หน้าเว็บ

บทความที่ได้รับความนิยม

9 พฤศจิกายน 2554

การฟื้นฟูนาข้าวหลังน้ำท่วมอย่างยั่งยืน

ปฏิบัติการฟื้นฟูข้าวหลังน้ำท่วม
ความยั่งยืนสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
                                นายโกวิทย์ ดอกไม้
 โทร. 081-8769113
             เป็นความฝันที่ผมนั่งรถเข้ากรุงเทพ ฯ เห็นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทำนาปี 2 ครั้ง 3 ครั้ง 4 ครั้ง ตั้งแต่ปากน้ำโพธิ์ จังหวัดนครสวรรค์ ถึง ปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ เพราะลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา คืออู่ข้าว อู่น้ำของโลก ปัจจุบันกลับเป็นโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นเรื่องน่าเศร้าใจอย่างยิ่ง เมื่อเห็นพี่น้องชาวนาภาคกลางใช้เทคนิคเกษตรเคมี ยิ่งขมขื่นที่บางปีพี่น้องทำนาจังหวัดอ่างทอง – สิงห์บุรี- ชัยนาท – นครสวรรค์ มีเพลี้ยกระโดด หนอนกอ ทำลายต้นข้าว ทำให้ชาวนาบางรายกลุ้มใจ แก้ปัญหาด้วยกินยาฆ่าหญ้า เพราะหนี้สินที่รัดตัวแก้ไขปีแล้วปีเล่ายิ่งพอกพูนเป็นดินพอกหางหมู ต้องขอบคุณ นกเต็ม หมุ่ยฟ้า ไห่ถาง เนสาด ฯ ที่ทำให้ผมเหมือนลูกพระพายให้ลมฟ้าลมฝนช่วยพาไปได้แสดงศักยภาพ เพราะถ้าไม่มีมรสุมเหล่านี้ผมคงจะไร้ค่าไม่ได้รับเกียรติอย่างสูงเช่นนี้ เงินที่ภาครัฐจัดสรรชดเชยน้ำท่วมไร่ละ 2,222 บาท จะจับจ่ายใช้สอยช่วยชาวบ้านได้อย่างไรกัน ในเบื้องต้นขอคุยก่อนว่า จะทำให้พี่น้องภาคกลางที่ดินดำน้ำชุ่ม เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของโลก อยากหยุดโรงงานอุตสาหกรรม กลับมาทำไร่ทำนา ซึ่งเป็นวิถีดั้งเดิมให้กลับคืนมา หากพี่น้องชาวไร่ชาวนาทำนาแล้วคุ้มทุน ลืมตาอ้าปากได้ ลูกหลานชาวไร่ชาวนาจะต้องกลับบ้าน  ออกจากการเป็นกรรมกรใช้แรงงานเหมือนเครื่องจักรไร้วิญญาณ ในโรงงานอุตสาหกรรม   นี้เป็นความคาดหวังที่ผู้เขียนฝันกลางวันมากว่า 20 ปี จึงขอคุยในรายละเอียดเบื้องต้นว่า...
             1.  จะให้ได้ข้าวไร่ละ 1,000  กิโลกรัม
             2.  จะบริหารจัดการเงินที่ภาครัฐช่วยเหลือไร่ละ 2,222 บาทให้เพียงพอกับการทำนา
             3.  จะทำชาวนาเลิกใช้สารเคมี เลิกใช้ปุ๋ยเคมี แต่ให้ผลผลิตเพิ่ม และมีต้นทุนถูกลงกว่าเดิม
             4.  การปลูกข้าว 1 ครั้ง ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว 1 ครั้ง แต่จะให้สามารถเก็บเกี่ยวได้ 2 ครั้ง  คือ จะใช้ตอฟางเดิมทำให้ข้าวงอกเป็นลำต้นออกมาใหม่เก็บเกี่ยวได้อีกโดยขยายพันธุ์จากตอซัง
หลังน้ำท่วมเหลืออะไรในนาข้าว
             ก่อนอื่นขอบคุณพระเจ้า หรือ องค์อัลเลาะห์  ที่พระองค์ทรงมีพระประสงค์ นำมรสุมนกเต็ม หมุ่ยฟ้า ไห่ถาง เนสาด ฯ มาล้างพิษสารเคมี ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า  ออกไปจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เพาะบ่มเชื้อโรคร้ายไว้กับดินให้สลายและเจือจางลงไปได้บางส่วนลงอ่าวไทยไป  และสิ่งที่เหลือค้างอยู่ในดินต้องมีบ้างเพราะมีการใช้ปุ๋ยเคมีสารเคมีในภาคกลางนี้ใช้มาแล้วไม่ต่ำกว่า 40 ปี และพิษภัยที่เหลือหลังน้ำลด คือ มวลฟางข้าวพืชสดที่เป็นมวล 500 กิโลกรัม /ไร่ จะเน่า แล้วปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)  ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ( H2S)  ก๊าซแอมโมเนีย(NH3) ก๊าซมีเทน (CH4) ปริมาณมาก น้ำและดินจึงเป็นพิษต่อการทำนาปีรอบต่อไป กล่าวคือ ถ้าไม่สลายก๊าซเหล่านี้ออกก่อน ระบบรากของข้าวจะเกิดเป็นปมสีดำ เป็นเชื้อโรคที่อาศัยอยู่กับน้ำเน่า ดินเน่า ซึ่งมีผลทำให้ข้าวเกิดโรค และข้าวไม่แตกกอดังที่พี่น้องชาวไร่ชาวนาประสบปัญหาให้เห็น ๆ ทุกปี ดังนั้นต้องเอาวิกฤติของมวลข้าวที่กำลังจะเน่าทำให้มีประโยชน์ด้วยการใช้อีเอ็มเทคโนโลยีเข้ามาสลายก๊าซพิษนี้ ให้เป็นมวลพลังงานที่เป็นประโยชน์ต่อต้นข้าว
