัวแปรสองประการที่เป็นข้อจำกัดต่อการพัฒนากองทัพ ตัวแปรประการแรก  คือ จำนวนงบประมาณที่ได้รับแต่ละปีมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับจีดีพีของประเทศ
และเทียบกับมาตรฐานงบประมาณด้านการป้องกันประเทศของประเทศอาเซียนชั้นนำอื่น ๆ  ตัวแปรประการที่สอง  คือ ค่าใช้จ่ายประจำมีปริมาณสูงถึงประมาณร้อยละ ๗๐  ทำให้งบประมาณสำหรับนำไปพัฒนากองทัพในแต่ละปีมีไม่เพียงพอ   ซึ่งหากจะให้การพัฒนากองทัพเกิดผลเร็วขึ้น จะต้องหาทางแก้ไขสัดส่วนของงบประมาณระหว่างค่าใช้จ่ายประจำกับค่าใช้จ่ายในการพัฒนากองทัพให้เหมาะสมกว่าปัจจุบัน  ซึ่งมีหนทางแก้ไขอยู่ ๒ วิธี  คือการเพิ่มงบประมาณให้มากขึ้น และการลดค่าใช้จ่ายประจำ
                                                ๑.๕.๒ การพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ   ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันกองทัพยังคงต้องพึ่งพาเทคโนโลยีการป้องกันประเทศจากมิตรประเทศ  ทำให้ใช้จ่ายงบประมาณมากแต่ยังมีความขาดแคลน   และล้าสมัย ไม่อาจสนองตอบความต้องการของกองทัพได้ ซึ่งวิถีทางดังกล่าวนี้หากไม่พยายาม
กำหนดแนวทางพัฒนาตนเองให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ในวันใดวันหนึ่งข้างหน้าแล้ว  ประเทศไทยก็จะมี






- ๔ -

ความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา   เพราะการขจัดความเสี่ยงด้วยการรับความช่วยเหลือ
จากมิตรประเทศหรือการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์จากต่างประเทศนั้นเป็นการพึ่งพาผู้อื่น  ขาดการวางรากฐานของการพึ่งพาตนเอง   ดังนั้นการหันกลับไปมองสิ่งที่มีอยู่แล้ว เช่น อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และพัฒนา
ขึ้นมาให้สนองตอบความต้องการของเหล่าทัพให้ได้บ้างแล้ว  ก็จะเป็นการขจัดปัจจัยเสี่ยงด้านความมั่นคงของประเทศบางส่วนลงได้  นอกจากนี้ ยังควรพัฒนากิจกรรมด้านอื่นๆ ที่สอดคล้องกับสิ่งที่มีอยู่และจำเป็นแก่การป้องกันประเทศโดยตรง เช่น การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ   ระบบกำลังสำรอง  และการระดมสรรพกำลังเพื่อความต่อเนื่องในการรบ เป็นต้น
                                       ๑.๖   ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  สภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงในปัจจุบันได้ก้าว
เข้าสู่ภาวะโลกไร้พรมแดนหรือยุคโลกาภิวัตน์
  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการทหารจากรูปแบบเดิม
ไปสู่การจัดหน่วยที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง  ด้วยการมีเทคโนโลยีสูง มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่
มีอำนาจการยิงสูง  มีระบบป้องกันที่มีประสิทธิภาพ  มีเทคโนโลยีที่สามารถแจ้งเตือนการล้ำแดนในระยะไกลที่ทำให้มีเวลาเพียงพอสำหรับการใช้กองกำลังเข้าแก้ไขปัญหา  ทั้งนี้ยุทธศาสตร์การปฏิบัติการเชิงรุกและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้ส่งแรงผลักดันต่อการพัฒนาขีดความสามารถกองทัพเป็นอย่างมาก
เนื่องจากทุกประเทศต่างใช้เทคโนโลยีมาพัฒนาขีดความสามารถกองทัพของตนให้สูงขึ้น  ดังนั้นกองทัพไทยจึงต้องปรับตัวเองให้พร้อมเผชิญกับภัยคุกคามได้ทุกรูปแบบ 
                                ๒.  วัตถุประสงค์และเป้าหมาย  จากสถานการณ์ด้านความมั่นคงที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการทหารของประเทศต่าง ๆ  รวมทั้งประเทศไทยดังที่กล่าวข้างต้น
จะเห็นว่านอกจากภัยคุกคามทางทหารแล้ว  กองทัพไทยยังต้องเผชิญกับภัยคุกคามด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ที่หลากหลาย  รวมถึงสาธารณภัยและภัยพิบัติที่กระทบต่อความสงบสุขของประชาชน  ซึ่งภัยคุกคามรูปแบบต่าง ๆ มีผลต่อการกำหนดนโยบายการใช้กำลังทหารนอกเหนือจากภารกิจหลักเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้นกระทรวงกลาโหมจำเป็น ต้องปรับปรุงโครงสร้างและการบริหารจัดการ โดยได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการปฏิบัติราชการของกระทรวงกลาโหม  เพื่อพัฒนากองทัพให้มีขีดความสามารถ
ที่หลากหลาย พึ่งพาตนเองได้
สามารถเผชิญกับภัยคุกคามได้ทุกประเภททุกสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และสามารถพัฒนารูปแบบการปฏิบัติการที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาได้ทุกปัญหา
โดยได้กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายการดำเนินการ  ดังนี้
                                        ๒.๑  วัตถุประสงค์   
                                                  ๒.๑.๑  เพื่อเป็นการสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในฐานะองค์จอมทัพไทย   ที่ทรงมุ่งหวังให้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นวิถีการดำรงชีพและการปฏิบัติตนของคนไทย  เพื่อเสริมรากฐานของชีวิตให้มีความมั่นคงภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของโลก 
ซึ่งกระทรวงกลาโหม ในฐานะหน่วยงานของรัฐ  จะเป็นตัวอย่างในการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง



- ๕ -

                                                 ๒.๑.๒  เพื่อให้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นวัฒนธรรมใหม่ทางความคิด
ในการปฏิบัติราชการของกระทรวงกลาโหม
                         ๒.๑.๓ เพื่อเสริมสร้างสังคมแห่งคุณธรรม (คือ สภาพคุณงามความดี) และจริยธรรม (คือ ธรรมอันเป็นข้อประพฤติ) ในกองทัพให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
                                    ๒.๒  เป้าหมาย
                                                 ๒.๒.๑  การพัฒนาคน   โดยการเผยแพร่องค์ความรู้เรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแก่กำลังพลและครอบครัวทุกระดับ  ให้นำไปใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตส่วนตัวและการพัฒนาตนเองให้เป็นคนเก่งและคนดี  คือเป็นคนที่มีคุณภาพ มีความรอบรู้และมีคุณธรรม ยึดมั่นในความซื่อสัตย์ สำนึกในส่วนรวม  เสียสละ และกล้าหาญ
                                                 ๒.๒.๒  การพัฒนากองทัพ  โดยพัฒนาให้กองทัพมีความเข้มแข็ง เป็นกองทัพ
แห่งทหารอาชีพ  มีความพร้อมรบและรบได้จริง เป็นหลักประกันอธิปไตยของชาติได้อย่างมั่นคงยั่งยืน
บนหลักของการประหยัดและการพึ่งพาตนเอง
                               
......................................................























บทที่ ๒
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
......................................................

                   หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตและวิถีปฏิบัติที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  มีพระราชดำรัสชี้แนะแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๓๐ ปี  และได้ทรงเน้นย้ำแนวทางพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท  โดยคำนึงถึงความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  การสร้างภูมิคุ้มกันในตัว  ตลอดจนใช้ความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต
การป้องกันให้รอดพ้นจากวิกฤต และให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจในปี ๒๕๔๐ เพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ 
                                สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ในฐานะหน่วยงานหลัก
ในการวางแผนของประเทศ ตระหนักถึงความสำคัญของแนวคิดดังกล่าว จึงได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาต่าง ๆ  มาร่วมกันพิจารณากลั่นกรองพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียงในโอกาสต่าง ๆ สรุปออกมาเป็นนิยามความหมายปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และได้อัญเชิญ
มาเป็นปรัชญานำทางในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ และฉบับที่ ๑๐ 
เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับมีความเข้าใจในหลักปรัชญา ฯ  และนำไปเป็นพื้นฐานและแนวทางในการดำเนินชีวิต  โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทาน และโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรม
ราชานุญาต ให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่  เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป  เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ มีใจความดังนี้
                                เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชน
ในทุกระดับ  ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ  ทั้งในการพัฒนา
และบริหารประเทศ
ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง  โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ 
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบ
ภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร  ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน  ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้  ความรอบคอบ  และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ  มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน  และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ  โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ  ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม   ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง  ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี





- ๘ -

                                หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ด้วยกัน ๕ ส่วน ดังนี้
                                ๑.    กรอบแนวคิด  เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทาง
ที่ควรจะเป็น  โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย  สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา
และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤต 
เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
                                ๒.   คุณลักษณะ  เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้
ในทุกระดับ  โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
                                ๓.   คำนิยาม  ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้
                                        ๓.๑    ความพอประมาณ  หมายถึงความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป
โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น  เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
                                        ๓.๒   ความมีเหตุผล  หมายถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล  โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง  ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจาก
การกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
                                        ๓.๓   การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว  หมายถึงการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและ
การเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น  โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่า
จะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
                                ๔.   เงื่อนไข  การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น
ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
                                        ๔.๑    เงื่อนไขความรู้  ประกอบด้วยความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
อย่างรอบด้าน  ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
                                        ๔.๒   เงื่อนไขคุณธรรมที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม  มีความซื่อสัตย์สุจริต  มีความอดทน  มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ไม่โลภ และไม่ตระหนี่
                                ๕.   แนวทางปฏิบัติ/ ผลที่คาดว่าจะได้รับ  จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มาประยุกต์ใช้  คือการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม  สิ่งแวดล้อม  ความรู้ และเทคโนโลยี
                                    ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานข้างต้น
เป็นที่มาของ นิยาม
๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงผ่านช่องทางต่าง ๆ อยู่ในปัจจุบัน

......................................................



- -

สรุปปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง











บทที่ ๓
 การประยุกต์ใช้
..............................................

