หน้าเว็บ

บทความที่ได้รับความนิยม

11 พฤศจิกายน 2556

เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความมั่นคง ตอนที่ 2 หลักการทรงงาน...ศาสตร์พระราชา

ตอนที่ 2 หลักการทรงงาน...ศาสตร์พระราชา


หลักการทรงงาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เป็นที่ประจักษ์กันโดยทั่วกันแล้วว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีสายพระเนตรและพระราชอัจฉริยภาพด้านการพัฒนาต่าง ๆ ปรากฏแก่สายตาประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ภาพพระราชกรณียกิจที่พระองค์ทรงปฏิบัตินับตั้งแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์สิริราชสมบัติในปี 2489 แสดงให้เห็นถึงพระเมตตาและพระมหากรุณาธิคุณ ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่พสกนิกรทั้งแผ่นดินได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พระองค์ทรงทุ่มเทพระวรกายตรากตรำและมุ่งมั่น เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่พสกนิกรไม่ว่าจะเชื้อชาติใด ศาสนาใด หรืออยู่ห่างไกลสักเพียงใด ก็มิได้ทรงย่อท้อ เข้าไปช่วยเหลือราษฎรทั้งด้านสาธารณสุข การศึกษา สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การเกษตร การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทั้งดิน น้ำ ป่าไม้ และพลังงาน หรือแม้กระทั่งการจราจร ก็ทรงคิดค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาได้อย่างแยบยล
การทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดการดำเนินงานในลักษณะทางสายกลางที่สอดคล้องกับสิ่งที่อยู่รอบตัว และสามารถปฏิบัติได้จริง ทรงมีความละเอียดรอบคอบและทรงคิดค้นหาแนวทางพัฒนาเพื่อมุ่งสู่ประโยชน์ต่อประชาชนสูงสุด มีคุณค่า และควรยึดเป็นแบบอย่างในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาล นำมาปฏิบัติเพื่อให้บังเกิดผลต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติตลอดไป
หลักการทรงงาน
ข้อที่ 1 จะทำอะไรต้องศึกษาข้อมูลให้เป็นระบบ
อดีตทำอะไรมาบ้าง ทั้งเอกสาร สอบถามเจ้าหน้าที่และชาวบ้าน เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้จริงๆ เช่นงานยาเสพติด ต้องดูข้อมูลให้ลึกซึ้ง ทำไมทำงานไม่สำเร็จ ต้องศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งการพูดคุย การดูตัวเลข แต่อย่าให้ตัวเลขมาหลอกเราได้ ผู้ยิ่งใหญ่เห็นแต่ภาพสวยหรู แท้ที่จริงเละตุ้มเป๊ะ แม้ทำไม่ได้มีปัญหาตัวเลข ก็สวยหรู เพราะมีการคาดโทษ ต้องยอมรับความจริงก่อน แล้วลงมือแก้ไข
ข้อที่ 2 ระเบิดจากภายใน
สร้างความเข้มแข็งจากภายในให้เกิดความเข้าใจ และอยากทำมิใช่สั่งให้ทำ คนไม่เข้าใจจะไม่ทำ แยกให้ออกระหว่างคุณค่า กับมูลค่า ว่ามีเหตุผลอย่างไรจึงควรทำ
ข้อที่ 3 แก้ปัญหาจากจุดเล็ก
มองภาพรวมก่อนเสมอ แต่การแก้ปัญหาต้องเริ่มจากจุดเล็กๆ ไม่เริ่มทีเดียวใหญ่ ๆ
และควรมองในสิ่งที่มักจะมองข้าม ถ้าปวดหัวคิดอะไรไม่ออก ให้คิดแก้ปวดหัวก่อน เป็นคำพูดที่ฟังดูตลก แต่ลึกซึ้ง คิดใหญ่ทำเล็ก คิดกว้างทำแคบ คิดละเอียดทำหยาบ ลงมือทำในจุดเล็กๆ ก่อน สำเร็จแล้วจึงค่อยขยาย มิใช่สั่งทำพร้อมกันทั่วประเทศ ดูดี แต่ลงทุนสูงได้ผลน้อย ในที่สุดทุกคนก็จะหมดแรง เพราะมีแต่คนสั่งคนทำมีอยู่ไม่กี่คน