การใช้วิกฤติให้เป็นโอกาสในการทำนาหลังน้ำท่วม ปี 2554
             ต้องเปลี่ยนมลพิษที่เป็นมวลสาร 500 กิโลกรัม / ไร่ ทำให้เป็นมวลพลังงานที่เกิดประโยชน์ต่อต้นข้าว  โดยการใช้อีเอ็มเทคโนโลยี ด้วยการดำเนินการดังนี้
             1. ขยายอีเอ็ม 1 ลิตร ให้เป็นอีเอ็ม 20 ลิตร คือ เอาอีเอ็ม 1 ลิตร กากน้ำตาล 1 ลิตรเทลงในแกลลอน 20 ลิตร แล้วเติมน้ำสะอาดที่ดื่มได้ลงไปในแกลลอนอีก 18 ลิตรขยายเชื้อทิ้งไว้ 5-7 วัน เรียกว่า “อีเอ็มขยาย”
             2. เตรียมถัง 200 ลิตร นำไปไว้ที่นา เติมอีเอ็มขยาย 1 ลิตร  เติมกากน้ำตาล 1 ลิตร แล้วเติมน้ำสะอาดจนเต็มถัง 200 ลิตร สาดลงในแปลงนาทั้งหมด เพื่อสลายสารพิษ สารเคมี ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า และสลายมลพิษ500 กิโลกรัมต่อไร่ ให้กลายเป็นปุ๋ยในนาข้าวหลังน้ำลด
             3. หนึ่งสัปดาห์ผ่านไป หว่านอีเอ็มโบกาฉิอัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ เตรียมถัง 200 ลิตร ไว้ที่นา เติมอีเอ็มขยาย 1 ลิตร  เติมกากน้ำตาล 1 ลิตร แล้วเติมน้ำสะอาดจนเต็มถัง 200 ลิตร สาดลงในแปลงนาทั้งหมดทำเหมือนข้อ 2
             4. การทำเทือกคือ ก่อนที่เราจะทำการหว่านข้าวต้องทำให้ดินในนาเป็นโคลนเหลวแล้วค่อยปล่อยน้ำออกที่นาเราก็จะเหลือแต่โคลน รอการนำเมล็ดข้าวมาหว่านอีก 1-2 สัปดาห์ต่อมา (หลังน้ำลดมวลดินสะอาดบริสุทธิ์มาก จะไม่มีวัชพืชใด ๆ เกิด จะได้ข้าวที่มีคุณภาพดี)
             5. เตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว ด้วยการแช่เมล็ดพันธุ์ด้วยน้ำเกลือ และ น้ำอีเอ็ม ให้ลำดับขั้นตอนดังนี้
                   5.1 นำถัง 20 ลิตร เติมเกลือลงไปในถัง 1.50 กิโลกรัม เติมน้ำลงไป 15 ลิตร คนให้เกลือละลาย แล้วเอาเมล็ดพันธุ์ข้าวแช่ลงในน้ำเกลือที่ละน้อย เมล็ดข้าวที่ลอยทั้งหมดให้คัดแยกออกไปให้เป็ด ไก่กิน อย่าเอามาทำพันธุ์เด็ดขาด
                   5.2 นำถัง 20 ลิตร เติมอีเอ็มขยายครึ่งแก้ว แล้วเติมน้ำสะอาดลงไป เอาเมล็ดพันธุ์ข้าวจากก้นถังมาแช่ นาน 30 นาทีแล้วนำมาบรรจุในกระสอบ หมักให้เปลือกข้าวนุ่ม 1-2 คืน จึงนำเล็ดพันธุ์ข้าวไปหว่าน
             6. อัตราการหว่านเมล็ดพันธุ์ ให้เจ้าของนาช่วยวิเคราะห์ตามคำพังเพยโบราณ คือ “ดินเลวหว่านถี่ ดินดีหว่านห่าง” ดังนั้น ในปีแรกของการใช้อีเอ็มเทคโนโลยี จะให้ใช้เมล็ดพันธุ์เริ่มต้นที่ 12 กิโลกรัม / ไร่ เมื่อใช้อีเอ็มต่อ ๆ ไป ในรอบที่ 2 รอบที่ 3 รอบที่ 4... จึงค่อย ๆ ลดเมล็ดพันธุ์ลงเป็น 10 กิโลกรัม / ไร่...  