                                การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการปฏิบัติงานนั้น  ต้องการให้กำลังพลและกองทัพตั้งหลักความคิดตามหลักปรัชญา ฯ ไว้ในเบื้องต้นทุกครั้ง  ก่อนที่จะเริ่มพินิจพิจารณาดำเนินการใด ๆ กล่าวคือ ต้องมีสติ  มีจิตสำนึกทางศีลธรรมและคุณธรรม ไม่ประมาท  คิดทำอะไรอย่างมีเหตุผล  จะทำให้เป็นที่วางใจได้ว่างานทุกอย่างที่คิดทำนั้น  จะตั้งอยู่บนผลประโยชน์ของส่วนรวมโดยแท้จริงและจะไม่สร้างผลกระทบทางลบต่อสังคม  เพราะการจะใช้หลักปรัชญา ฯ ให้ได้ผล ผู้ใช้จะต้องเป็นผู้ที่มีพื้นฐานคุณธรรม
ที่ดีในจิตใจเสียก่อน  การใช้ความรู้จะเป็นลักษณะของการไม่ถูกครอบงำด้วยความอยาก  คือเกิดเป็นปัญญาในการสร้างสรรค์งาน บนความมีเหตุมีผลทางวิชาการ และกฎเกณฑ์สังคม คือกฎหมายและศีลธรรม  ดังนั้นเรื่องใดที่กระทำโดยคนที่มีคุณธรรมแล้ว ย่อมเป็นเรื่องที่จะสร้างประโยชน์และความสุขแก่ส่วนรวม
อย่างแน่นอน  ซึ่งมีแนวทางการประยุกต์ใช้ ๕ ด้านที่สำคัญ ดังนี้   
                                ๑.  ด้านการสร้างองค์ความรู้  (มีความรู้คู่คุณธรรม )  ส่งเสริมการศึกษาของกำลังพล
ให้มีความรู้ในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและในศาสตร์ต่างๆ อย่างหลากหลายให้เท่าทัน
กับความก้าวหน้าทางวิทยาการของโลกที่มีความรู้แปลกใหม่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งสนับสนุน
ให้มาตรฐานการศึกษาของกำลังพลในกองทัพเป็นที่ยอมรับของสังคมทั่วไป
เพื่อสร้างสังคมแห่งปัญญา
ขึ้นในกองทัพ  ซึ่งจะเป็นศักยภาพด้านองค์ความรู้ที่จะรองรับการพัฒนากองทัพในด้านต่าง ๆ ต่อไป โดยมี
แนวทางดังนี้
                                        ๑.๑  การศึกษาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ในการเผยแพร่ความรู้นั้นให้ทุกเหล่าทัพบรรจุเนื้อหา (วิชา) หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไว้ในหลักสูตรการฝึกศึกษาในระดับต่าง ๆ ทุกหลักสูตร  ตั้งแต่หลักสูตรการฝึกทหารใหม่  การศึกษาในโรงเรียนซึ่งมีหน้าที่ผลิตกำลังพลชั้นประทวนและ
ชั้นสัญญาบัตร (รร. ผลิตนายทหารชั้นประทวน, รร.จปร. ,รร.นอ., รร.นร.) หลักสูตรการศึกษาตามแนวทางรับราชการของนายทหารชั้นประทวนและสัญญาบัตร วิทยาลัยการทัพ จนถึงระดับวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร  และอาจจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นสำหรับผู้บังคับหน่วยและฝ่ายอำนวยการ  เพื่อให้นำความรู้ไปเผยแพร่แก่กำลังพลของหน่วยและครอบครัว  การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ภายในหน่วยและระหว่างหน่วย  และสนับสนุนการศึกษาวิจัยในหัวข้อหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
                                        ๑.๒  การศึกษาตามแนวทางรับราชการ  พิจารณาจัดระบบการศึกษาที่ให้โอกาส
กำลังพลในแต่ละระดับหรือแต่ละประเภท ได้รับการศึกษาตามแนวทางรับราชการอย่างเท่าเทียมและเพียงพอต่อหน้าที่รับผิดชอบ
                                        ๑.๓  การแสวงหาความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ    โดยส่งเสริมให้กำลังพลเข้าศึกษาหาความรู้ในสถาบันการศึกษา ต่าง ๆ ที่แม้จะไม่ตรงกับหน้าที่การงาน เพื่อให้กองทัพมีบุคลากรที่มีความหลากหลาย



- ๑๒ -

และเป็นผู้รักการศึกษา  มีความคิดอ่านก้าวทันโลก และจัดให้มีกิจกรรมทางวิชาการระหว่างสถาบันการศึกษาของกองทัพกับสถาบันการศึกษาของพลเรือน  เช่น การสร้างความร่วมมือทางวิชาการ  และการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ  เป็นต้น
                                ๒.   ด้านการพัฒนากำลังพล     อาจกล่าวได้ว่ากำลังพลนั้นคือแก่นของกองทัพ  หากขาดกำลังพลที่มีคุณภาพเสียแล้ว  กองทัพก็ไร้ประสิทธิภาพ  ดังนั้นการพัฒนากำลังพลจึงเป็นเรื่องหลักที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้กำลังพลของกองทัพเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ กล่าวคือเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ในศาสตร์ต่างๆ ควบคู่กับการมีคุณธรรมที่เพียงพอจนถึงระดับที่ประชาชนหวังพึ่งพิงได้อย่างวางใจ   และเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ในโลกยุคปัจจุบันเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านการเมือง  เศรษฐกิจ  สังคม  และการทหาร  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มีผลกระทบต่อระบบการป้องกันประเทศและรูปแบบการปฏิบัติการทางทหารเป็นอย่างมาก  การมีเทคโนโลยีที่ต่ำกว่าย่อมหมายถึงประเทศมีความเสี่ยงในเรื่องความปลอดภัย  การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อขจัดความเสี่ยงเฉพาะหน้าอาจใช้วิธีซื้อหาได้   แต่การพัฒนาเทคโนโลยีที่ยั่งยืนนั้นจะต้องใช้บุคลากรของกองทัพที่มีความสามารถในด้านต่าง ๆ อย่างเพียงพอ  ดังนั้นกองทัพจะต้องพัฒนากำลังพลให้มีมาตรฐานความรู้ความสามารถที่หลากหลาย  ตามความต้องการสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ในด้านต่าง ๆ  โดยต้องพัฒนาไปสู่การเป็นมืออาชีพเฉพาะสาขาหรือเฉพาะงานด้วย   ดังนั้นจึงต้องพัฒนาศักยภาพของกำลังพลในทุกมิติ คือ ด้านร่างกาย จิตใจ ปัญญา  ความรู้  คุณธรรม  (สติปัญญา คือ ความรู้คู่คุณธรรม) และคุณภาพชีวิต  เพื่อให้กำลังพลมีขวัญกำลังใจ  ซึ่งเป็นอำนาจกำลังรบที่สำคัญที่สุดของกองทัพ  ทั้งนี้มีแนวทางการพัฒนากำลังพล ๕ ประการ ดังนี้     
                                        ๒.๑  การพัฒนาคุณภาพชีวิต   เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันการดำรงชีวิตส่วนตัวของ
กำลังพลและครอบครัวให้มีความมั่นคงปลอดภัย  ซึ่งนอกจากจะอบรมเผยแพร่ความรู้หลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงให้นำไปใช้ในการดำรงชีวิตส่วนตัวแล้ว   หน่วยทุกระดับควรจัดระบบสวัสดิการแก่กำลังพลและครอบครัวให้พอเพียงตามความเหมาะสม  ตั้งแต่การจัดที่อยู่อาศัยให้ทั่วถึงและเป็นธรรม
จัดระบบบริการด้านการเงินต่าง ๆ  เช่น  ระบบเงินออม (ภาคบังคับ)  เงินกู้ยืมเพื่อสร้างฐานะและบรรเทาทุกข์  ระบบการควบคุมหนี้สินและการปลดหนี้  และเงินฌาปนกิจ เป็นต้น  รวมทั้งควรจัดสวัสดิการด้านมาตรการ
ลดรายจ่ายและส่งเสริมการเพิ่มรายได้แก่กำลังพล  อาทิ  การจัดระบบบริการสินค้าราคาถูกที่จำเป็น
ต่อการดำรงชีพอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง  การส่งเสริม
อาชีพให้แก่ครอบครัวที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่  โดยใช้ศักยภาพและทรัพยากรของกองทัพที่มีอยู่ในแต่ละ
พื้นที่  การใช้ที่ดินว่างเปล่าเพื่อทำการค้า  การเกษตร ปศุสัตว์   ประมง  การปลูกป่าเศรษฐกิจไม้โตเร็ว  การจัดทำแหล่งท่องเที่ยวในหน่วยทหาร  หรือส่งเสริมการทำกิจกรรมอื่นเพื่อเป็นแหล่งจ้างงาน  นอกจากนี้ควรพิจารณาขยายระบบการช่วยเหลือด้านอื่นๆ นอกจากการแจกจ่าย
อาภรณ์ภัณฑ์
ประจำปี  รวมทั้งควรจัดให้มีระบบติดตามการดำเนินงานทั้งในภาพรวมของกองทัพและ
ในระดับบุคคล
  เพื่อปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา





- ๑๓ -

                                        ๒.๒  การกำหนดมาตรฐานสมรรถภาพกำลังพล  เพื่อให้เป็นระบบการรักษาสมรรถภาพกำลังพลทั้งด้านร่างกายและจิตใจ  ให้มีความแข็งแกร่งและรุกรบอยู่ตลอดเวลา โดยมีมาตรการบังคับ ๓  มาตรการ  คือ  การตรวจสุขภาพประจำปี (ปีละ ๒ ครั้ง) การทดสอบร่างกายประจำปี (ปีละ ๒ ครั้ง)   การฝึกทางยุทธวิธีพื้นฐานในระดับต่างๆ ประจำปีสำหรับผู้ที่ไม่เคยรับการฝึกในแต่ละขั้น(ปีละ ๑ ครั้ง) โดยมีเกณฑ์มาตรฐานเดียวกันทั้งกองทัพ พร้อมกับจัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศรองรับ
                                        ๒.๓  การเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม   เพื่อให้กำลังพลเป็นผู้มีความรู้ที่ควบคู่ด้วยคุณธรรม  ซึ่งสภาพแวดล้อมในการทำงานและการอบรมจิตใจจะเป็นตัวบ่มเพาะ  ดังนั้นระบบ
การปกครองบังคับบัญชาที่เป็นธรรม  การบริหารงานที่สุจริตมุ่งประโยชน์ของส่วนรวม  การเป็นตัวอย่างที่ดี
ของผู้บังคับบัญชา  การสร้างค่านิยมในการเป็นทหารอาชีพ  การอบรมทางศีลธรรมและจริยธรรมแก่กำลังพลทุกระดับอย่างต่อเนื่อง  จะทำให้กำลังพลเป็นผู้มีวินัย  มีความซื่อสัตย์  อดทน ขยันหมั่นเพียร สำนึกในหน้าที่  มีความรับผิดชอบ  เสียสละ และกล้าหาญ
                                        ๒.๔  การสร้างมืออาชีพเฉพาะทาง   กองทัพยังขาดบุคลากรที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะทาง เช่น นักวิทยาศาสตร์  นักวิจัย   นักวิชาการ  ผู้เชี่ยวชาญ  นักพูด  และล่ามโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาประเทศเพื่อนบ้าน( คือ พม่า  เขมร  มลายู  จีน เวียดนาม )  ซึ่งการที่จะพัฒนากองทัพให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ในที่สุดนั้น  กองทัพจะต้องเริ่มสร้างมืออาชีพเพื่อรองรับงานการวิจัยและพัฒนาด้านต่างๆของตนไว้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ   เช่น การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ  การพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์  การสร้างรถยนต์  รถรบ  การต่อเรือ  การสร้างอากาศยาน  เทคโนโลยีอวกาศ   ระบบการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ทุกประเภท  การวิจัยทางการแพทย์ด้านความมั่นคง และการวิจัยด้านอื่นๆ ที่จำเป็น โดยอาจต้องมีองค์กรด้านการวิจัยและพัฒนาโดยเฉพาะขึ้นเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการ
สืบทอดทางปัญญา  ดำเนินการต่อยอดความคิดจากเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน และการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ
ขึ้นมาเอง  โดยต้องมีเส้นทางการเจริญเติบโตในอาชีพและผลประโยชน์ตอบแทนรองรับบุคลากรดังกล่าวด้วย  เพื่อเป็นแรงจูงใจบุคลากรในวงการต่าง ๆ มาร่วมงาน
                                        ๒.๕  การพัฒนาระบบการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ากองประจำการ   ควรมีการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตพลทหารกองประจำการจากวิธีการเดิมคือการเรียกเกณฑ์ ไปเป็นระบบอาสาสมัครให้มากขึ้น เพื่อนำไปสู่ค่านิยมการเป็นทหารอาชีพ เช่นเดียวกับการผลิตกำลังพลชั้นประทวนและชั้นสัญญาบัตร ซึ่งจะทำให้สามารถเลือกบุคลากรที่มีคุณภาพที่ต้องการได้ในระดับหนึ่งตั้งแต่เบื้องต้น
                                ๓.  ด้านการเตรียมกำลัง   หมายถึงการเตรียมอำนาจกำลังรบของกองทัพให้อยู่ในระดับ
ที่พอเพียง  และมีความพร้อมอยู่เสมอสำหรับการป้องกันประเทศและรักษาผลประโยชน์ของชาติ  คือมีความ
                                                                                              เสี่ยงน้อยที่สุดและมีความต่อเนื่องในการรบได้ยาวนาน  บนหลักของการประหยัดและการพึ่งพาตนเอง
ได้อย่างยั่งยืนโดยให้ดำเนินการอยู่ในทางสายกลาง  กล่าวคือต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในทุก ๆ ด้าน
อันได้แก่  สถานการณ์ด้านความมั่นคง  สภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์  แนวโน้มภัยคุกคามที่คาดว่าจะต้อง





- ๑๔ -
 
เผชิญในอนาคต  ภารกิจที่ได้รับมอบ  และสถานะทางเศรษฐกิจของประเทศ 
ดังนั้นสิ่งที่กองทัพต้องทำ คือการกำหนดทิศทางในการพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพ  โดยการประเมินยุทธศาสตร์และการกำหนดโครงสร้างกำลังรบอย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้เป็นกองทัพอเนกประสงค์ที่จะสามารถรองรับกับภัยคุกคาม
ที่เปลี่ยนแปลงไป  และตอบสนองต่อภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบอย่างมีประสิทธิภาพ  รวมทั้งสามารถรองรับการพัฒนาปัจจัยที่เป็นศักย์สงคราม เช่น อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ  การระดมสรรพกำลัง และระบบกำลังสำรอง  เป็นต้น ให้มีความพร้อมและตั้งอยู่บนหลักของการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน  หากในกรณีที่เป็นเทคโนโลยีชั้นสูงและมีความทันสมัยที่ กห.
ไม่มีขีดความสามารถในการผลิตได้  ควรมีการพิจารณาเลือกใช้เทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมกับภารกิจภายใต้เงื่อนไขของงบประมาณที่มีอยู่  ซึ่งจะเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงด้านการป้องกันประเทศลง โดยนัยกลับกันก็เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันด้านความมั่นคงของประเทศเพิ่มขึ้นตามหลักการมีภูมิคุ้มกันที่ดีพร้อม ๆ กันไปด้วย  เพราะอำนาจกำลังรบที่มีประสิทธิภาพจะเปรียบเสมือนภูมิคุ้มกันเชื้อโรคของร่างกาย  จากที่กล่าวมาแล้ว
การพัฒนาอำนาจกำลังรบ จึงควรดำเนินการไปในแนวทาง ดังนี้
                                    ๓.๑   งานอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ  เป้าหมายสูงสุดคือความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้ โดยสามารถสนองตอบความต้องการ
ของเหล่าทัพได้
ทั้งในยามปกติและภาวะวิกฤต   ซึ่งงานทั้งสองส่วนเป็นงานที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน
อย่างแยกไม่ออก  เพราะส่วนหนึ่งเป็นงานการคิด  อีกส่วนหนึ่งเป็นงานการปฏิบัติ  เหล่าทัพนั้นเป็นตลาดคือผู้บริโภคที่จะเสนอ
ความต้องการ   ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายสูงสุดคือมีความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน  จึงควรเริ่มต้นวางรากฐานการพึ่งพาตนเองอย่างเป็นระบบ  โดยมีนโยบาย ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย และขั้นตอนที่ชัดเจน  จากขั้นพื้นฐานสู่ขั้นการประยุกต์หรือต่อยอด  และถึงขั้นการพัฒนาหรือคิดค้นนวัตกรรมด้วยภูมิปัญญาของตนเองในที่สุดอย่างครบวงจรของระบบงาน  ตั้งแต่งานโครงสร้างพื้นฐาน
(การจัดหน่วย)  งานการสร้างและสะสมองค์ความรู้เพื่อเป็นทุนทางปัญญาสำหรับการพัฒนาขั้นที่สูง ๆ ยิ่งขึ้นไป  งานการวิจัยและพัฒนา  งานมาตรฐานทางทหาร  ระบบการผลิต  และการตลาด  ให้กระบวนการผลิตดำรงอยู่ได้และสามารถพัฒนาให้ก้าวหน้าได้ยิ่งขึ้น   ซึ่งจะทำให้กองทัพพึ่งตัวเองได้โดยลำดับพร้อม ๆ กับสามารถลดการซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศลง  และจะช่วยประหยัดงบประมาณโดยมีแนวทางดังนี้
                                               ๓.๑.๑  งานโครงสร้างพื้นฐาน ในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุนให้พิจารณาถึงความจำเป็น ความเหมาะสม   การประหยัด( ความคุ้มค่าและความคุ้มทุน)  ความสะดวก  และความปลอดภัยด้านความ
มั่งคง  เพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนก่อนตัดสินใจลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดตั้งหรือ
การขยายระบบการผลิตที่อาจดำเนินการเอง  ดำเนินการโดยหน่วยงานอื่นหรือดำเนินการโดยภาคเอกชน
                                               ๓.๑.๒  งานการวิจัยและพัฒนา  ให้มีขอบเขตที่ครอบคลุมการวิจัยและพัฒนา
ทางทหาร (อาวุธยุทโธปกรณ์ตามความต้องการของกองทัพ)  การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอื่นที่จำเป็นต่อการป้องกันประเทศ  ความก้าวหน้าทางวิทยาการสำหรับการสร้าง และการสะสมองค์ความรู้   



- ๑๕ -

                                               ๓.๑.๓  ระบบการผลิต  ในขั้นต้นควรใช้พื้นฐานโรงงานที่มีอยู่ หากจะมีการเพิ่มผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายมากขึ้น อาจพิจารณาตั้งโรงงานเพิ่มขึ้นหรือใช้ศักยภาพของหน่วยงานภายนอกและภาคเอกชนให้ร่วมอยู่ในสายการผลิตได้ตามความเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์  ทั้งนี้ให้พิจารณาในแง่ของความปลอดภัยด้านความมั่นคง  ความคุ้มทุนคือถ้าผลิตเองต้องไม่แพงกว่าให้หน่วยงานอื่นหรือเอกชนทำ หรือให้หน่วยงานอื่นและเอกชนทำก็ต้องไม่แพงกว่าการจัดซื้อจากต่างประเทศ  และในด้านความคุ้มค่า คือ เรื่องคุณภาพ ปริมาณที่ต้องการ  และความสะดวกรวดเร็ว ในการตอบสนองความต้องการให้พิจารณาในทำนองเดียวกัน   
                                                  ๓.๑.๔  การตลาด  จำเป็นต้องดำเนินการเพื่อให้องค์กรในกระบวนการผลิตที่ต้องใช้เงินลงทุนเกิดความคุ้มค่าและคุ้มทุน  ถ้าลำพังความต้องการของเหล่าทัพไม่มากพอที่จะใช้กระบวนการผลิตให้เต็มขีดความสามารถได้  หากมีความจำเป็นทางด้านความคุ้มทุนและไม่มีปัจจัยเสี่ยงด้านความมั่นคง  ก็ควรขยายการตลาดสู่ภายนอกเพื่อให้ระบบการผลิตดำรงอยู่ได้ 
                                        ๓.๒  งานการระดมสรรพกำลัง   เป็นการจัดเตรียมทรัพยากรของชาติเพื่อเผชิญภัย
ด้านต่าง ๆ  ได้แก่  สาธารณภัย  ภัยด้านความมั่นคง และสถานการณ์ฉุกเฉินตามที่กำหนดไว้ในนโยบาย
การเตรียมพร้อมแห่งชาติ  ให้พร้อมตั้งแต่ภาวะปกติ   ซึ่งงานการระดมสรรพกำลังถือเป็นการเตรียม การพัฒนาและสร้างศักย์สงคราม ซึ่งมีความสำคัญที่จะทำให้ประเทศมีความหนุนเนื่องในการทำสงครามได้
อย่างยาวนาน  ดังนั้นระบบการระดมสรรพกำลังที่มีประสิทธิภาพ  
จะต้องสามารถตอบสนองหรือพร้อมเผชิญสถานการณ์ฉุกเฉินตั้งแต่ภาวะปกติตามที่กำหนดไว้ในนโยบายเตรียมพร้อมแห่งชาติ  และปฏิบัติได้จริงตามขั้นตอนของแผนป้องกันประเทศและแผนเผชิญเหตุ
                                        ๓.๓   งานการพัฒนาระบบกำลังสำรอง  เป็นส่วนหนึ่งของงานการระดมสรรพกำลัง ควรมีการพัฒนาในประเด็นสำคัญ    ประการ  ประการแรกคือการพัฒนาขีดความสามารถของกำลังพลสำรองที่ควรให้มีขีดความสามารถใกล้เคียงกับกำลังประจำการมากที่สุด  ประการที่สอง คือ การพัฒนาความรวดเร็ว
ในการเรียกพลเพื่อความพร้อมรบให้ทันต่อสถานการณ์และความต้องการใช้กำลังตามแผนป้องกันประเทศ  ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบกำลังสำรองมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะชดเชยนโยบายการปรับลดกำลังพลประจำการลง  โดยไม่เกิดความเสี่ยงต่อการเพิ่มเติมกำลังและการทดแทนกำลังตามแผนป้องกันประเทศ 
  พื้นฐานความสำเร็จส่วนใหญ่อยู่ที่ความร่วมมือของกำลังพลสำรอง ประชาชน และภาคเอกชน ซึ่งกองทัพจะต้องสร้างมาตรการจูงใจต่าง ๆ ขึ้น เช่น เรื่องสิทธิ  การทำกิจกรรมอันมีเกียรติร่วมกับกองทัพ  การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจและเห็นความสำคัญของบทบาทกำลังสำรองที่มีต่อความอยู่รอดของชาติอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น  เพื่อให้เกิดความร่วมมืออย่างเต็มใจจากกำลังพลสำรองในการเข้ารับการฝึก  และ
จากเจ้าของกิจการในการอนุญาตให้บุคลากรในความรับผิดชอบเข้ารับการฝึกตามหมายเรียกของทางราชการ
                                       