ข้อที่ 4 ทำตามลำดับขั้น
เริ่มทำจากความจำเป็นก่อน สิ่งที่ขาดคือสิ่งที่จำเป็น เช่น ประชาชนต้องแก้ปัญหาเรื่องสุขภาพก่อน จากนั้นก็ไปแก้ที่สาธารณูปโภค แล้วต่อด้วยการประกอบอาชีพ ถ้าทำเป็นขั้นเป็นตอน ก็จะทำให้สำเร็จได้ง่าย เช่น งานยาเสพติดรักษา --> ส่งเสริม --> ฟื้นฟู -->กลับอยู่ในสังคมปกติ เป็นคนดีของชาติ
ข้อที่ 5 ภูมิสังคม ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์
การทำงานทุกอย่าง ต้องคำนึงถึงภูมิศาสตร์ว่า อยู่แถบไหน อากาศเป็นอย่างไร ติดชายแดน ติดทะเล และสังคมของเราเป็นอย่างไร นับถือศาสนาอะไร คนนิสัยใจคอเป็นอย่างไร รวมไปถึงพวกเรากันเองด้วย ถ้าไม่รู้เขารู้เราจะรบชนะได้อย่างไร สั่งทำโครงการทั่วประเทศไม่ได้ ต้องดูเฉพาะพื้นที่ กระทรวงสาธารณสุขออกแบบสถานีอนามัยเหมือนกันทั่วประเทศ บางครั้งก็ไม่ดีนัก
ข้อที่ 6 ทำงานแบบองค์รวม
โดยคิดความเชื่อมโยง ทรงมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและมีแนวโน้มทางแก้ไขอย่างเชื่อมโยง
องค์รวม <-------------> ครบวงจร เชื่อมโยง “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” เป็นคำพูดที่ฟังแล้วโอเวอร์ไปหน่อย แต่ก็จริง ทุกสิ่งล้วนเกี่ยวพันกัน แยกออกจากกันโดยเด็ดขาดมิได้
ข้อที่ 7 ไม่ติดตำรา
ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด บางครั้งเรายึดทฤษฎีจนเกินไปทำอะไรไม่ได้เลย สิ่งที่เราทำ
บางครั้งต้องโอบอ้อมต่อสภาพธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สังคม จิตวิทยาด้วย
ข้อที่ 8 ประหยัด
เรื่องง่ายได้ประโยชน์สูงสุด ทำได้เอง หาได้เองในท้องถิ่น ใช้เทคโนโลยีเรียบง่าย เช่น ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ปล่อยให้ขึ้นเอง บางครั้งมีพิธีกรรมใหญ่โตผู้ยิ่งใหญ่ทำพิธีปลูกป่า โดยนำรถไถไปไถที่ให้เรียบเพื่อปลูกป่า โดยทำลายต้นไม้ไปมากมาย น่าตลก เรื่องเช่นนี้ยังมีในสังคมไทยมากมาย กรอบแนวคิด Input ----> Process ----> Output ประหยัด เรียบง่าย ประโยชน์สูงสุด
ข้อที่ 9 ทำให้ง่าย
ทำอะไรให้ง่ายๆ ทำให้ชีวิตง่าย โปรดรับสั่งทำสิ่งยากๆ ให้กลายเป็นสิ่งที่ง่ายๆ นักข่าวชาวฝรั่งเศสถามพระองค์ว่า พระองค์ทรงงานแบบใด ท่านตรัสตอบเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า
“ซิมปลีฟีเย่” ซึ่งภาษาอังกฤษแปลว่า ซิมพลีฟาย(simplify) ภาษาไทยแปลว่า ทำให้ง่าย คนส่วนใหญ่ชวนทำสิ่งง่ายๆ ให้เป็นสิ่งยากๆ ผมบอกเจ้าหน้าที่งานยาเสพติดว่า ถ้าใครโทรศัพท์มาของความช่วยเหลือ ให้ถามเขาคำแรกว่า “คุณจะให้ผมไปหาคุณหรือคุณจะมาหาผมเดี๋ยวนี้”
ข้อที่ 10 การมีส่วนร่วม
เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น หัดทำใจให้หนักแน่น รับฟังความคิดเห็นการรับฟังคือ การเก็บความคิด เราจะประมวลความคิดเพื่อมาใช้ประโยชน์