8 กิโลกรัม / ไร่ ตามลำดับ เพราะเมื่อดินดีแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้เมล็ดพันธุ์จำนวนมากให้สิ้นเปลืองต่อไป และการใช้เมล็ดข้าวจำนวนมาก ประการแรกคือ สิ้นเปลืองเงินแล้ว ทำให้ต้นข้าวขึ้นถี่ หนาแน่น ต้นข้าวถี่ ต้นไม่แข็งแรง ไม่ทนทนต่อการเกิดโรค เหมือนเป็ดไก่ที่เลี้ยงแออัดในฟาร์มจำนวนมาก ประการที่ 2 คือ ข้าวเป็นพืชที่ชอบแสง สรีระของข้าวทุกส่วนต้องได้อาบแดดทั้งวัน ถ้าหากลำต้นไม่อาบแดดเต็มที่ เพราะแต่ละต้น แต่ละกอต้องแย่งแสงแดดกันและกันจึงเกิดปัญหาตามมาคือต้นอ่อนแอ ประการที่ 3 ดินที่โคนต้นข้าวที่มีอีเอ็มทำงานอยู่กับดินกับน้ำต้องได้อาบแดดด้วย เพราะอีเอ็มมีจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจะดึงแสงแดดให้เกิดจุลพืช แพลงค์ตอน สาหร่าย พืชชั้นต่ำที่แตกตัวมีเซลล์เดียว หรือหลาย ๆ เซลล์ พืชชั้นต่ำเหล่านี้จะเป็นตัวตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้ลงสู่น้ำ พี่น้องชาวนาจะไม่ต้องไปเสียเงินซื้อปุ๋ยยูเรียมาช่วยให้ข้าวเขียว ประหยัดเงินช่วยพี่น้องทำให้ข้าวเขียวได้โดยไม่ต้องลงทุน  และประการสุดท้ายจะทำให้กุ้ง หอย ปลา กบ เขียดตามมาเป็นระรอก ในน้ำมีปลา ในนามีข้าวไม่ไกลเกินไป เพราะห่วงโซ่อาหารเกิดขึ้นจากแสงแดดส่องถึงพื้นนา จึงเกิดเป็นจุลพืชเป็นอาหารให้กับสิ่งมีชีวิตอีกมากมาย
ข้าว เห็ดฟาง และความสัมพันธ์กับจุลินทรีย์อีเอ็ม
             เมื่อในอดีตที่ปู่ ย่า ตา ทวด นับร้อย ๆ ปีมาทำมาหากิน บุกเบิกแผ้วถากถางป่าเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เอาเมล็ดแตง เมล็ดข้าวโพด เมล็ดถั่ว โยนเล่นไว้หัวไร่ปลายนาได้เก็บกินขณะทำนา ได้แจกจ่ายเพื่อนบ้านเรือนเคียง และไม่มีโรคแมลงรบกวน ปัจจุบันความดั้งเดิมที่เคยมีมามันหายไปไหนกันหมด ผมอยากจะพาพี่น้องลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาคืนมรดกให้กับ “แผ่นดินพ่อ”  ถ้ารักพ่อ รักในหลวง อย่ารักแต่ปาก ให้รักแผ่นดินด้วยการหยุดนำสารพิษสารเคมี ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้าเข้ามาทำลายดินที่เป็นมรดกที่ปู่ ย่า ตา ทวดมาบุกร้างถางพงมาก่อนการตั้งกรุงสุโขทัย นับพันปีที่บรรพบุรุษพลิกฟื้นพื้นป่าให้เป็นนา ได้ปลูกข้าวเลี้ยงลูกหลาน เป็นอารยะธรรมเกิดภูมิปัญญามาหลายชั่วอายุคน ผมสงสารที่พี่น้องชาวนาเห็นผิดเป็นชอบ ไม่นำภูมิปัญญาที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษสืบศานต์ให้คู่กับแผ่นดินไทย กลับไปถามพ่อค้าปุ๋ยที่ตลาดที่ไม่เคยทำนาเลย หนักไปกว่านั้นเอาภูมิปัญญาฝรั่งที่ซื้อข้าวเรากิน ขายปุ๋ยเคมีให้เราใส่ข้าวมันยังไม่รู้จักเลยว่า ต้นข้าวเป็นอย่างไร ปลูกแบบไหน เรื่องที่จะกล่าวถึงนี้คือ จะคืนเชื้อเห็ดฟางกลับสู่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอีกครั้ง  เพราะเมื่อพี่น้องคืนเชื้อเห็ดฟางกลับสู่นา ข้าวในท้องทุ่งสุวรรณภูมิจะส่งกลิ่นหอมและปราศจากการรบกวนของโรคทุก ๆ ชนิดอย่างสิ้นเชิง หลังน้ำลด ปี 2554 คือทุ่งรวงทองทอแสงที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะนกเต็ม หมุ่ยฟ้า ไห่ถาง เนสาด ฯ ช่วยชะล้างมลพิษที่สะสมมากว่า 50 ปี ผู้เขียนอยากคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กลับสู่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาหลังน้ำลด เพราะข้าวไทยเมื่อในอดีตเมื่อปี 2476 ที่ประเทศไทยส่งพันธุ์ข้าวเข้าร่วมการประกวดข้าวระดับโลกที่ประเทศแคนาดา ได้รับรางวัลชนะเลิศและรางวัลอื่น ๆ รวมกันถึง 11 รางวัล ทำให้ข้าวไทยมีชื่อเสียงระดับโลกมาจนถึงทุกวันนี้ หากลูกหลานไม่รักษาภูมิหลัง มรดกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ความยิ่งใหญ่ของข้าวไทยเหมือนในอดีต จะไม่เกิดขึ้นอีกเลย