 - ๑๖ -

                                       ๓.๔   งานการพัฒนาขีดความสามารถด้านการรบของกำลังพล   จากนโยบายการใช้กำลังทหารที่มีขอบเขตความรับผิดชอบกว้างขวางมากขึ้น  ทำให้กองทัพต้องเผชิญกับภัยคุกคามที่หลากหลายขึ้นจากเดิมที่มีเพียงภัยคุกคามด้านการทหารเป็นหลัก  มาเป็นปัจจุบันที่มีภัยคุกคามด้านอื่นเพิ่มขึ้น คือ
ภัยคุกคามที่ไม่ใช่ทางทหาร และภัยจากสาธารณภัยขนาดใหญ่หรือภัยพิบัติต่าง ๆ   ความสามารถในการเผชิญกับภัยคุกคามต่าง ๆ ดังกล่าว ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับขีดความสามารถของกำลังพลที่เพียงพอ คือ นอกจากความสามารถด้านการรบแล้ว กำลังพลต้องมีความสามารถรอบด้าน พร้อมที่จะเผชิญภัยคุกคามรูปแบบต่างๆ ได้ 
ดังนั้นจะต้องพัฒนากำลังพลให้มีขีดความสามารถที่อเนกประสงค์จนสามารถรองรับการพัฒนารูปแบบ
การปฏิบัติที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาในแต่ละปัญหาของกองทัพได้
ทั้งนี้จะต้องอยู่บนพื้นฐานของจำนวนกำลังพลที่มีประสิทธิภาพมากกว่าปริมาณ
                                ๔.  ด้านการใช้กำลังทหาร   ตามยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศได้แบ่งภัยคุกคามออกเป็น
  ลักษณะ  คือ  ภัยคุกคามทางทหาร  ภัยคุกคามที่ไม่ใช่ทางทหาร และภัยจากสาธารณภัย
ขนาดใหญ่หรือ
ภัยพิบัติต่าง ๆ   ซึ่งการใช้กำลังทหารตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงนั้น กองทัพควรจะกำหนดมาตรการป้องกัน
และเตรียมความพร้อมรบให้สามารถเผชิญภัยคุกคามดังกล่าวได้ตั้งแต่ยามปกติ   เพื่อการป้องกัน ระงับ ควบคุมสถานการณ์หรือลดระดับความรุนแรงได้  โดยจัดให้มีระบบติดตาม เฝ้าตรวจ แจ้งเตือน และแก้ไขสถานการณ์ขั้นต้นในลักษณะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศ  ทั้งภูมิคุ้มกันภายนอกและภูมิคุ้มกันภายในต่อภัยคุกคามทุกชนิด  ส่วนในภาวะวิกฤตโดยเฉพาะหากเกิดการรุกรานด้วยกำลังทหารจากภายนอกประเทศ  กองทัพควรมีความพร้อมในการใช้กำลังทหารเข้าเผชิญกับการรุกรานดังกล่าว โดยมีแผนป้องกันประเทศ หรือแผนอื่น ๆ ที่กำหนดไว้ได้ทันที   ทั้งนี้กองทัพจะยึดมั่นในหลักการของการป้องกันตนเอง และการใช้กำลังทหารของกองทัพเพื่อป้องกันหรือแก้ไขปัญหาต่อภัยคุกคามแต่ละประเภท  จะต้องอยู่ในบทบาทหน้าที่เหมาะสมตามที่กฎหมายกำหนดและในขีดความสามารถของกองทัพ  โดยต้องไม่กระทบกระเทือนต่อภารกิจหลักคือการป้องกันประเทศจนทำให้เกิดความเสี่ยง  ซึ่งการใช้กำลังทหารเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่ยามปกติต่อภัยต่าง ๆ นั้น  เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการทั้งในส่วนที่เป็นงานของทหารโดยเฉพาะ และการดำเนินการร่วมกับส่วนราชการอื่นในรูปแบบต่าง ๆ  ดังนี้
                                        ๔.๑  การสร้างภูมิคุ้มกันจากภัยคุกคามทางทหาร    เป็นการสนับสนุนงานการป้องกันประเทศโดยตรง   ภัยคุกคามทางทหารจะเกิดขึ้นได้นั้นจะเริ่มจากการมีข้อขัดแย้งระหว่างประเทศในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลาย ๆ เรื่อง  และไม่สามารถหาหนทางอื่นขจัดไปเสียก่อนที่จะมีการตัดสินใจใช้กำลัง 
ข้อขัดแย้งที่ว่านี้อาจมาจากความไม่ลงตัวในการอยู่ร่วมกันในหลาย ๆ เรื่อง  เช่น  ปัญหาเรื่องเขตแดนทั้งทางบกและทาง
ทะเล  ลัทธิอุดมการณ์  ระบอบการปกครองที่แตกต่าง  นโยบายผลประโยชน์ฝ่ายเดียว ผลประโยชน์ในเขตทับซ้อน   ข้อขัดแย้งทางประวัติศาสตร์  ปัญหาความหวาดระแวง ( การสนับสนุนกลุ่มต่อต้าน ฯ  และการเสริมสร้างอำนาจกำลังรบที่ผิดปกติ ) และปัญหายาเสพติด เป็นต้น  การรุกรานจะเกิดขึ้นได้ฝ่ายรุกราน




- ๑๗ -

จะต้องประเมินสถานการณ์รอบด้านแล้วว่าตนเองจะเป็นฝ่ายกำชัยชนะหรือได้ผลประโยชน์แน่นอน 
โดยบางครั้งอาจรู้ดีว่าการต่อสู้ด้วยกำลัง  ฝ่ายตนต้องพ่ายแพ้แน่นอนแต่ก็ยังกล้าเป็นฝ่ายรุก  เพราะเห็นว่า
มีเงื่อนไขที่จะทำให้เป็นฝ่ายได้เปรียบในทางสากลที่จะได้รับความเห็นใจจากนานาชาติซึ่งเป็นผลดีหรือยุทธศาสตร์ระยะยาว  ดังนั้นในการสร้างภูมิคุ้มกันภัยคุกคามทางทหารนั้น  จะต้องดำเนินการสร้าง
ทั้งภูมิคุ้มกันภายนอกและภูมิคุ้มกันภายใน  ภูมิคุ้มกันภายนอกคือการมีมิตรภาพที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาชาติทั่วโลก  ซึ่งเปรียบเสมือนรั้วล้อมรั้ว  ส่วนภูมิคุ้มกันภายในคือประเทศชาติมีความมั่นคงทุกด้าน
จะเป็นเสมือนการมีรั้วบ้านที่แข็งแกร่ง  ด้วยการมีการเมืองและเศรษฐกิจแข็งแกร่ง  ประชาชนมั่งคั่ง  สังคมอุดมด้วยคุณธรรมเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่   และการทหารมีกองทัพที่เข้มแข็งทันสมัยมีความพร้อมรบและรบได้จริง    การสร้างภูมิคุ้มกันดังกล่าวนี้  รัฐบาล  ส่วนราชการอื่น และคนไทยทุกคนจะต้องร่วมกันทำตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนอย่างต่อเนื่องจึงจะเกิดผลที่แท้จริง ในส่วนของกองทัพนั้นสามารถดำเนินการได้ในบทบาท
ตามหน้าที่และขีดความสามารถที่มีอยู่  ดังนี้
                                                    ๔.๑.๑    การสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคง  เป็นการสนับสนุนรัฐบาลในการสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศในด้านต่าง ๆ  ทั้งความร่วมมือทางทหารและ
ทางเศรษฐกิจเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย  อีกทั้งเพื่อสร้างบรรยากาศของความเป็นมิตร เป็นกลาง  ลดเงื่อนไขและโอกาสที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศ   พื้นฐานความสำเร็จของความร่วมมือขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลเป็นหลัก   กองทัพเป็นเพียงเครื่องมืออย่างหนึ่งในหลายๆอย่างของรัฐบาลที่จะต้องดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลดังกล่าวในบทบาทของกองทัพ เช่น การเสริมสร้าง
ความร่วมมือทวิภาคี พหุภาคี กับมิตรประเทศ  และการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพในภูมิภาคต่าง ๆ ภายใต้กรอบสหประชาชาติบนพื้นฐานผลประโยชน์แห่งชาติ เป็นต้น
                                                    ๔.๑.๒ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านบนพื้นฐานของความเข้าใจ จริงใจ เคารพในเกียรติ และศักดิ์ศรีของกันและกัน   เป็นการแสดงความจริงใจต่อประเทศเพื่อนบ้านให้เกิดบรรยากาศของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข  เพื่อขจัดหรือลดความหวาดระแวงและลดเงื่อนไขต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศลง  และหากเกิดข้อขัดแย้งก็จะสามารถขจัดข้อขัดแย้งหรือปัญหากับประเทศเพื่อนบ้านให้ยุติลงได้ในระดับท้องถิ่นหรือในระดับกองทัพ  ไม่ต้องถึงในระดับรัฐบาล   บรรยากาศดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการ
มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอย่างเพียงพอถึงระดับที่เชื่อใจกันได้  ดังนั้นกองทัพจะต้องพยายามสร้างความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง  เช่น การเยี่ยมเยียนในระดับผู้นำกองทัพ  การพบปะหารือระหว่างหน่วยทหาร
ในพื้นที่
 การดำเนินการทางการทูตโดยฝ่ายทหาร   การรักษาความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดนร่วมกัน
เพื่อป้องกันไม่ให้มีกองกำลังหรือกลุ่มบุคคลเข้ามาใช้ดินแดนในประเทศไทยเพื่อต่อต้านประเทศเพื่อนบ้าน  การค้าบริเวณชายแดนที่เป็นธรรม  และการสนับสนุนโครงการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมตามแนวชายแดน เป็นต้น 
                                                   