ข้อ 11 ต้องยึดประโยชน์ส่วนรวม
จากพระราชดำรัส ใครต่อใครชอบบอกให้นึกถึงประโยชน์ส่วนรวม ให้ส่วนรวมคือการช่วยตัวเองด้วย เพราะเมื่อส่วนรวมได้ประโยชน์ เราเองก็ได้ประโยชน์ การช่วยกันแก้ปัญหายาเสพติด ส่วนรวมได้ประโยชน์ ลูกหลานเราก็ปลอดภัยจากยาเสพติดด้วยประเทศชาติ อยู่ไม่ได้ อย่าหวังเลยว่าเราจะอยู่ได้
ข้อที่ 12 บริการที่จุดเดียว
วันนี้เราพูด วันสต๊อปเซอร์วิส แต่ในหลวงตรัสไว้เกิน20ปีมาแล้ว ศูนย์ศึกษาพัฒนา 6แห่ง
ทั่วประเทศให้บริการจุดเดียวมากกว่า 20 ปี ใครทันสมัยกันแน่
ข้อที่ 13 ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ
มองธรรมชาติให้ออก กักน้ำตามลำธารช่วยให้ป่าสมบูรณ์ช่วยให้ชาวเขามีอาชีพ
เราก็จะลดปัญหายาเสพติดลงไปการช่วยดูแลผู้ติดยา เขาจะไม่กลับไปเสพซ้ำและสามารถกลับมาช่วยเราอีกแรง ทำให้ได้แนวร่วมเพิ่มขึ้นอยู่แบบสมดุล ซึ่งการจะมองปัญหาออกต้องมีใจว่าง ไม่ลำเอียงต้องมีจิตอันพิสุทธิ์
ข้อที่ 14 ใช้อธรรมปราบอธรรม
เอาผักตบชวาที่เป็นปัญหาของเราในประเทศ มากำจัดน้ำเสียเอาปัญหามาช่วยขจัดปัญหา เอาปัญหายาเสพติด มาช่วยพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของคนไทยกันดีกว่าแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองควรจะเฟื่องฟูได้แล้ว
ข้อที่ 15 ปลูกป่าในใจคน
ต้องปลูกป่าที่จิตสำนึกก่อน ต้องให้เห็นคุณค่าก่อนที่จะลงมือทำการดูแลปัญหายาเสพติด ถ้าคนทำหน้าที่นี้ยังทำเพราะเป็นหน้าที่ งานสำเร็จได้ยาก แต่ถ้าทำด้วยความดีใจที่ได้ช่วยลูกเขาให้กลับคืนสู่อ้อมอกพ่อแม่ได้เพียงหนึ่งคน ซึ่งคุ้มค่ากว่าได้เงินทองเป็นล้าน แสดงว่าพลังต่อสู้กับยาเสพติดได้เกิดขึ้นในใจของท่านแล้ว จงปลุกสิงโตทองคำในหัวใจให้ตื่นขึ้นมาให้ได้ก่อน
ข้อที่ 16 ขาดทุนคือกำไร
อย่ามองที่กำไรขาดทุนที่เป็นตัวเงินมากจนเกินไป บางครั้งเราได้กำไรจากการขาดทุน ลงทุนมหาศาล ได้ธรรมชาติกลับคืนมา ลงทุนมหาศาลลูกคืนมา ลงทุนมหาศาล ได้คนดีๆ กลับมา ลงทุนมหาศาล ได้ความรู้ไว้คอยช่วยเหลือ
ข้อที่ 17 การพึ่งตนเอง
ในหลวงทรงสอนให้พวกเราพึ่งตนเอง เพราสังคมบริโภคจะเป็นทาสของผู้ผลิต การพึ่งตนเองได้ทำให้ไม่ต้องเป็นทาสใคร เมื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแล้วพยายามพึ่งตนเองให้ได้
ข้อที่ 18 พออยู่พอกิน
พออยู่พอกินก่อน แล้วค่อยพัฒนาเราขอให้บำบัดให้ได้ก่อน==> ประคับประคอง==>
เป็นที่ปรึกษา==>เป็นผู้ช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป
ข้อที่ 19 เศรษฐกิจพอเพียง
เป็นแนวทางการต่อสู้ รับมือความเปลี่ยนแปลงของโลก การจัดการกับปัญหายาเสพติด ต้องคำนึงถึงเรื่องความพอดีให้ดีโดยอาศัยหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ข้อที่ 20 ความซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกัน
คนที่มีความรู้มาก แต่โกง สู้คนที่ไม่เก่ง แต่ดีไม่ได้ วีรบุรุษ วีรสตรี คือคุณธรรม ที่ทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น พวกเราที่ทำงานยาเสพติด คือ วีรบุรุษ วีรสตรีผู้หนึ่ง
ข้อที่ 21 ทำงานอย่างมีความสุข
“ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้ ฉันมีแต่ความสุขที่ร่วมกันในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่นเท่านั้น”ทำอะไรต้องมีความสุขด้วย เพราะศึกครั้งนี้ยาวนาน ถ้าเราทำอย่างไม่มีความสุข จะแพ้แต่ถ้าเรามี ความสุข เราจะชนะ เพียงแต่คนทำงานเกี่ยวข้องกับยาเสพติดมีความสุข สนุกกับการทำงานเพียงเท่านั้น ถือว่าเราชนะแล้ว
ข้อที่ 22 ความเพียร
กว่า 60 ปีที่ทรงงาน ในหลวงไม่เคยทรงท้อถอย ไม่มีการลาพักร้อนหยุดงานสัก
เวลาเดียว
ข้อที่ 23 รู้ รัก สามัคคี
คิดเพื่องาน
รู้ = ต้องรู้ปัจจัย รู้ปัญหา รู้ทางออก ของปัญหา
รัก = เมื่อรู้แล้ว ต้องเกิดความอยากในทางที่ดีก่อนคือฉันทะเห็นว่า เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ภูมิใจ อยากทำ
สามัคคี = ลงมือปฏิบัติ ต้องร่วมมือเพื่อเกิดพลังแยกกันไร้ค่ารวมกันไร้เทียม
คิดเพื่อตัวเราเอง
รู้ = รู้จักทุกคนทั้งหน้าที่การงาน ชีวิตครอบครัวทำอย่างไร จึงจะรู้จักให้ดีได้ รู้จุดอ่อน จุดแข็งโดยเฉพาะผู้บังคับบัญชา
รัก = เน้นความดี ใส่ใจกันและกันมองกันในแง่ดี
สามัคคี = จึงจะเกิด
ศาสตร์พระราชา
ศาสตร์พระราชา หมายถึงวิชาความรู้ของพระมหากษัตริย์ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่านด้านการเกษตร จึงขอขยายความเป็น ๔ ศาสตร์ดังนี้.-
ศาสตร์ที่ 1 เรื่อง ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ดังนี้.-
1.ไม้พอกิน หมายถึง ปลูกพืชเกษตรเพื่อการกินและสมุนไพร
2.ไม้พอใช้สอย หมายถึง ปลูกไม้ไว้ใช้สอยโดยตรงและพลังงาน เช่น ฟืน และไม้ไผ่
3. ไม้พออยู่(ไม้เศรษฐกิจ) หมายถึง ไม้เศรษฐกิจปลูกไว้ทำที่อยู่อาศัยและจำหน่าย

ประโยชน์ 4 อย่าง
1.ไม้พอกิน นำมาเป็นอาหารและยารักษาโรค
2. ไม้ใช้สอย นำมาทำเป็นหัตถกรรม
3. ไม้พออยู่(ไม้เศรษฐกิจ) นำมาสร้างบ้างและจำหน่าย
4. ช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ
ประยุกต์เป็นไม้ 7 ระดับ สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างสมดุลดังนี้.-
1.ไม้ชั้นบน หรือพืชยืนต้น เช่น สักทอง ตะเคียน ยางนา ประดู่ป่า พยุง เป็นต้น
2. ไม้ชั้นกลาง หรือพืชยืนต้น เช่น มะพร้าว ตะแบก เทพทาโร ยมหอม เป็นต้น
3. ไม้ชั้นล่าง หรือพืชยืนต้น เช่น มะนาว มะกรูด ไผ่ (ผลไม้ทุกชนิด)
4. ไม้หน้าดิน หรือพืชหน้าดิน เช่น พืชผักสวนครัว สมุนไพร ไม้ขุดและไม้ล้อม
5. ไม้หัว หรือพืชหน้าดิน เช่น มันฝรั่ง ขมิ้นชัน ขิง ข่า เป็นต้น
6. ไม้เถา หรือพืชเกาะเกี่ยว เช่น ตำลึง กล้วยไม้ อัญชัน เป็นต้น
7. ไม้น้ำ หรือพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักตบชวา ผักกระเชด สายบัว เป็นต้น
ศาสตร์ที่ 2 การเกษตรทฤษฎีใหม่
จากเศรษฐกิจพอเพียงความพออยู่ พอกิน พอใช้ นำไปสู่การพัฒนาขั้นก้าวหน้า ซึ่งสามารถต่อยอดมาสู่การกำหนดราชาพืชได้ และสามารถจัดการระบบตลาดได้ด้วยเกษตรเพียงคนเดียว เกษตรกรก็จะพ้นจากความยากจนเพราะจัดการอย่างสมดุลในแปลงโดยปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์พอดีกัน ทำให้กลไกทางการตลาดขับเคลื่อนจากหน่วยเล็กไปจนถึงระบบใหญ่ ทำให้ค่า GDP ภายในประเทศเป็นไปตามเป้าหมาย หมดปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน
ศาสตร์ที่ 3 ศาสตร์แก้มลิง หรือการเก็บกักน้ำ
สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วม และยังบริหารจัดการน้ำสำรองไว้ในฤดูแล้งได้อย่างถาวรในพื้นที่ของตนเอง และสามารถเกิดโครงการธนาคารน้ำและธนาคารดินในพื้นที่ได้ สำหรับพื้นที่ที่ไม่มีแม่น้ำลำคลอง ก็ทำแก้มลิงด้วยการขุดสระในพื้นที่เกษตรกรเก็บน้ำประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่
ศาสตร์ที่ 4 ศาสตร์แกล้งดิน
จากการแกล้งดินด้วยการใช้ปูนมาร์ล ปูนขาว หรือปูนใด ๆ เพื่อแก้ปัญหาดินเปลี้ยว ดินเค็ม
ก็ประยุกต์ใช้อินทรียวัตถุ (มูลสัตว์ ฟางข้าว เศษพืช) และจุลินทรีย์ เข้าไปแก้ปัญหาดิน น้ำ และการปลูกพืช
รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์อีกด้วย เมื่อสภาพดินมีความสมบูรณ์ก็จะเป็นแหล่งผลิตอาหารอันยิ่งใหญ่