             เอนโดไมคอร์ ไรซ่า ( Endomycorrhiza)
                   ขอนไม้ทุกขอนที่เกิดจากป่าในดินแดนสุวรรณของประเทศไทยจะมีเห็ดออกมาจากขอนไม้หลังต้นไม้นั้นตาย เช่น เห็ดกระด้าง เห็ดบท เห็ดหลินจือ เห็ดหูหนู เห็นตีนตุ๊กแก ฯ  และต้นข้าวทุกต้นเส้นฟางทุกเส้นที่เกิดในภูมิภาคนี้จะออกเห็ดฟางหลังจากนวดข้าวแล้วนำฟางมากองทับถมกันให้ตากแดดตากฝน เมื่อปู่ ย่า พาเก็บกินไม่ตายจึงตั้งชื่อให้ว่า “เห็ดฟาง” (Straw Mushroom) และถ้านำผักตบชวาที่ลอยอยู่ตามแม่น้ำลำคลองมากองทับกันก็เกิดเห็ดฟางอีก เห็ดฟางเมื่อในอดีตโบราณเรียกเห็ดบัว เพราะกินฝักบัวหลวงแล้วกองทิ้งไว้ตากแดดตากฝนแบบไม่ใยดีกลับเกิดเห็ดขึ้นเองได้ ผู้เขียนอยากก้มลงกราบที่พระบาทขององค์อัลเลาะห์ที่ประทานดิน  ประทานน้ำที่มีคุณสมบัติพิเศษที่พี่น้องชาวไร่ชาวนานึกไม่ถึง เพราะเห็ดฟางที่เคยเกิดกับกองฟางเมื่อในอดีต คือภูมิคุ้มกันที่เป็นวัคซีนมารักษาต้นข้าว ทำให้ข้าวไม่เกิดโรค ไม่มีแมลงศัตรูพืชรบกวน ทำให้ข้าวส่งกลิ่นหอม เป็นหน้าเป็นตาให้ข้าวไทยและคนไทยทั้งประเทศ จนเป็นที่ยอมรับของคนทั้งโลก แสดงว่าดินทุกเม็ด น้ำทุกหยดในดินแดนสุสวรรณภูมิมีค่าเหมือน “ทอง” ชื่อสุวรรณภูมินี้ได้ได้ถูกเรียกขานต่อกันมาตั้งแต่บรรพกาลนับพันปี เพราะในดินและในน้ำของประเทศไทยมีเชื้อรา Fungal hyphae (ราเส้นใยสีขาว) ซึ่งรานี้เป็นเชื้อราเห็ดสมุนไพรอาศัยต้นไม้ อาศัยต้นข้าวหรือพืชทุกชนิดเป็นบ้านอาศัย ดังนั้นเมื่อราเห็ดฟางที่อาศัยต้นข้าวเป็นที่พักพิงในการเจริญเติบโต การพักพิงระหว่างราเห็ดฟางกับต้นข้าวพึงพาอาศัยกันและกัน เรียกการพึ่งพาอาศัยกันนี้เรียกว่า เอนโดไมคอร์ไรซ่า”   (Endomycorrhiza)
             ถ้ามีปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพทำให้ฟางข้าวเกิดราเห็ดฟางในลำต้นแล้ว ต้นข้าวจะแข็งแรง เหมือนเป็นวัคซีนให้กับต้นข้าว ในกระบวนการหมักปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพอีเอ็ม (อีเอ็มโบกาฉิ) จะพบราเส้นใยสีขาวจำนวนมาก เพราะในแกลลอนจุลินทรีย์อีเอ็มมีเชื้อบรรพบุรุษของเห็ดสมุนไพรอยู่คือ Fungi วิธีการเพาะเลี้ยงเชื้อทำไม่ยาก ไม่ซับซ้อน วันหนึ่งใช้แรงงานคน 2-3 คนก็ทำได้วันละหลายพันตัน ปุ๋ยที่ว่านี้คือ “อีเอ็มโบกาฉิ” เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมาเคยสอนให้พี่น้องทำเป็นครอบครัว โดยทำทีละปีบ ทีละกระสอบ โด่งดังในภาคอีสาน กำเนิดขึ้นจากป่าดงนาทาม ที่พลเอก พิเชษฐ์ วิสัยจร ทำให้คนไทยรู้จักและเป็นที่ยอมรับคนทั้งประเทศ แล้วขยายผลสู่ปลายด้ามขวาน จึงเป็นครั้งแรกของชีวิตที่ต้องจารึกว่า บัดนี้ได้คืบคานสู่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว
ฟ้ามีตา
             กว่า 40-50 ปีที่พี่น้องเดินหลงทาง พี่น้องเกษตรกรได้ใช้สารพิษ สารเคมี ปุ๋ยเคมีปีละ 4 ล้านตัน   ประเทศไทยนำเข้าสารเคมีทางการเกษตรมากที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยาฆ่าแมลงมากเป็นอันดับ 5 ของโลก ใช้ยาฆ่าหญ้าเป็นอันดับ 4 ของโลก  สารเคมีเหล่านี้ได้ถูกทิ้งลงในดินพ่อ ดินแดนสุวรรณภูมิ ทิ้งมาช้านากว่า 50 ปี พระเจ้าหรือองค์อัลเลาะห์ไม่มีพระประสงค์จะให้ดินแดนสุวรรณภูมิปนเปื้อนกับสิ่งที่ชั่วร้ายเหล่านี้ พระองค์จึงได้ทรงประทานฟ้าฝนมาสลายให้ดินแดนสุวรรณภูมิสะอาด พระองค์ทรงรู้ด้วยว่าที่ไหนสกปรกบ้าง