- ๑๘ -

                                                    ๔.๑.๓   การป้องกันประเทศ / การป้องกันชายแดน  เป็นภารกิจหลักของกองทัพ
ที่จะต้องรักษาดินแดนและอธิปไตยของชาติไว้ให้ปลอดภัยจากการรุกรานด้วยกำลังทหาร  โดยจะดำเนินการ
ตามยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศ  ซึ่งมีแนวความคิดในการผนึกพลังอำนาจของชาติทุกประเภท ในทุกมิติ ทั้งด้านการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี  มาบูรณาการอย่าง
มีระเบียบแบบแผนและเป็นระบบตั้งแต่ยามปกติ  เพื่อแก้ไขข้อจำกัดของชาติและชดเชยอำนาจกำลังรบของกองทัพที่มีอยู่อย่างจำกัด  เพื่อให้กองทัพมีอำนาจกำลังรบและศักย์สงครามที่สูง  สามารถทำการรบได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน  เป็นภูมิคุ้มกันภัยคุกคามด้านการทหารและความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ
                                                    ๔.๑.๔  การเสริมสร้างความมั่นคงตามแนวชายแดน  เป็นการสร้างความแข็งแกร่งของพื้นที่ชายแดนให้เสมือนเกราะป้องกันประเทศ  ซึ่งในส่วนของรัฐบาลนั้น ได้ดำเนินงานพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงตามยุทธศาสตร์ความมั่นคงชายแดน โดยมุ่งที่จะเสริมสร้างศักยภาพของคน ชุมชน และพื้นที่เป้าหมายในบริเวณชายแดนให้มีความเข้มแข็งตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และเสริมสร้างให้ประชาชน
มีจิตสำนึกด้านความมั่นคง  มีความพร้อมในการเป็นส่วนหนึ่งของ
งานการจัดระบบป้องกันเพื่อจัดระเบียบพื้นที่ชายแดน อันหมายถึงการจัดระบบหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดนทางบก ชายฝั่งทะเล และเกาะแก่งต่าง ๆ ให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบการต่อสู้แบบเบ็ดเสร็จ  ดังนั้นการพัฒนาพื้นที่ชายแดนในรูปแบบต่าง ๆ ที่กองทัพเป็นผู้ดำเนินการหรือให้การสนับสนุน เช่น โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงในระดับพื้นที่ (พมพ.)  หรือ
การสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
  ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น  จะเป็นรากฐานที่ช่วยเสริมงานยุทธศาสตร์ความมั่นคงชายแดน และยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศของ กห. ไปพร้อม ๆ กันด้วย  
                                        ๔.๒    การสร้างภูมิคุ้มกันจากภัยคุกคามที่ไม่ใช่ทางทหาร  เป็นภัยคุกคามด้าน
ความมั่นคงรูปแบบใหม่ที่เป็นผลมาจากกระแสโลกาภิวัตน์ และนโยบายการเปิดกว้างทางเศรษฐกิจ
ที่ก่อให้เกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความสงบสุขของประเทศ เช่น ปัญหาการก่อการร้ายสากล ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ  ยาเสพติด  การค้ามนุษย์  การค้าขายสินค้าหนีภาษี  แรงงานต่างด้าวและการหลบหนีเข้าเมือง และการกระทำอันเป็นโจรสลัด เป็นต้น  ภูมิคุ้มกันสำหรับภัยคุกคามประเภทนี้  คือการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ  ความซื่อสัตย์ของเจ้าหน้าที่รัฐ  ความเข้มแข็งของหน่วยงานที่รับผิดชอบแต่ละฝ่าย  ซึ่งจะเห็นว่า  ภัยคุกคามประเภทนี้มีความหลากหลายในรูปแบบ  มีความแตกต่างในระดับความรุนแรง ลักษณะ และผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ  และเป็นความผิดตามกฎหมายหลายฉบับ  เช่น  กฎหมายอาญา  กฎหมายศุลกากร   กฎหมายการเข้าเมือง  และกฎหมายยาเสพติด  ซึ่งมีหลายหน่วยงานเป็นผู้รักษากฎหมาย
ในแต่ละลักษณะความผิด  กล่าวคือมีเจ้าภาพตามกฎหมายอยู่แล้ว  การใช้กำลังเข้าปฏิบัติการต่อปัญหาต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นนั้น   ส่วนใหญ่
หน่วยงานของกองทัพจะดำเนินการในฐานะผู้ช่วยของเจ้าพนักงานตามกฎหมาย   อย่างไรก็ตามในยามปกติกองทัพสามารถที่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต่อปัญหาต่าง ๆ ได้ในระดับหนึ่ง
ตามบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบ  ดังนี้
                                                   


- ๑๙ -
 
                                                    ๔.๒.๑   การพัฒนาประเทศ
เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้อยู่ดีมีสุขมีความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน   ซึ่งการอยู่ดีมีสุขของประชาชนนั้นจะเป็นเสมือนภูมิคุ้มกันที่ดีของสังคม
ประเทศชาติไม่ให้ประชาชนเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับปัญหาต่างๆในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือเป็นผู้กระทำผิดโดยตรงเสียเอง   นอกจากนี้การที่ประชาชนมีพื้นฐานชีวิตที่แข็งแกร่งยังเป็นภูมิคุ้มกันภัยคุกคามด้านอื่นได้อีกด้วย  แม้กระทั่งภัยคุกคามด้านการทหาร  งานการพัฒนาประเทศเป็นงานที่กองทัพดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน  ทั้งเป็นการดำเนินงานในส่วนของกองทัพโดยตรงในรูปแบบของโครงการพัฒนาเพื่อความ
มั่นคงในระดับพื้นที่ (โครงการ พมพ.) และโครงการในรูปแบบอื่น  การสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการตามนโยบายรัฐบาล  
ภายใต้บทบาทการผนึกกำลังกับภาคประชาสังคม และความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งนอกจากเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี
ของประชาชนและ
เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติภารกิจร่วมกันแล้ว  ยังทำให้ทุกภาคส่วนมีความตระหนัก
ในภาระหน้าที่ด้านการพัฒนาประเทศมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้บทบาทด้านการพัฒนาประเทศของกองทัพจะปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานไปตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่จะดำเนินการทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุณธรรมควบคู่กันไป  เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของคน ชุมชน และพื้นที่เป้าหมาย  โดยเฉพาะในบริเวณชายแดนให้มีความเข้มแข็งและมีจิตสำนึกด้านความมั่นคง  เกิดความร่วมมือในงานการป้องกันประเทศ  และการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ซึ่งจะทำให้ประเทศชาติมีภูมิคุ้มกันภายในที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
                                                    ๔.๒.๒  การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ  เป็นการใช้กำลังทหารปฏิบัติการต่อการก่อความไม่สงบในประเทศเมื่อได้รับการสั่งการให้ปฏิบัติ เช่น การต่อต้านการก่อการร้ายสากล  และปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่ การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมที่มีลักษณะข้ามชาติ
ทั้งนี้การปฏิบัติที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพจะช่วยให้ผู้กระทำผิดกฎหมายเกิดความยำเกรง ขณะเดียวกัน
ก็จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชนในพื้นที่ที่มีต่อเจ้าหน้าที่  ซึ่งจะทำให้เกิดความร่วมมือ
จากประชาชนมากขึ้น
และทำให้เกิดเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีประการหนึ่ง  
                               ๔.๒.๓  การรักษาความมั่นคงภายใน  เป็นการดำเนินงานด้านการสร้างอุดมการณ์ในความรักความสามัคคีต่อชาติบ้านเมืองแก่ประชาชนทั่วไป  สร้างคุณธรรมและจริยธรรมแก่เจ้าหน้าที่
ของรัฐ  การขจัดเงื่อนไขและข้อขัดแย้งด้านความมั่นคงของสังคมในประเทศ ได้แก่ ข้อขัดแย้งทางเชื้อชาติ   ศาสนา อุดมการณ์  และลัทธิ  เพื่อให้สังคมภายในประเทศปราศจากข้อขัดแย้งด้านความมั่นคง อันจะเป็นเงื่อนไขให้เกิดความรุนแรงขึ้นได้
                                        ๔.๓    การสร้างภูมิคุ้มกันจากสาธารณภัยขนาดใหญ่หรือภัยพิบัติต่าง ๆ  สาธารณภัยขนาดใหญ่และภัยพิบัติต่าง ๆ  ส่วนมากมีสาเหตุมาจากการที่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลายหรือใช้ไปมากอย่างไม่ระมัดระวังหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์  เช่น ป่าไม้ถูกทำลายมากย่อมทำให้เกิดอุทกภัย 
การพังทลายของดินและภาวะแห้งแล้ง  การใช้น้ำมันและน้ำใต้ดินมากย่อมมีผลต่อการทรุดตัวของพื้นดิน  การเกิดภาวะโลกร้อนเนื่องมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกคือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (
CO2) และก๊าซ


   