---------------------------

ข้อมูลจาก ...สำนักงานคณะกรรมพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และ
ศูนย์การเรียนรู้เกษตรสมดุลและการพึ่งพาตนเอง “สวนธงไชย ไร่ทักสม” เรื่อง ศาสตร์
พระราชากับการเกษตรทฤษฎีใหม่สามารถแก้ไขความยากจนได้อย่างยั่งยืน

8 ตุลาคม 2556

เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความมั่นคง
ตอนที่ 1 ปฐมบทเศรษฐกิจพอเพียง
           “...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” (๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗)
จุดเริ่มต้นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

           ผลจากการใช้แนวทางการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สังคมไทยอย่างมากในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระบวนการของความเปลี่ยนแปลงมีความสลับซับซ้อนจนยากที่จะอธิบายในเชิงสาเหตุและผลลัพธ์ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดต่างเป็นปัจจัยเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน สำหรับผลของการพัฒนาในด้านบวกนั้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเจริญทางวัตถุ และสาธารณูปโภคต่างๆ        ระบบสื่อสารที่ทันสมัย หรือการขยายปริมาณและกระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงมากขึ้น แต่ผลด้านบวกเหล่านี้ส่วนใหญ่กระจายไปถึงคนในชนบท หรือผู้ด้อยโอกาสในสังคมน้อย แต่ว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้เกิดผลลบติดตามมาด้วย เช่น การขยายตัวของรัฐเข้าไปในชนบท ได้ส่งผลให้ชนบทเกิดความอ่อนแอในหลายด้าน ทั้งการต้องพึ่งพิงตลาดและพ่อค้าคนกลางในการสั่งสินค้าทุน ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และการรวมกลุ่มกันตามประเพณีเพื่อการจัดการทรัพยากรที่เคยมีอยู่แต่เดิมแตกสลายลง ภูมิความรู้ที่เคยใช้แก้ปัญหาและสั่งสมปรับเปลี่ยนกันมาถูกลืมเลือนและเริ่มสูญหายไป สิ่งสำคัญ ก็คือ ความพอเพียงในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ทำให้คนไทยสามารถพึ่งตนเอง และดำเนินชีวิตไปได้อย่างมีศักดิ์ศรีภายใต้อำนาจและความมีอิสระในการกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง ความสามารถในการควบคุมและจัดการเพื่อให้ตนเองได้รับการสนองตอบต่อความต้องการต่างๆ รวมทั้งความสามารถในการจัดการปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นศักยภาพพื้นฐานที่คนไทยและสังคมไทยเคยมีอยู่แต่เดิม ต้องถูกกระทบกระเทือน ซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจจากปัญหาฟองสบู่และปัญหาความอ่อนแอของชนบท รวมทั้งปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ล้วนแต่เป็นข้อพิสูจน์และยืนยันปรากฎการณ์นี้ได้เป็นอย่างดี

 พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง 

         “
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานมานานกว่า ๓๐ ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี สติ ปัญญา และความเพียร ซึ่งจะนำไปสู่ ความสุข ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง
          “...
คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” (๔ ธันวาคม ๒๕๑๗)
                พระบรมราโชวาทนี้ ทรงเห็นว่าแนวทางการพัฒนาที่เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลักแต่เพียงอย่างเดียวอาจจะเกิดปัญหาได้ จึงทรงเน้นการมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่ในเบื้องต้นก่อน เมื่อมีพื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควรแล้ว จึงสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น ซึ่งหมายถึง แทนที่จะเน้นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมนำการพัฒนาประเทศ ควรที่จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพื้นฐานก่อน นั่นคือ ทำให้ประชาชนในชนบทส่วนใหญ่พอมีพอกินก่อน เป็นแนวทางการพัฒนาที่เน้นการกระจายรายได้ เพื่อสร้างพื้นฐานและความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ก่อนเน้นการพัฒนาในระดับสูงขึ้นไป
          
ทรงเตือนเรื่องพออยู่พอกิน ตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ คือ เมื่อ ๓๐ กว่าปีที่แล้วแต่ทิศทางการพัฒนามิได้เปลี่ยนแปลง 
           “...
เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย...” (๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)
เศรษฐกิจพอเพียง 
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
                  
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้ 
๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
        โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ  ดังนี้
๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อมูลจาก...มูลนิธิชัยพัฒนา
จัดทำโดย   ฝ่ายเสริมสร้างชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนกิจการพัฒนา สมท.กอ.รมน.   โทร.02-2448583