ด้วยสายพระเนตรที่พระองค์มี ว่าที่ไหนจะเป็นอันตรายต่อสัตว์โลกบ้าง พระองค์กลัวเป็นพิษ เป็นภัยต่อสรรพสัตว์น้อยใหญ่บนโลก พระองค์จึงประทานมรสุมห่าใหญ่ขึ้น ถี่ขึ้น มวลฝนมากขึ้น เมืองใหญ่ ๆ ย่านเศรษฐกิจ มีน้ำเน่า น้ำเสีย น้ำโสโครก น้ำสกปรกมีที่ไหนพระองค์มีพระประสงค์ต้องล้างให้สะอาดเหมือนการล้างภาชนะก่อนเก็บเข้าตู้  จึงมีวิธีการเดียวกันคือ ล้างด้วยน้ำ ผู้เขียนนั่งดูทีวีข่าวน้ำท่วม ดูไป นั่งขำไป ที่ทุกฝ่ายต่างพยายามใช้สติปัญญาที่เชี่ยวชาญของตนเอง ขวางกระแสของพลังแห่งจักรวาลที่ฟ้าสั่งลงมา สิ่งที่เราทำคันดินกั้นทางน้ำ เพราะไม่ยอมให้น้ำชะล้างสิ่งโสโครกออกไป นึกหรือว่าฟ้าไม่มีตา  ผู้เขียนได้แต่นั่งหัวเราะอยู่คนเดียว เพราะมนุษย์กำลังแสดงพลังกาย พลังสมองให้อยู่เหนือธรรมชาติ ฝันไปเถอะ โลกใบนี้เป็นโลกในอุดมคติขององค์อัลเลาะห์ ประทรงประทานให้เกิดความสวยสดงดงามและสมส่วนสมดุลหาที่ติไม่ได้ แต่เมื่อมนุษย์เข้ามาอาศัยเข้ามาปรับย้ายมวลสาร ไปต่อเติมนี่ เอาไปถมนั่น แล้วยังเอาสิ่งชั่วร้ายทำลายแผ่นดินที่เป็นสมบัติของพระองค์ ที่พระองค์ให้เรายืมเป็นที่อาศัย เรายังมาทำลายในสิ่งที่พระองค์ได้บรรจงสร้างไว้อย่างสมส่วนสมดุลดีแล้ว ผมก็เลยมานั่งขำผู้ว่าหลาย ๆ จังหวัดที่โดนน้ำท่วมวางโครงการกั้นกระแสน้ำ ผมบอกว่ายังน้อยไปกับพลังของจักรวาลที่พระองค์ส่งลงมาเพื่อทำความสะอาดโลก บทเรียนในอดีตที่มนุษย์เราไม่รู้สำนึกผิด ไม่รู้ดี ชั่ว เราก็ยิ่งจะเดือดร้อนมากกว่านี้ แล้วทำไมไม่ช่วยกันนำเอาจุลินทรีย์อีเอ็ม ที่พระองค์ทรงประทานมาคู่กับโลก ที่เคยเกิดขึ้นมาตั้งแต่ 500 ล้านปีนำไปปรับความสมดุลกับระบบนิเวศบนโลกนี้ พระองค์จะสรรเสริญเป็นยิ่งนัก
             ที่ต้องเสียเวลาไปสาธยายเพราะพี่น้องเกษตรกรของเราทำผิดมามาก หากไม่อธิบายขยายความ  พี่น้องทำไร่ทำนาก็จะสูญเปล่าอีกตามเคย ผู้เขียนไม่ต้องการชวนเชื่อ แต่วิเคราะห์เหตุการณ์ที่ผ่านมาเป็นความเท็จ หรือจริงแล้วแต่ภูมิปัญญาจะสามารถรับเอาไว้ได้ ผมจึงมีความประสงค์จะนำพาพี่น้องคืนจุลินทรีย์อีเอ็มลงสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ดินแดนสุวรรณภูมิ จะทำให้พืชพรรณธัญญาหารที่เกิดขึ้นใหม่บนความสะอาดหลังน้ำลดให้ข้าวมีคุณค่ายิ่งกว่าทอง คือ ข้าวที่มีกลิ่นหอม กลับคืนสู่วิถีชาวนาไทย
การดูแลรักษาข้าวด้วยอีเอ็มเทคโนโลยี
             “การดูแลระดับน้ำ” หลังจากหว่านเมล็ดข้าวลงในนา  เมื่อ 1 สัปดาห์ผ่านไป สัปดาห์ที่ 2, 3, 4...จากต้นกล้าที่อ่อนแอ ความแข็งแรงทำให้ข้าวโตวันโตคืนเร็วมาก เพราะเปลือกข้าวนุ่มเร็ว ย่อยสลายเร็ว แล้วอีเอ็มจากเปลือกจะทะลวงเข้าไปย่อยสลายแป้งในเมล็ดข้าว ส่งพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาให้กับรากที่รออยู่ก่อนแล้ว รากจะค่อย ๆ พัฒนาเป็นรากฝอยและรากขนอ่อนจากซังข้าวและโบกาฉิที่หมักเปื่อยเป็นสารอินทรีย์ที่เราได้เตรียมเอาไว้ก่อนหว่านข้าวลงนา ข้าวจะเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับ ระหว่างที่ต้นข้าวเติบโตขึ้นตามลำดับนี้ ให้ระบายน้ำเข้าในนาเพื่อคลุมดิน และคลุมวัชพืชไม่ให้ดินขาดน้ำ และให้รักษาระดับน้ำให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับ เช่น ตั้งแต่ข้าวยังต้นอ่อนให้รักษาระดับน้ำจาก 1 เซนติเมตร เป็น 5 เซนติเมตร 10 เซนติเมตร และ 15-20 เซนติเมตร ตามลำดับ ข้าวนาปรังที่ควบคุมน้ำได้นี้ จะทำให้รักษาระดับน้ำอย่างนี้ถึงวันเก็บเกี่ยว อย่าปล่อยระดับน้ำเข้าไปท่วมต้นข้าวยังอ่อน หากให้ระดับน้ำสูงเกินไปจะทำให้ต้นข้าวยืดตามน้ำเป็นเหมือนสายบัวยืดตามน้ำขึ้น ต้นข้าวจะอ่อนแอไม่แข็งแรง ไม่มีการแตกกอ ผลผลิตลดทันที