- ๒๐ -

มีเทน (
CH4) จากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคพลังงาน ภาคการเกษตร และภาคของเสียในกระบวนการอุตสาหกรรม และที่สำคัญเนื่องจากการใช้ที่ดินและป่าไม้ที่มีการทำลายมากขึ้น  โดยเฉพาะการทำลายไม้ยืนต้นที่มีลำต้น
สูงใหญ่   ซึ่งสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการสังเคราะห์แสง และช่วยลดอุณหภูมิและมลพิษทางอากาศลงได้   ดังนั้นเมื่อต้นไม้ถูกทำลายจึงทำให้กระบวนการดังกล่าวไม่เกิดขึ้นเป็นผลทำให้
เกิดภาวะโลกร้อน  ทำให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลาย  น้ำทะเลมีระดับสูงขึ้น  แผ่นดินชายทะเลจะถูกน้ำท่วมรุกเข้ามาระบบนิเวศจะเปลี่ยนแปลง  และสภาพภูมิอากาศมีความแปรปรวนมากขึ้น  จากสถานการณ์ดังกล่าวจะเห็นว่าหากทั่วโลกไม่ร่วมมือกันอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพธรรมชาติให้กลับคืนความอุดมสมบูรณ์เช่นเดิม  สาธารณภัยขนาดใหญ่และภัยพิบัติทั้งหลายจะเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้   ในส่วนของกองทัพนั้นสามารถจะช่วยประเทศหรือสังคมโลกได้เช่นกัน โดยการดำเนินกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการประหยัดพลังงาน   เนื่องจากการประหยัดพลังงานจะช่วยลดการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติ และลด
การสร้างมลพิษต่อสภาวะแวดล้อม  ธรรมชาติก็จะปรับตัวฟื้นคืนกลับสู่ความสมดุล  เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในระยะยาวให้กับธรรมชาติ  ซึ่งในการสร้างภูมิคุ้มกันจากสาธารณภัยขนาดใหญ่และภัยพิบัติต่าง ๆ กองทัพสามารถดำเนินการทั้งในบทบาทอำนาจหน้าที่ของกองทัพ และการให้ความร่วมมือกับภาคประชาชนและภาคสังคมอื่น ๆ  โดยบทบาทและขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบ  กองทัพควรจัดกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการประหยัดพลังงาน แก่กำลังพล ครอบครัว และการริเริ่ม
ใช้พลังงานทดแทนในพื้นที่หน่วยทหาร   สำหรับในส่วนการให้ความร่วมมือกับภาคประชาชนและ
ภาคสังคมอื่น ๆ นั้น  กองทัพสามารถดำเนินการไปในบทบาทของงานพัฒนาประเทศและการช่วยเหลือประชาชน  การสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  หรือโดยการร่วมมือหรือสนับสนุนโครงการของส่วนราชการอื่นหรือองค์กรเอกชน  เพื่อช่วยให้เกิดเครือข่ายที่ขยายวงกว้างขึ้น  ซึ่งจะทำให้งานการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับธรรมชาติบังเกิดผลที่ดีและรวดเร็วขึ้น
                                        ๕.  ด้านการบริหารจัดการ   การบริหาร คน  เงิน เครื่องมือ และทรัพยากรอื่นที่มี เพื่อให้
การดำเนินงานขององค์กรเกิดประสิทธิภาพในการบรรลุเป้าหมายของงานนั้น  ย่อมเป็นเรื่องปกติธรรมดาสำหรับองค์กรทุกองค์กรที่ต้องกระทำให้องค์กรอยู่รอด  แต่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญเช่นเดียวกัน
และมีผลต่อการอยู่รอดขององค์กร ก็คือ ความน่าศรัทธาเชื่อถือขององค์กร  เพราะไม่ว่าองค์กรใดหากขาดความน่าศรัทธาเชื่อถือ (ทั้งจากคนในองค์กรและจากสังคมภายนอก)  ย่อมไม่อาจดำรงอยู่ได้ แต่การจะให้เกิดคุณสมบัติดังกล่าวผู้บริหารองค์กรจะต้องบริหารจัดการองค์กรในสองด้านไปพร้อม ๆ กัน  ด้านหนึ่งคือ
การสร้างประสิทธิภาพ และอีกด้านหนึ่งคือการสร้างธรรมาภิบาล ทั้งสองด้านจะหนุนเสริมซึ่งกันและ
กัน   การมีคุณสมบัติเพียงด้านใดด้านหนึ่งจะขาดความสมบูรณ์ และจะไม่ได้รับความเชื่อถือศรัทธาทั้งจากสังคมภายนอกและบุคคลในองค์กร ไม่มีเกียรติและศักดิ์ศรีในสังคม ไม่สามารถจะพัฒนาไปสู่ความมีชื่อเสียงความเป็นองค์กรชั้นนำได้  องค์กรที่มีธรรมาภิบาลย่อมกอปรด้วย คุณธรรม จรรยาบรรณ และจริยธรรม  ดังนั้น
จึงควรให้ความสำคัญกับการสร้างธรรมาภิบาลในด้านต่าง ๆ ให้เป็นคุณสมบัติพื้นฐานและวัฒนธรรม ขององค์กร




- ๒๑ -

อย่างต่อเนื่อง ในลักษณะระบบสร้างคน และคนดูแลระบบ  เพื่อให้องค์กรเป็นที่เชื่อถือ มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของสังคมทุกภาคส่วน  ก็จะทำให้บุคลากรรู้สึกมีเกียรติและศักดิ์ศรี มีความภาคภูมิใจในองค์กรของตนเอง
มีความรู้สึกมั่นคงในอาชีพหน้าที่การงาน เกียรติและศักดิ์ศรีขององค์กรจะเป็น
สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในองค์กร  จะก่อให้เกิดความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  เป็นพลังขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้า
อย่างมั่นคง  และเป็นภูมิคุ้มกันให้องค์กรดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างสง่างาม ซึ่งสามารถดำเนินการ ได้ดังนี้ 
                                        ๕.๑   การสร้างคุณธรรม  คือสภาพคุณงามความดีขององค์กร ต้องเริ่มจากเจตนาขององค์กรไปจนถึงผลลัพธ์ของการดำเนินงาน ให้มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อชาติบ้านเมือง สุจริตต่อประชาชน และสุจริตต่อหน้าที่  เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมอย่างแท้จริง โดยวางระบบการบริหารและควบคุมงานให้รัดกุมสอดคล้องกับสภาพดังกล่าว เช่น มีระบบการปกครองที่ตั้งอยู่บนความเมตตาธรรมและเที่ยงธรรม การพิจารณาความดีความชอบหรือการลงโทษผู้กระทำผิดเป็นไปด้วยความเที่ยงตรงและเท่าเทียมกัน ปราศจากอคติและระบบอุปถัมภ์เข้าแทรกแซง มีระบบการบริหารงานที่กระจายอำนาจหน้าที่แก่บุคลากรทุกระดับ  เพื่อให้ทุกคน
ได้แสดงความรับผิดชอบและใช้ความรู้ความสามารถ  รวมทั้งใช้ศักยภาพที่มีสร้างผลงาน มีระบบสวัสดิการที่ดีเพื่อแสดงถึงความมีเมตตาธรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดน้ำใจในการทำงาน และการเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้บังคับบัญชา
เป็นต้น  ก็จะทำให้บรรยากาศการดำเนินงานขององค์กรเป็นบรรยากาศแห่งคุณธรรม   ซึ่งจะมีผลช่วยบ่มเพาะ และกล่อมเกลาจิตใจของบุคลากรให้เพิ่มพูนคุณธรรมมากขึ้นตามลำดับ 
 
                                        ๕.๒  การเสริมสร้างจรรยาบรรณ   คือข้อที่ควรและไม่ควรประพฤติที่องค์กรควรกำหนดขึ้นให้คนในองค์กรนั้นยึดถือปฏิบัติ (จะมีการลงโทษหรือไม่ก็ได้)  เพื่อแสดงถึงการเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์
ต่อวิชาชีพและหน้าที่การงานของแต่ละคน  เช่น แพทย์หรือพยาบาล ต้องมีสำนึกในการช่วยเหลือผู้เจ็บป่วย   ตำรวจต้องมีจิตสำนึกในการพิทักษ์สันติราษฎร์ คือการป้องกันปราบปรามโจรผู้ร้าย  ทหารต้องมีจิตสำนึก
ในการเป็นทหารอาชีพ คือการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศจากภัยคุกคามต่าง ๆ เป็นต้น องค์กรที่มีจรรยาบรรณจะได้รับความเชื่อถือจากสังคม  และจะสามารถรักษาสถานภาพแห่งความเป็นองค์กรที่มีคุณธรรมไว้ได้อย่างยั่งยืน
                                        ๕.๓   การเสริมสร้างจริยธรรม   คือธรรมอันเป็นข้อประพฤติที่ดีงามของบุคคลในองค์กร
ให้เป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งในความคิดและการกระทำ มีความรับผิดชอบ มีความขยัน
หมั่นเพียร  ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี คือละเว้นการทำชั่ว เป็นผู้มีวินัย ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น  เสียสละ และมีความกล้าหาญ  มีมโนธรรม คือความละอายเกรงกลัวต่อบาป วางตนให้สมเกียรติ เป็นผู้ที่ควรนับถือเป็นแบบอย่าง
และไม่ประพฤติตนให้องค์กรเสื่อมเสียชื่อเสียง

......................................................








บทที่ ๔
แนวทางการดำเนินการตามนโยบายการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มาใช้เป็นหลักในการปฏิบัติงานของ กห.
......................................................