พ.ท.บรรเทิง   แสงดอกไม้      โทร.089-0597623    facebook/บรรเทิง แสงดอกไม้

11 มิถุนายน 2556

ขอเชิญร่วมโครงการอุปสมบทหมู่เข้าพรรษา 100,000 รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไป 2556

“เกิดเป็นลูกผู้ชาย  ต้องบวชให้ได้อย่างน้อย 1 พรรษา”    “บวชให้แม่หน้าฝน   ดีกว่าบวชให้แม่
หน้าไฟ”  ...โครงการอุปสมบทหมู่ เข้าพรรษา 100,000 รูป  ทุกหมู่บ้านทั่วไทย 2556 (ทำพระนิพพานให้แจ้ง)
ณ    วัดศูนย์อบรมประจำอำเภอทั่วประเทศ  ตั้งแต่ 4 กรกฎาคม – 4 พฤศจิกายน 2556    สอบถามรายละเอียดได้ที่
 โทร.02-8311234

เชิญร่วมงานวันสถาปนากรมชลประทาน ปีที่ 111 ระหว่างวันที่ 12-14 มิถุนายน 2556

วันที่ 12-14 มิถุนายน 2556 เวลา 0930-1600  ณ  Hanger  Pavilion  กรมชลประทาน สามเสน กทม. จัดงานวันสถาปนากรมชลประทาน ปีที่ 111   มีกิจกรรมการเสวนาวิชาการ นิทรรศการ การบริหารจัดการน้ำในอนาคต   เกษตรแนวใหม่  “เปียกสลับแห้งแกล้งข้าว”   องค์กรแห่งนวัตกรรม  และกิจกรรมเรียนรู้กับยุวชลกร “การถ่ายโอนความรู้สู่ต้นกล้าแห่งอนาคต”   สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมชลประทาน  โทร.02-2436974

โครงการสัมมนาและพัฒนาสัมพันธ์สื่อมวลชน ประจำปี 2556

ระหว่างวันที่ 27-28 มิถุนายน 2556     กอ.รมน.โดย สำนักกิจการมวลชนและสารนิเทศ กอ.รมน.จัดสัมมนาและพัฒนาสัมพันธ์สื่อมวลชน   โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดการบูรณาการสื่อ ทั้งในด้านบุคคลากร และการใช้สื่อ      อันจะก่อให้เกิดการเกื้อกูลและสนับสนุนการดำเนินงานด้านความมั่นคง         ณ  โรงแรมเดอะรอยัลเจมส์กอล์ฟ รีสอร์ท    ถ.ศาลายา-บางเลน  ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล  จ.นครปฐม     สอบถามรายละเอียดได้ที่  โทร.02-2412013

ขอเชิญร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความมั่นคง

              ขอเชิญเกษตรกร ชุมชน กลุ่ม  ปราชญ์ชาวบ้าน วิทยากรอาสาสมัคร   เข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความมั่นคง      ด้วยการแจ้งชื่อ-นามสกุล  ที่อยู่   หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ   ลงทะเบียนกับชมรมเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   เพื่อประโยชน์ในการประสานงาน  ส่งเสริม   และสนับสนุนการปฏิบัติตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง   ให้มีวิทยากรอาสาสมัครและศูนย์การเรียนรู้ประจำพื้นที่ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน(1 ตำบล 1 ศูนย์)      เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ถ่ายทอดเทคโนโลยี  เป็นพื้นที่สาธิตและศึกษาดูงาน    ตลอดจนสร้างเสริมเครือข่ายความร่วมมือด้านต่าง ๆ   ต่อไป
              หากมีความประสงค์จะจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ  ประชุม สัมมนา เวทีประชาคม  การศึกษาดูงาน ให้คำปรึกษาด้านการเกษตร ประมง ปศุสัตว์ และสิ่งแวดล้อม    ตลอดจนผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม   มีผู้เชี่ยวชาญ และวิทยากรกระบวน    แจ้งความประสงค์และลงทะเบียนได้ที่ศูนย์ประสานงานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความมั่นคง โทร.02-2448583 หรือที่ พ.ท.บรรเทิง  แสงดอกไม้ 089-0597623


เชิญร่วมงาน "21 ปี ลำรึก พุ่มพวง ดวงจันทร์" ระหว่างวันที่ 12-14 มิถุนายน 2556

วันที่ 12-14 มิถุนายน 2556  มูลนิธิศิลปินเพื่อความมั่นคง กอ.รมน.ร่วมกับ คณะศิลปิน นำโดย
อาจารย์ ไพจิตร  ศุภวารี   จัดงาน  “21 ปี ลำรึก พุ่มพวง   ดวงจันทร์”    ณ   วัดวรจันทร์  ต.โพธิ์พระยา
จว.สุพรรณบุรี    มีศิลปินทั่วฟ้าเมืองไทยร่วมงานกว่าร้อยชีวิต
                สอบถามรายละเอียดที่ได้ที่  คุณจักรกฤช ฯ โทร.086-5196989   หรือคุณศิริมงคล ฯ 086-3126712

8 พฤษภาคม 2556

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความมั่นคง ..โดยชมรมเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพชีวิต


โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความมั่นคง
ชมรมเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อคุณภาพชีวิต
-----------------
1. หลักการและเหตุผล
              จากสภาวการณ์ในปัจจุบันของสังคมไทยและประชาคมโลก กำลังเผชิญกับวิกฤติมหันตภัยจากความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เกิดภาวะความเสี่ยงต่อโรคระบาดทั้งในคน สัตว์  และพืช     การขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง           ก่อให้เกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มนุษยชาติและประชาคมโลกต่างแสวงหาองค์ความรู้และภูมิปัญญาที่จะฝ่าวิกฤติดังกล่าว   ในการพัฒนาคน   ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง     ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้ทูลเกล้าถวายรางวัล “ความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์”แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และทรงยกย่องว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ผ่านการพิสูจน์ทฤษฎีอย่างเป็นรูปธรรมของความสำเร็จที่สามารถจะนำพาสังคมและนานาประเทศให้รอดพ้นจากวิกฤติการณ์ได้เป็นอย่างดี 
              แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) ยังคงน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันและมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม  เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างสมดุลย์และยั่งยืน
              การปฏิบัติตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง    เกษตรทฤษฎีใหม่   และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ   สามารถช่วยสร้างจิตสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ         มีความรักและหวงแหน
ผืนแผ่นดินถิ่นเกิด    ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต     สร้างความรู้รักความสามัคคี  ตลอดจนการเป็นพลเมืองที่ดีช่วยเหลือราชการและประชาชนในการพัฒนาประเทศ  เพื่อความมั่นคงอย่างถาวร
2. วัตถุประสงค์
      2.1 เพื่อเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์  ในพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
      2.2 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ความรู้รักสามัคคี และการปฏิบัติตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
      2.3 เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจ  สังคม และสิ่งแวดล้อม
3. เป้าหมาย 
      3.1 เชิงปริมาณ    มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ และร่วมกิจกรรมทั่วทุกภูมิภาค
      3.2 เชิงคุณภาพ    มีองค์กรเครือข่ายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีความรู้ความเข้าใจใน
หลักคิดทฤษฎี หลักปฏิบัติ และหลักคุณธรรม เกิดผู้นำการเปลี่ยนแปลง และสามารถนำความรู้ไปขับเคลื่อน
เชิงยุทธศาสตร์ในระดับนโยบายและการปฏิบัติ ให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง ทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมและสื่อ
4. การดำเนินงาน
     4.1 การจุดประกาย  ด้วยการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักคิดทฤษฎี หลักปฏิบัติ และหลักคุณธรรมตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการจุดประกายให้คนมีความเข้าใจที่ถูกต้อง และเกิดการตื่นตัว การจัดชุดเข้าพบปะพี่น้องประชาชนฝึกอบรม ทัศนศึกษา และกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
     4.2 การตอกเสาเข็ม  เน้นการสร้างต้นแบบ(Case study) ให้ประชาชนเห็นว่าหลักเศรษฐกิจพอเพียงทำได้และประสบผลสำเร็จได้จริง  ที่สำคัญสร้างความเข้าใจว่าเศรษฐกิจพอเพียง  มิได้จำกัดเฉพาะเกษตรกรหรือชาวไร่ชาวนาเพียงเท่านั้น  แต่เป็นเศรษฐกิจของทุกคน ทุกอาชีพ ทั้งที่อยู่ในเมืองและอยู่ในชนบท ทำการเผยแผ่ประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง
      4.3 การสร้างเครือข่าย ในลักษณะการระดมพลังจากทุกภาคส่วนสนับสนุนกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เครือข่ายภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน ภาคเอกชน    และภาคประชาสังคมและสื่อ     ด้วยการให้เครือข่ายภาควิชาการที่มีนักคิด  ผู้ทรงคุณวุฒิในมหาวิทยาลัย   สร้างกระบวนการเรียนรู้ นำเครือข่ายโรงเรียนเข้ามาร่วมและเครือข่ายสื่อมวลชนดำเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์    
     4.4 การขับเคลื่อนให้เกิดการนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม   เกิดผลผลิต  ผลสัมฤทธิ์   เป็นความกินดี  อยู่ดี
มีความสงบสุข เกิดความมั่นคงทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว หมู่บ้าน/ชุมชน จนถึงระดับประเทศ  
5. วัน-เวลา และสถานที่  
     5.1 ห้วงเดือน มกราคม – ธันวาคม 2555
     5.2 ในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล  ตลอดจนภูมิภาคต่าง ๆ
6. งบประมาณ
     6.1 หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ที่ให้การสนับสนุน
     6.2 องค์กรสนับสนุน หรือบริจาค      
7. ผู้รับผิดชอบโครงการ
     7.1 ชมรมเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อคุณภาพชีวิต
     7.2 มูลนิธิดินดี น้ำใส แห่งประเทศไทย
     7.3 มูลนิธิเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
8. หน่วยงานให้การสนับสนุน
     8.1 หน่วยงาน/องค์กรเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียง
     8.2 หน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและสื่อ
9.  การประเมินผล
      9.1 การสังเกต และสัมภาษณ์
      9.2 แบบสอบถามผู้เข้ารับการอบรม
      9.3 การติดตามผลการปฏิบัติงาน
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
      10.1 ผู้ร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในหลักคิดทฤษฎี หลักปฏิบัติ และหลักคุณธรรมตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
      10.2 ผู้ร่วมโครงการมีประสบการณ์และพร้อมที่จะนำไปขับเคลื่อนเชิงยุทธศาสตร์ในระดับนโยบายและการปฏิบัติ  ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
      10.3 มีเครือข่ายความร่วมมืออย่างบูรณาการทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมและสื่อ

ตรวจถูกต้อง
      พ.ท.
                ( บรรเทิง    แสงดอกไม้ )
ประธานชมรมเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
                     เพื่อคุณภาพชีวิต
 
 








                   ผนวก ก ปัจจัยความสำเร็จในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความมั่นคง
------