             “น้ำมีชีวิต”  น้ำทุกหยดที่ระบายเข้าในนาให้มีมวลของจุลินทรีย์อีเอ็มทุกครั้ง  ดังนั้นจะระบายน้ำเข้านา ให้ตั้งถังอีเอ็มขยายไว้ที่ต้นน้ำด้วย เพราะจุลินทรีย์อีเอ็มที่อยู่ในถังที่ระบายเข้าในนานั้น ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์จำนวนมหาศาล เมื่อเขาเข้าไปอยู่ในนามาก ๆ เขาทำงานกับแสงแดด จะได้ปลดปล่อยพลังงานลงในนาได้มาก ๆ การปรุงน้ำให้มีชีวิตในนาข้าวนี้ ต้องเป็นน้ำพลังงานจากจุลินทรีย์อีเอ็มพืชจึงจะเจริญเติบโตได้ดี เพราะได้น้ำพลังงานไปใช้ในการปรุงอาหาร (อัตราการผสม อีเอ็มขยายครึ่งลิตรกากน้ำตาลครึ่งลิตร น้ำสะอาด 100 ลิตร)
             การปรุงอาหารของพืช ต้องอาศัย อาหารที่ได้จากดิน อากาศ (ได้จากการตรึงไนโตรเจน) น้ำ (น้ำมีชีวิตที่ได้จากท้องนา) และแสงสว่าง (ได้จากดวงอาทิตย์) เมื่อฉีดพ่นด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม ซึ่งมีจุลินทรีย์ Azotobacter ไปเกาะที่ใบ เขาจะทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนที่มีในอากาศผ่านเข้าที่ใบ จึงทำให้พืชมีสีเขียวโดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยยูเรีย และอีเอ็มมีจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงอยู่ด้วย เมื่อใช้อีเอ็มฉีดพ่นไปที่ใบ ทำให้ใบข้าวทุกใบได้ทำหน้าปรุงอาหารช่วยกัน หรือทุกใบได้ทำหน้าที่ช่วยกันทำมาหากิน  ดังนั้นนาหว่าน หรือนาหว่านน้ำตมให้ฉีดพ่นต้นข้าวด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม เมื่อข้าวมีอายุ 15 วัน, ข้าวมีอายุ 45 วัน, 75 วัน ให้ฉีดพ่นจุลินทรีย์อีเอ็ม ประมาณ 100 ลิตร / ไร่ (อัตราการผสม อีเอ็มขยายครึ่งลิตรกากน้ำตาลครึ่งลิตร น้ำสะอาด 100 ลิตร)
             หากพบว่าปีแรกที่ดินยังไม่สมบูรณ์ พบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาด เพลี้ยะไฟ เพลียะจักจั่นเขียว ราน้ำค้าง อย่าใช้สารเคมีโดยเด็ดขาด ให้ปรึกษาปราชญ์ชาวนาแห่งปากน้ำโพธิ์ คือ นายประไพ เรือนอ่อน โทรศัพท์ 080-6871933 และถ้าพบว่า หอยเชอรี่ระบาดก็อย่าใช้สารเคมีลงในนาอย่างเด็ดขาด เพียงแต่ให้แกลบใหม่ ๆ จากโรงสีข้าว 1 ปี๊บที่มีกลิ่นละอองข้าวหอมกรุ่น นำมารดด้วยอีเอ็ม พอหมาด ๆ แล้วก็เอารำ 3-4 กิโลกรัมมาคลุกกับแกลบ  หมักจนแห้ง 5-6 วัน นำไปวางไว้ตามน้ำที่มีหอยเชอรี่ มันหอมกลิ่นแกลบกับรำหมักอีเอ็มเลยอยากลอง ใช้ปากงับแกลบนึกว่าจะอร่อย  ที่ไหนได้กลืนไม่เข้า คายไม่ออก นอนยิ้มตายในนาน่าสงสาร
การทำปุ๋ยกองโต
             เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมาได้ส่งเสริมให้ทำปุ๋ยหมัก (โบกาฉิ) กองเล็ก ๆ ทีละปี๊บ คือ นำมูลสัตว์ แกลบ รำละเอียดอย่างละ 1 ปี๊บทำปุ๋ยหมัก ผลที่เกิดคือมีปัญหารำราคาแพง มูลสัตว์หาลำบากเพราะปัจจุบันชาวนาใช้เครื่องจักรการเกษตรแทนเลี้ยงวัว ควาย และกระบวนการทำค่อนข้างยุ่งยาก ผู้เขียนจึงวางแผนทำปุ๋ยกองโต ทำครั้งละหลายร้อยตัน ทำให้กระบวนการทำง่าย ต้นทุนถูกลง คุณสมบัติเหมือนเดิมไม่แตกต่าง ซึ่งต้องเตรียมวัสดุ และ เงินเพื่อดำเนินการดังนี้
ตาราง ที่ 1 วัสดุทำปุ๋ยกองโต