                   นโยบายนี้จะเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมได้  หน่วยจะต้องนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ไปเป็นหลักทั้งในการปฏิบัติราชการ  และการผลักดันให้กำลังพลและครอบครัวยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตส่วนตัวอย่างจริงจังและต่อเนื่อง  จนกว่ากำลังพลและครอบครัวจะมีความรู้ความเข้าใจอย่าง
ถ่องแท้ถึงขั้นเป็นสัญชาตญาณสามารถใช้เป็นหลักการคิดหรือพิจารณาเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างเป็นอัตโนมัติ  ดังนั้นจะต้องมีระบบการผลักดันที่ครอบคลุมการปฏิบัติงานในทุก ๆ เรื่องอยู่ตลอดเวลา  จึงสมควรยึดถือ
แนวทางการดำเนินการดังนี้ 
                                ๑.    การจัดระบบการสร้างองค์ความรู้   
                                        ๑.๑     การเผยแพร่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  จะต้องดำเนินการให้ทั่วถึงและต่อเนื่องตลอดไป  เนื่องจากกำลังพลของกองทัพมีการเปลี่ยนแปลงทดแทนกันอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้เพื่อให้กำลังพลและครอบครัวยึดถือหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  เป็นวัฒนธรรมใหม่ทางความคิดของคน
ในกองทัพอย่างยั่งยืน
                                        ๑.๒    การศึกษาตามแนวทางรับราชการทุกระดับเพื่อสร้างคุณสมบัติตามตำแหน่ง  
ให้พิจารณาทบทวนการจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันให้สอดคล้องกับนโยบายนี้               
                   ๒.   การกำหนดมาตรการปฏิบัติ   ให้มีระบบการบริหารนโยบายที่มีประสิทธิภาพและ
ครบวงจรตั้งแต่การกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติ  การกำหนดมาตรการปฏิบัติทั้งในระบบงานราชการและการดำเนินชีวิตส่วนตัวของกำลังพล   การดำเนินกิจกรรมตามมาตรการ  การสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรอื่นที่มี  เพื่อให้การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมสามารถนำไปเป็นตัวอย่างแก่ส่วนราชการอื่นและประชาชนทั่วไปได้อย่างแท้จริง
                                ๓.   การประเมินผลและการรายงาน ให้หน่วยกำหนดระบบการประเมินผลภายในองค์กรเพื่อให้สามารถเปรียบเทียบผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นว่า  มีแนวโน้มอย่างไรสำหรับการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการปฏิบัติราชการ  รวมทั้งรายงานผลการปฏิบัติตามวงรอบที่เหมาะสม  เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาสามารถติดตามผลการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการปฏิบัติราชการ
ได้อย่างต่อเนื่อง  

......................................................







ภาคผนวก
ความสัมพันธ์ของหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และยุทธศาสตร์พระราชทาน
.............................................

                                พระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงต้องการให้คนไทยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต  ซึ่งจะทำให้คนไทยมีความสุขตามอัตภาพบนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเองได้อย่างปลอดภัยจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกตามกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งหลักปรัชญา ฯ  ดังกล่าวเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก  
                                วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี  ๒๕๔๐ ยังคงส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทยมาจนถึงทุกวันนี้  บทเรียนดังกล่าวได้ทำให้คนไทยทุกภาคส่วนของสังคม  ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ นักบริหารและภาคประชาชน ได้หันกลับมาให้ความสำคัญ
กับการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจัง
โดยได้น้อมนำหลักปรัชญาฯ
ไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพต่างๆ
ด้วยมีความเชื่อว่าหลักปรัชญา ฯ
จะช่วยให้สามารถแก้ปัญหาที่กำลังมีอยู่ในปัจจุบันได้ และยังจะทำให้ดำรงชีวิตต่อไปในอนาคตได้อย่าง
มีความสุขด้วยอีกด้วย  ไม่ว่าสถานการณ์ภายนอกจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
                                หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง   ความพอเพียง  ความมีเหตุผล  การมีภูมิคุ้มกัน  
มีความรอบรู้   และมีคุณธรรม
  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ในฐานะหน่วยงานหลักในการวางแผนของประเทศ ตระหนักถึงความสำคัญของแนวคิดดังกล่าว  จึงได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาต่าง ๆ  มาร่วมกันพิจารณากลั่นกรองพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียงในโอกาสต่าง ๆ สรุปออกมาเป็นนิยามความหมายปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  และได้อัญเชิญมาเป็นปรัชญานำทางในการจัดทำแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ ๙ และฉบับที่ ๑๐ 
เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับมีความเข้าใจในหลักปรัชญา ฯ และนำไปเป็นพื้นฐานและแนวทางในการดำเนินชีวิต  โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทาน และโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรม
ราชานุญาต ให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่  เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป  เมื่อวันที่ ๒๙  พฤศจิกายน  ๒๕๔๒  มีใจความดังนี้
                                เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้แนวทางในการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชน
ในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว  ชุมชน จนถึงรัฐ  ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนิน
ไปในทางสายกลาง  โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์  ความพอเพียง  หมายถึง
 ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  รวมถึงความจำเป็นที่ต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมี
ผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก  ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ 



- ๒๖ -

ความรอบคอบ  และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการมาใช้ในการวางแผนและดำเนินการ
ทุกขั้นตอนและขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ  โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ
นักทฤษฎี  และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีความสำนึกในคุณธรรม  ความซื่อสัตย์สุจริต  และให้มีความรอบรู้
ที่เหมาะสม  ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน  ความเพียร  มีสติ  ปัญญา และความรอบคอบ  เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง  ทั้งด้านวัตถุ  สังคม  สิ่งแวดล้อม  และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกเป็นอย่างดี
                














                            จะเห็นว่าหลักการพัฒนาหรือการปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น คำว่า พอเพียงมีคุณลักษณะสำคัญ ๕ ประการที่มีความสัมพันธ์ในเหตุและผลต่อเนื่องกันอย่างแยกไม่ออก  กล่าวคือ  จะคิดทำอะไรต้องใช้หลัก ความมีเหตุผล  ในการคิดวิเคราะห์เหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา
คือสถานะของตัวเรา จุดอ่อน จุดแข็ง และปัจจัยภายนอกคือการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกในยุค
โลกาภิวัตน์  จนเข้าใจให้ได้ว่าอะไรคือข้อดี ข้อเสีย โอกาสและภัยคุกคาม  โดยอาศัย
ความรอบรู้ ทั้งความรอบรู้ในหลักวิชา และความรู้ในตัวคนที่สะสมจากประสบการณ์ในชีวิตจริงจนเกิดเป็นภูมิปัญญาตกผลึก
มาเป็นตัวประมวลผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะความเสี่ยง  ซึ่งการคิดอย่างมีเหตุผลนี้
จะนำไปสู่การตัดสินใจในระดับของ
ความพอประมาณ บนพื้นฐานความเหมาะสมระหว่างความสามารถในการพึ่งพาตนเองกับการแข่งขัน(ภายนอก)ในเวทีโลก  เพื่อจัดสร้าง ภูมิคุ้มกัน ในตัวที่ดีหรืออาจเรียกว่า เกณฑ์ความปลอดภัย  ของตนขึ้นไว้ให้พร้อมเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ และสามารถรับผลกระทบในทางลบที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งจากภายในและภายนอกได้อย่างปลอดภัย  แต่การจะให้สิ่งที่คิดกระทำเกิดผลที่ดี
อย่างยั่งยืน  สร้างความสงบร่มเย็นแก่ตน คนอื่น สังคมส่วนรวม และประเทศชาตินั้น  ผู้คิดทำและผู้เกี่ยวข้อง






- ๒๗ -

ทุกระดับจะต้องมีพื้นฐานจิตใจด้านคุณธรรมในระดับที่ดี  กอปรด้วยความซื่อสัตย์สุจริต  ความเพียร
ความเมตตา  ความสำนึกในส่วนรวม  การดำเนินงานทุกอย่างให้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางคือความลงตัวต่อสภาวะแวดล้อมในทุกสถานการณ์  และมีความไม่ประมาทเพื่อป้องกันความเสี่ยงหรือ
ความล้มเหลวในที่สุด 
                                กล่าวโดยสรุป  การปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น  ต้องตั้งอยู่บนทาง
สายกลางและความไม่ประมาท  โดยคำนึงถึงหลักสำคัญ    ประการ คือ ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  การมีภูมิคุ้มกัน มีความรอบรู้ และ มีคุณธรรม  ซึ่งอาจแบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ องค์ประกอบและเงื่อนไข
ในการคิด และการทำตามหลักปรัชญา ฯ  ดังนี้
    
                                ๑.   องค์ประกอบและเงื่อนไขในการคิด  ความพอเพียง ประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะคือ 
ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน  เพื่อให้การดำเนินงานตั้งอยู่บนทางสายกลาง
กล่าวคือ
                                        ๑.๑  ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป
ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก 
ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ไม่เติบโตเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป (เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ )  การตัดสินใจถึงระดับความพอประมาณที่เหมาะสมในแต่ละเรื่องแต่ละสถานการณ์นั้นเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร  เพราะต้องใช้ทั้งเหตุผลซึ่งประมวลจากประสบการณ์และความรอบรู้ทั้งหลาย และจากการเอาชนะความอยากของแต่ละคน ที่มักเอนเอียงไปในทิศทางของความไม่รู้จักพอหรือความโลภ  ความต้องการของมนุษย์โดยทั่วไปนั้น  อับราฮัม เอส. มาสโลว์ นักจิตวิทยาชื่อดังได้สังเกตพฤติกรรมของมนุษย์และสรุปเป็น ทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้น(Hierarchy  of  Needs  Theory) โดยอธิบายว่ามนุษย์จะมีความต้องการซึ่งสามารถจำแนกเป็น ๕ ระดับ (ดังภาพ) โดยเมื่อได้รับการตอบสนองในลำดับหนึ่ง ๆ อย่างเพียงพอแล้ว  ก็จะเขยิบความต้องการไปยังลำดับที่สูงขึ้นต่อไป จนขั้นสุดท้ายซึ่งอาจเป็นบั้นปลายของชีวิต ก็มักจะหันมาหาความจริงของชีวิตหรือธรรมะ แต่ทุกขั้นนั้นก็คือ ความอยาก  ที่ทำให้ความพอประมาณของแต่ละคนมีระดับแตกต่างกัน ซึ่งการกำหนดระดับของความพอประมาณ  การใช้เหตุผล




                               











- ๒๘ -

ในการตัดสินใจระดับของความพอประมาณนั้น  จะต้องใช้ข้อมูล หลักวิชา และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เป็นตัวในการพิจารณาแต่ละขั้นตอน  เพื่อให้ผลความคิดออกมาเป็นวิทยาศาสตร์มีที่มาที่ไปสามารถอธิบายได้  มิใช่เป็นระดับที่มาจากความรู้สึกและอธิบายไม่ได้  ในขณะพิจารณาเพื่อตัดสินใจนั้น จะมีข้อมูลสองด้านที่ควบคู่กันคือข้อมูลที่อนุมานจากความรู้สึก  ซึ่งอาจไม่มีคำอธิบายที่มีเหตุผลสมบูรณ์กับข้อมูลตามหลักวิชาที่อธิบายได้ประกอบกัน แต่สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจระดับความพอประมาณในขั้นสุดท้าย มีอยู่  ๓ ประการ คือ
                                                 








       