ที่
รายการวัสดุ
น้ำหนัก
(ตัน)
ราคา/
หน่วย
รวมราคา
(บาท)
หมายเหตุ
1.
มูลสัตว์ (มูลไก่, วัว)
10 ตัน
1 บาท
10,000 บาท
น้ำหนักสุทธิ
2.
เปลือกมันสำปะหลัง
10 ตัน
1 บาท
10,000 บาท
30 ตัน
3.
แกลบ-ผักตบชวา-ใบไม้ (สด-แห้ง)
10 ตัน
1 บาท
10,000 บาท
ราคาตันละ
4.
จุลินทรีย์อีเอ็ม
3 ลิตร
90 บาท
270 บาท
1,109 บาท
5.
กากน้ำตาล
100 ลิตร
10 บาท
1,000 บาท
ราคา 1.10 บาท
6.
รถฉีดน้ำ
5,000 ลิตร
1,000 บาท
1,000 บาท

7.
รถไถผสมพรวน
2 ชั่วโมง
1,000 บาท
1,000 บาท


รวม


33,270 บาท


วิธีทำ
1.    ขยายจุลินทรีย์อีเอ็ม  คือ  เติมอีเอ็ม  1  ลิตร  และกากน้ำตาล  5 ลิตรลงในถัง 200  ลิตร (ทำแบบเดียวกัน 5 ถัง)  เติมน้ำสะอาดลงในถัง 200  ลิตรจนเต็มถัง  ปิดฝาให้สนิท  ไม่ให้อากาศเข้า ทิ้งไว้  5  วัน  ก็จะได้อีเอ็มขยาย  200  ลิตรที่สมบูรณ์ 5 ถังจำนวน 1,000 ลิตร
             2.    ในวันที่  5  ให้นำอีเอ็มขยายขึ้นรถฉีดพ่นน้ำ  ขนาดบรรจุ  5,000  ลิตร  เติมอีเอ็มขยายลงในรถฉีดน้ำ  1,000  ลิตร  และเติมกากน้ำตาลที่เหลืออีก 95  ลิตรลงในรถน้ำ  (เอากากน้ำตาลละลายน้ำก่อนเทลงในรถน้ำ )
3.    เตรียมวัสดุทำปุ๋ย  เช่น  มูลสัตว์  เปลือกมันสำปะหลัง   ใบไม้  ผักตบชวา  กองไว้ใกล้ ๆ   กัน  แล้วใช้รถไถนาเดินตาม  หรือ  รถแทรกเตอร์ดัน  และไถพรวนเพื่อคลุกให้วัสดุผสมกัน
4.    ฉีดน้ำที่ผสมอีเอ็มและกากน้ำตาลลงไปในวัสดุเรื่อย ๆ  จนกว่าจะเกิดความชื้นพอหมาด ๆ  ประมาณ  50  %  จึงหยุดฉีด  ระวังอย่าให้แฉะเกินไป  น้ำที่เหลืออาจนำไปฉีดพ่นต่อในแปลงนาได้
การหมัก
             1. ให้รถไถปรับดันกองปุ๋ยให้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า  โดยไถปรับให้กองปุ๋ยหมักสูงจากดินประมาณ 1 ฟุต
             2. ในวันที่ 3 ให้ไถพรวนผสมอีกครั้ง เพื่อให้ส่วนผสมคลุกกันใหม่อีกครั้ง เพื่อลดความร้อนในกองปุ๋ยหมักให้พอดี ซึ่งจำให้การหมักเชื้ออีเอ็มขยายในกองปุ๋ยได้ดียิ่งขึ้น
             3. ในวันที่ 5 ให้ไถพรวนผสมกองปุ๋ยเพื่อให้เกิดการผสมกันใหม่อีกครั้ง นำกระสอบมาบรรจุแล้วนำไปหว่านในนาทันที
หมายเหตุ
             หลังจากหมักได้ 5 วันเกิดการหมักที่สมบูรณ์ดีแล้ว จะพบราเส้นใยคล้าย ๆ กับใบไม้หมักทับถมกันในป่า เป็นเส้นใยคล้ายสปอร์เห็ดพบอยู่มากมายที่เกิดจากกระบวนการหมัก เมื่อนำไปใช้ในนาข้าว จะทำให้ข้าวโตเร็ว แข็งแรง ให้ผลผลิตสูงไร่ละ 1,000 กิโลกรัม เมื่อนำไปหว่านใส่นา ข้าวจะมีกลิ่นหอม ฟางจะมีเห็ดฟางออกเห็ดให้ได้เก็บกินตลอดปี        
ตารางที่ 2 ต้นทุนการปลูกข้าวนาหว่านน้ำตมหลังน้ำลด

ที่
รายการ
จำนวน
ราคา/หน่วย
ราคา
หมายเหตุ
1.
อีเอ็มโบกาฉิ (ปุ๋ยหมักอีเอ็ม)
200 กิโลกรัม
1.10 บาท
220 บาท