                                                  ๑.๑.๑  ความอยาก  ทางธรรมะก็คือ ตัณหา  มี ๓ ชนิด คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา  คนเราถ้าไม่อบรมจิตตนเอง ปล่อยให้ความอยากครอบงำจิตใจแล้วจะควบคุมไม่ได้ จะมีความอยากไม่สิ้นสุด กลายเป็นความโลภหรือโลภอย่างมาก  และถ้าใช้ความอยากหรือความโลภไปตัดสินใจระดับของความพอประมาณแล้วจะไม่ได้คำตอบที่เหมาะสม คือจะหาคำอธิบายที่สมเหตุผลไม่ได้  ดังนั้นเมื่อถึงเวลาตัดสินใจต้องมีสติอย่าให้ความโลกครอบงำ
                                                 ๑.๑.๒  ความจำเป็น  หมายถึง ความจำเป็นตามสถานะหรืออัตภาพของแต่ละคนเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลทำให้ระดับความพอประมาณในเรื่องหนึ่ง ๆ ของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ถ้าตั้งระดับของความพอประมาณสูงเกินจำเป็นของตน ก็กลายเป็นความโลภไป ตั้งสูงน้อยก็โลภน้อย ตั้งสูงมากก็โลภมาก จะมีแต่ความเดือดร้อนที่ต้องพยายามไขว่คว้าหรือถ้าไม่ได้ก็จะเกิดทุกข์ทางใจ  ผิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
                                                 
           




- ๒๙ -

                                                  ๑.๑.๓  ความเหมาะสม  เป็นการพิจารณาระดับของความพอประมาณที่เหมาะสมต่อตนเองนั้นควรเป็นอย่างไร  กล่าวคือ เหมาะสมต่อศักยภาพและขีดความสามารถของตน  ต่อสถานการณ์และจังหวะเวลา   ต่อกฎเกณฑ์สังคมคือกฎหมายและศีลธรรมอย่างไร เพื่อให้ได้ระดับความพอประมาณ
ที่เป็นวิทยาศาสตร์และกอปรด้วยธรรม  ซึ่งจะต้องใช้ความมีเหตุผล  
                                                            ๑.๒  ความมีเหตุผล  หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุมีผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง  ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ ซึ่งการพิจารณาผลที่จะเกิดขึ้นเมื่อได้ระดับความพอประมาณในเบื้องต้นแล้ว
ก่อนตัดสินใจประกอบกิจกรรมใดจะต้อง
คำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นด้วย  โดยใช้หลักทางวิชาการวิเคราะห์
ขั้นสุดท้ายก่อนว่า ระดับความพอประมาณที่ได้นั้น  มีจุดอ่อนจุดแข็ง  มีข้อดีข้อเสียอย่างไร จะเป็นอุปสรรคหรือปัจจัยสนับสนุน เป็นวิกฤตหรือโอกาส  ก็จะได้คำตอบที่ชัดเจนสำหรับการเดินก้าวต่อไป












                                       

                                        ๑.๓  การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว  หมายถึง  การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ รอบด้านที่จะเกิดขึ้น ตามสถานการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล  เพื่อให้ตนเองหรือองค์กรดำรงอยู่ได้ด้วยความปลอดภัย  ภูมิคุ้มกันฯ เปรียบเหมือนภูมิคุ้มกันโรคในตัวของคนเราที่สามารถป้องกันโรคได้หลายโรค ภูมิคุ้มกันการดำรงชีวิตหรือการดำรงอยู่ขององค์กรก็เช่นกัน จะต้องสามารถป้องกันผลกระทบได้หลากหลายสถานการณ์   ดังนั้นในแต่ละคนแต่ละองค์กรจะต้องมีการกำหนดเกณฑ์ความปลอดภัยขั้นต่ำในด้านต่าง ๆ ของตนไว้  มีระบบการเตือนภัย  มีปัจจัยเกื้อหนุนและทางหนีทีไล่ไว้หลาย ๆ หนทาง ก็จะทำให้มีภูมิคุ้มกันที่ดี





- ๓๐ -


                               










                                .   องค์ประกอบและเงื่อนไขในการทำ  ประกอบด้วย  ความรอบรู้และคุณธรรม 
การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงตามหลักปรัชญาฯ นั้น ต้องอาศัยทั้งความรอบรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐานของความมั่นคง  คือความรอบรู้รอบคอบจะทำให้ไม่ตั้งอยู่บนความประมาทและการมีคุณธรรมคือการตั้งอยู่บนความถูกต้องในทำนองคลองธรรม  กล่าวคือ
                                        ๒. ๑  ความรอบรู้    หมายถึงการมีองค์ความรู้ในศาสตร์ต่างๆอย่างรอบด้าน  ทั้งจากการศึกษาด้านวิชาการและจากประสบการณ์  มีการจัดการองค์ความรู้ที่ดี บ่มเพาะจนเกิดเป็นความรอบรู้
ที่สามารถจะนำมาใช้ได้ในทุกสถานการณ์เหมือนเป็นสัญชาตญาณ  และใช้ความรู้นั้นด้วยความระมัดระวังอย่างรอบคอบในทุกขั้นตอนเพื่อไม่ให้ตั้งอยู่ในความประมาท
                                        ๒.๒  คุณธรรม  ในที่นี้หมายรวมถึงทั้งศีลธรรมและจริยธรรม  คือ การมีความซื่อสัตย์สุจริต  มีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต มีเมตตา ไม่โลภ ไม่ตระหนี่ มีความเอื้อเฟื้อเกื้อหนุนไม่เอารัดเอาเปรียบกัน  สำนึกในส่วนรวมคือการให้ส่วนรวมเพื่อให้ส่วนรวมอยู่ได้ตนเองก็อยู่ได้   คุณธรรมเป็นเครื่องกำกับจิตใจในเรื่อง ความดี  ความงาม ความจริง ไร้คุณธรรมก็เป็นความชั่ว  ความเท็จความอัปลักษณ์ เครื่องชี้วัดคุณธรรม มี ๒ ประการ ประการแรกคือศีลธรรมของศาสนา เป็นความเคร่งครัด
ในการประพฤติตนตามหลักศีลธรรมของศาสนา ประการที่สองคือจริยธรรม เป็นข้อประพฤติที่ฆราวาส
สร้างขึ้น ซึ่งมี ๒ ระดับ คือระดับทั่วไปของคน เช่น จริยธรรมของคนไทย คนจีน คนญี่ปุ่น เป็นต้น และจริยธรรมเฉพาะกลุ่มอาชีพ เช่น แพทย์  วิศวกร นักกฎหมาย เป็นต้น ซึ่งจะทำให้สาธารณชนเกิดความเคารพศรัทธา และเชื่อมั่นต่อผู้ที่อยู่ในกลุ่มอาชีพเหล่านั้น 






- ๓๑ -










                                ความสัมพันธ์ของหลักทรงงาน  หลักปรัชญา ฯ และยุทธศาสตร์พระราชทาน  ก่อนที่จะนำหลักปรัชญาฯไปใช้นั้น  ควรย้อนระลึกกลับไปถึงที่มาของหลักปรัชญาฯ ว่าเป็นมาอย่างไร ไม่ใช่เรื่องที่ก่อเกิดขึ้นมาอย่างง่ายดายในเวลาอันสั้น หรือเกิดขึ้นมาอย่างฉับพลันโดยขาดพื้นฐานข้อเท็จจริงรองรับ  นั่นคือก่อนจะเผยแพร่ออกมานั้นได้ผ่านการทดลองใช้มาอย่างมากมายในรูปของโครงการทดลองโครงการจำลองส่วนพระองค์ สู่โครงการพระราชดำริทั่วประเทศ  และกำลังจะนำไปสู่การเป็นหลักการดำเนินชีวิตส่วนตัว
ของประชาชนในทุกระดับ  การประกอบอาชีพในทุกสาขาอาชีพ   การบริหารองค์กร และการพัฒนาประเทศ   ดังนั้นการศึกษาหลักการทรงงานและยุทธศาสตร์พระราชทาน  ประกอบกับหลักปรัชญา ฯ แล้ว  จะเห็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องและการสอดประสานกันของหลักปรัชญา ฯ  หลักการทรงงานและยุทธศาสตร์พระราชทาน  ตั้งแต่ขั้นการคิด  การวางแผน และการปฏิบัติที่แยกกันไม่ออก  ผู้ศึกษาจะเกิดทักษะการใช้หลักปรัชญา ฯ ในทุกสถานการณ์หรือทุกเรื่องราวได้คล่องแคล่วขึ้น  เนื่องจากความคิดได้ถูกจัดระเบียบให้เป็นระบบ ตามความเข้าใจที่เกิดขึ้นไปตามลำดับ  ดังนี้


           












                               

- ๓๒ -

                                ขั้นแรก  เมื่อคิดจะทำอะไรก็จะต้องทำความ เข้าใจ  ในเรื่องที่จะทำให้ถ่องแท้ในเบื้องต้นเสียก่อนว่าจะทำ  อะไร ที่ไหน  เมื่อไร  อย่างไร ทำไม และเพื่ออะไร โดยใช้ หลักคิด" ในการตรวจสอบสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ประเมินขอบเขตความพอเพียงตามหลักปรัชญา ฯ ของงานที่จะทำ คือความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน
                                ขั้นต่อไปเป็นการ เข้าถึง  คือการวางแผนงาน โครงการ และกิจกรรม โดยการใช้หลักวิชา  คือ ความรอบรู้ ในศาสตร์ต่าง ๆ ทั้งจากการศึกษาและจากประสบการณ์มาใช้วางแผนและวิเคราะห์
ความเป็นไปได้ของแผนตามวิธีมาตรฐานทางวิชาการ เพื่อให้ผลการวิเคราะห์เป็นวิทยาศาสตร์ ก็จะทำให้
การตัดสินใจในแผนงานมีความรอบคอบรัดกุม ไม่ตั้งอยู่บนความประมาท
                                ขั้นสุดท้าย พัฒนา  คือการลงมือดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการ ซึ่งอาจมีการพัฒนาแนวทางการดำเนินงานหรือพลิกแพลงกลยุทธ์การทำงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์  การพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้และเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการประหยัด  หรืออาจมีการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ  ขึ้นมาเองได้   การควบคุมแนวทางการบริหารองค์กรใช้ หลักปฏิบัติ  ควบคุมการปฏิบัติให้เข้าถึงแก่นของงานและเป้าหมายบนพื้นฐานของ คุณธรรม 
                               















                                การจะนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ให้ได้ผล จะต้องยกระดับคุณธรรม
เป็นพื้นฐานจิตใจของบุคคลทุกคนทุกระดับ  หรือยกสังคมนั้นให้เป็นสังคมคุณธรรมเสียก่อน เพราะหากปราศจากซึ่งความพอเพียงเป็นพื้นฐานเบื้องต้นเสียแล้ว  ก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ผิดไปจากแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง   
......................................................






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น