2.
เมล็ดพันธุ์ข้าว
12 กิโลกรัม
25 บาท
300 บาท

3.
อีเอ็ม
2 ลิตร
90 บาท
180 บาท

4.
กากน้ำตาล
5 ลิตร
15 บาท
75 บาท

5.
การทำเทือก
1 ไร่
500 บาท
500 บาท

6.
เก็บเกี่ยว
1 ไร่
500 บาท
500 บาท





1,775 บาท



ผลผลิต และ การเก็บเกี่ยว
             ต้นทุนการผลิตถูกลง ผลผลิตในปีแรกที่ใช้จุลินทรีย์อีเอ็มครั้งแรกไม่ต่ำกว่า 600 กิโลกรัม / ไร่ ในการเพาะปลูกครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3  ข้าวจะมีผลผลิตที่ 800 กิโลกรัม และ 1,000 กิโลกรัม ตามลำดับ พี่น้องชาวไร่ชาวนาพอมองเห็นต้นทุน  และมองเห็นกำไรหลังการการเก็บเกี่ยว ถ้าขายข้าวได้ตามราคารัฐบาลประกันราคากิโลกรัมละ 15 บาท ชาวนาจะมีกำไร 7,225 บาทในการทำนารอบแรก
ปลูกข้าวครั้งเดียวเกี่ยวได้ 2 ครั้ง
             ข้าวที่ปลูกด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม จะเป็นข้าวเบา ข้าวกลาง ข้าวหนัก คือ อายุการเก็บเกี่ยวที่ 100 วัน 120 วัน และ 140 วัน เมื่อถึงวันเก็บเกี่ยว รากข้าว ตอซัง ใบและกาบห่อใบ ยังสด ยังสมบูรณ์ พร้อมที่จะแตกตาออกจากตอซังเป็นลูกข้าว เป็นต้นใหม่  ออกรวง  ออกเมล็ดใหม่อีกครั้งโดยไม่ต้องใช้เมล็ดพันธุ์  เพราะต้นข้าวอยู่ในตระกูลเดียวกันกับไม้ไผ่ ตาทุกตาของไม้ไผ่สามารถนำมาเพาะเป็นต้นไม้ไผ่ต้นใหม่ได้ ดังนั้นตาทุกตาของต้นข้าวก็มีคุณสมบัติเช่นเดียวกัน
             หลังเก็บเกี่ยวให้ระบายน้ำออกจากนา หว่านปุ๋ยหมักอีเอ็มโบกาฉิ 200 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อเตรียมทำนารอบ 2 โดยใช้ “ตอซังข้าวเป็นต้นพันธุ์” ต้นข้าว 1 ต้นจะมีปล้อง 7 ปล้อง หลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้วฉีดพ่นอีเอ็มขยาย 100 ลิตรต่อไร่ แล้วใช้ล้อรถเหยียบให้ตอตอซังล้ม นอนปูไปตามพื้นนาราบติดโคลนตม ภายใน 15 วันต้นข้าวจะค่อย ๆ งอกจากตาเป็นต้นใหม่มี 3-4 ใบ ในสัปดาห์ที่ 2, 3, 4,... ระบายน้ำเข้าในนาให้สูงขึ้นตามอายุของต้นข้าวในระดับ 5 เซนติเมตร 10 เซนติเมตร และ 15 เซนติเมตร ตามลำดับ ที่ต้นน้ำต้องตั้งถังเติมน้ำให้เติมถัง 200 ลิตรเติมอีเอ็มขยาย 1 ลิตร และกากน้ำตาล 1 ลิตรเติมไว้ที่ต้นน้ำที่ระบายน้ำเข้านา
             ฉีดพ่นอีเอ็มเมื่อลูกข้าวมีอายุ 15 วัน และมีอายุ 30 วัน 100 ลิตรต่อไร่ โดยเติมอีเอ็มขยายครึ่งลิตร กากน้ำตาลครึ่งลิตรลงในถัง ฉีดพ่นข้าว 2 ครั้ง โดยไม่ต้องใช้เมล็ดพันธุ์  อีกประมาณ 60 วันจะได้เก็บเกี่ยวข้าวครั้งที่ 2 จากต้นข้าวที่แตกหน่อออกจากตา 1 ต้นจะขยายแตกกอต่อไปอีก กอละ 6-7 ต้น แต่ละต้นมีเมล็ดประมาณ 270 – 300 เมล็ด เมื่อใช้จุลินทรีย์อีเอ็มฉีดพ่นทุกเมล็ดน้ำหนักดี ไม่มีเมล็ดลีบ ให้ผลผลิตได้อีก 500 -600 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นรายได้ช่วยชาวนาได้อย่างยั่งยืนต่อไป
ตารางที่ 3 ต้นทุนการปลูกข้าวแบบล้มตอซัง

ที่
รายการ
จำนวน
ราคา/หน่วย
ราคา
หมายเหตุ
1.
อีเอ็มโบกาฉิ (ปุ๋ยหมักอีเอ็ม)
200 กิโลกรัม
1.10 บาท
220 บาท

3.
อีเอ็มขยาย
20 ลิตร
2 บาท
40 บาท

4.
กากน้ำตาล
5 ลิตร
15 บาท
75 บาท

5.
การล้มตอซัง
1 ไร่
500 บาท
500 บาท

6.
เก็บเกี่ยว
1 ไร่
500 บาท
500 บาท





1,335 บาท



ประโยชน์ที่ชาวนาได้รับ
             1. ไม่ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว จะใช้ต้นข้าว หรือตอซังแทนเมล็ดพันธุ์
             2. ไม่สิ้นเปลืองค่าไถ ไม่สิ้นเปลืองค่าแรงหว่านเมล็ดพันธุ์ ไม่สิ้นเปลืองค่าปักดำ
             3. กระชับเวลาในการทำงาน ระการเก็บเกี่ยวให้สั้นลง มีเวลาว่างสำหรับประกอบอาชีพเสริมอย่างอื่นมากขึ้น
             4. ลดปัญหาเพลี้ยะไฟ เพลี้ยะกระโดด หายไป เพราะต้นข้าวใหม่ได้อาหารบริสุทธิ์จากลำฟางของต้นแม่หล่อเลี้ยง เป็นภูมิคุ้มกันที่เกิดมาจากธรรมชาติที่แท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น