1.       ภาคีเครือข่าย/ผู้นำขับเคลื่อน ต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึงระบบเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้  แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องพึ่งตนเอง 100%   โดยไม่พึ่งเงิน   ไม่พึ่งการค้า ไม่สมาคมกับใคร
2.       ภาคธุรกิจเอกชน ควรมีส่วนผลักดันในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้มากขึ้น  ไม่มุ่งการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างผลกำไร  แต่ทำธุรกิจเพื่อสังคมควบคู่ไปด้วย  คนกับสังคม และองค์กรจะสามารถปรับเข้าหากันได้ และจะก่อให้เกิดความยั่งยืนมากกว่า
3.       ภาคอุตสาหกรรม เน้นการผลิตด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง และไม่ควรทำอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกินไป และชิ้นส่วนในการผลิตให้มีลักษณะพึ่งพา ลดการบริโภคนิยมให้น้อยลง
4.       ทุกภาคส่วนภาคีการพัฒนาสามารถร่วมกันผลักดันให้ประเทศก้าวสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือ การเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รับฟังแต่ละฝ่ายโดยปราศจากอคติ  นำเสนอตัวอย่าง มีการระดมสมอง และดึงประเด็นสำคัญๆ ขึ้นมาเป็นแนวทางพัฒนา
5.       ความสำเร็จของทุกภาคีการพัฒนาในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ควรจะต้องเกิดจากการ “ระเบิดออกมาจากภายใน” ของแต่ละภาคส่วน เพราะเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง  ความสำเร็จจะอยู่ที่ใจตนเป็นสำคัญ
6.       การปลูกฝังอุดมการณ์และการสร้างจิตสำนึกในการแสดงความจงรักภักดี  หวงแหน รักษาทนุบำรุงต่อสถาบันชาติ  ศาสนา พระมหากษัตริย์      ตลอดจนการรู้รักสามัคคี    การเป็นพลเมืองที่ดี   และมีจิตสำนึกด้านความมั่นคง



----------
  

ผนวก ข   กิจกรรมตามแผน/โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความมั่นคง
------

    1. โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง
    2. โครงการฝึกอบรมผู้นำขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
    3. โครงการสัมมนาวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงสัญจร
    4. โครงการเสริมสร้างชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
    5. โครงการเสริมสร้างสุขภาพ(สุขภาพดี วิถีไทย)
    6. โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    7. โครงการฝึกวิชาชีพ(อาชีพเสริม เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส)
    8. จัดงาน “มหกรรมเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อคุณภาพชีวิต” สืบสานวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
    9. จัดงาน “รวมใจภักดิ์ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เทิดไท้องค์ราชันย์”
  10. โครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ประวัติศาสตร์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น
  11. โครงการค่ายฝึกอบรมเยาวชนหัวใจเกษตรธรรมชาติ
  12. โครงการค่ายฝึกอบรมผู้นำขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
  13. โครงการปฏิบัติธรรมนำชีวิต
  14. โครงการบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์
  15. โครงการขยะเศรษฐกิจ/ธนาคารขยะ
  16. โครงการธนาคารจุลินทรีย์
  17. โครงการธนาคารต้นไม้
  18. โครงการธนาคารปุ๋ยชีวภาพ
  19. โครงการวิสาหกิจชุมชน
  20. โครงการฟื้นฟูนาข้าวหลังน้ำท่วม
  21. โครงการผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพด้วยเทคโนโลยีอีเอ็ม
  22. โครงการตลาดนัดราคาประหยัด เพื่อช่วยเหลือชุมชนและประชาชน
  23. จัดงานส่งเสริมวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง



ฯลฯ

ศูนย์ประสานงานเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความมั่นคง
FB/บรรเทิง    แสงดอกไม้
www.ชมรมเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพชีวิต
www.1374.org
e-mail : tongsang_23@hotmail.com
เบอร์โทรศัพท์/โทรสาร 02-2448583 และ 02-2414147
มือถือ 089-0597623
วิทยุ AM630 เวลา 1000-1100 ทุกวันจันทร์-ศุกร์
วิทยุเครือข่าย ทบ. รายการกองทัพบกเพื่อประชาชน ทุกวัน เวลา 0730-0800

8 มีนาคม 2556

จุดประกาย....ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความมั่นคง



















โรงเรียนผู้นำชาวนาและเกษตรอินทรีย์...ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง


           โรงเรียนผู้นำชาวนาและเกษตรอินทรีย์
        นับแต่.....ประเทศไทยใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 วิถีเกษตรกรไทยเปลี่ยนเข้าสู่ระบบเกษตรกรรม ปฏิวัติเขียว มีการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เป็นเกษตรแบบเคมีแทน แบบเกษตรยังชีพ ปัจจัยการผลิตนำเข้าจากภายนอก ทั้งพันธ์พืช พันธุ์สัตว์ ปุ๋ย และสารเคมีต่างๆ ที่ใช้เพื่อการเกษตร ไม่เว้นแม้แต่เครื่องจักรทางการเกษตร 40 ปี ผ่านไป วิถีเกษตรและชาวนาไทยต้องเผชิญหน้ากับความ ไม่รู้ เป็นผลจากการไม่เคารพธรรมชาติ บั้นปลายชีวิตทุกข์ทรมานด้วย   โรคร้ายเกิดจากพิษสารเคมีรุมเร้า
*  แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (ปี39-44) กำหนดให้ 20 % ของพื้นที่เกษตรกรรม หรือ 25 ล้านไร่ ต้องทำ           ระบบเกษตรกรรมแบบยั่งยืน 4 รูปแบบ คือ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร เกษตรอินทรีย์ และเกษตรธรรมชาติ แต่ไม่อาจต้านแนวทางปฏิวัติเขียวได้ เกษตรกรไทยยังบริโภคสารเคมี ตัวเลขผู้ป่วยจากสารเคมีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาคกลาง
*  มูลนิธิข้าวขวัญ ซึ่งทำงานด้านการพัฒนาเทคโนโลยี สำหรับเกษตรกรรมยั่งยืน และพัฒนาปรับปรุง อนุรักษ์พันธ์ข้าว เปิดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำนาข้าวแบบเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อชักชวนชาวนาร่วมกันแสวงหาทางออก เพื่อลดต้นทุนการผลิต และการพึ่งตนเอง รวมทั้งเพื่อสุขภาพที่ดีของชาวนา ก่อตั้งเป็น รร.ชาวนา
*  เป็นการจัดการความรู้ของชาวนา นำกระบวนการ และให้ชาวนาเป็นผู้ลงมือปฏิบัติจริง,เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้จริงๆ โดย รร.ชาวนา จะเป็นศูนย์กลาง เอาความรู้ไปเสริมชาวบ้าน            บนพื้นฐานความรู้ภูมิปัญญา ทำงานและทบทวนร่วมกัน เกิดความรู้ใหม่ๆ มาจากปฏิบัติจริง
     หลักสูตร นักเรียนชาวนาต้องเรียนรู้ แบ่งเป็น  3  หลักสูตร ได้แก่
1)     การจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธี
2)     การปรับปรุงดิน
3)     การพัฒนาพันธ์ข้าว ที่เหมาะสมกับเกษตรยั่งยืน
     หลักสูตรที่ 1 การจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธี
§  ร่วมกันเรียนรู้ระบบนิเวศในแปลงนา
§  เรียนรู้วงจรชีวิตของแมลง,เรียนรู้แมลงดี แมงร้าย และสัตว์อื่นๆ
§  เรียนรู้ สมุนไพรพื้นบ้าน ป้องกันแมลง
§  กระบวนการเรียนรู้จริง ตามพื้นที่การทำนา ตรวจสอบว่าเป็นแมลงดี (ป้องกันศัตรูพืช) หรือแมลงร้าย(กินต้นข้าว)
ความรู้ที่ได้
1)     ในแปลงนา มีแมลงที่เป็นมิตรกับชาวนา มากกว่าแมลงร้าย
2)     การฉีดพ่นสารเคมี ที่ให้แมลงที่เป็นมิตรกับชาวนาหายไป
3)     การปล่อยให้แมลงควบคุมกันเอง เป็นการลดต้นทุน
4)     หากไม่สามารถ ควบคุมแมลงได้ ให้ใช้สมุนไพรไล่แมลง
5)     สูตรสมุนไพรต่างๆ ที่ใช้ไล่แมลง
     หลักสูตรที่ 2 การปรับปรุงบำรุงดิน โดยไม่ใช้สารเคมี
§  เรียนรู้ กลไกหมักฟาง การใช้จุลินทรีย์ ย่อยสลายฟางข้าวในนา
§  เรียนรู้ จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ ทดลอง คิดค้นสูตรน้ำหมักต่างๆ เพื่อคืนชีวิตให้แก่ดิน
§  สร้างจิตสำนึกที่ดีในการพัฒนาดิน โดยชีววิธี เช่น ฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณี และความเชื่อให้กลับมา  โดยนำสัญลักษณ์ของพระแม่ธรณี แทนความมีชีวิตของดิน หากดินแข็ง ไม่มีธาตุอาหาร เท่ากับว่า เลี้ยงแม่ธรณีไม่ดี ปล่อยให้แม่ธรณีอดอยาก แม่ธรณีตาย ทำให้ไม่มีใครคุ้มครอง ช่วยเหลือแม่โพสพ ให้งอกงาม
กระบวนการเรียนรู้จริง
·       ใช้สายตาวิเคราะห์ดิน นำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ให้ชาวบ้านทดสอบ ความเป็นกรด เป็นด่างของดิน แต่ละแปลงของสมาชิก รวมทั้งสารเคมีที่ตกค้างปรากฏว่า ดินในพื้นที่เดียวกัน ก็มีลักษณะ ที่ต่างกัน
·       นำเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงดิน โดยเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ
·       ขั้นตอนนี้ นักเรียนชาวนา จะได้เรียนรู้จากแหล่งความรู้ภายนอก ทำให้เกิดความมั่นใจ และเกิดความภาคภูมิใจ ในฐานะ นักวิทยาศาสตร์ในแปลงนา
·       ร่วมฟื้นฟูวัฒนธรรม ประเพณีในการทำนา ตามขั้นตอนกระบวนการทำนา
o  พิธีรับขวัญข้าว, การลงแขกเกี่ยวข้าว, การบวงสรวงพระแม่โพสพ
o  พิธีนำข้างขึ้นยุ้ง, พิธีไหว้แม่ธรณี
กิจกรรม นี้ ทำให้เกิดความรักความสามัคคี ในกลุ่มนักเรียนชาวนา และชาวบ้านใกล้เคียง
§  การกำจัดวัชพืชในแปลงนา การทำนาที่ไม่ใช้สารกำจัดวัชพืช มีอยู่วิธีเดียวคือการทำนาดำ
        หลักสูตรที่ 3 การพัฒนาพันธ์ข้าวที่เหมาะสมกับเกษตรยั่งยืน
·       ชาวนาจะร่วมกันระดมความคิดเห็น เรื่องการพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีอยู่เดิม ให้ดีขึ้น โดยระดมความรู้ เรื่อง พันธุ์ข้าวของไทยที่ต้องการอนุรักษ์
·       ระดมความคิดเห็น ลักษณะพันธุ์ข้าวที่ดี, ข้าวที่ชาวนาต้องการบริโภค เพื่อลดต้นทุนการซื้อเมล็ดพันธุ์จากพ่อค้า และขยายพันธุ์,พัฒนาพันธุ์ข้าวได้ตามเหมาะสมกับพื้นที่ ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค
                 กระบวนการที่เกิดขึ้นจริง
o  เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ในเรื่อง การคัดและผสมพันธุ์ข้าว โดยถอนต้นข้าวจริง มาเพื่อ   การเรียนรู้
o  ลักษณะทางกายภาพ ของต้นข้าว ตั้งแต่รากถึงรวงข้าว
o  เรียนรู้ลักษณะ เมล็ดพันธุ์ที่ดี ที่สมบูรณ์


โรงเรียนผู้นำชาวนาและเกษตรอินทรีย์
ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กองทุนแม่ของแผ่นดิน สู้วิกฤตเศรษฐกิจ
*   รร.ผู้นำชาวนาฯ บ้านหัวควน ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
*   รร.ผู้นำชาวนาฯ บ้านน้ำดำ ต.ปุโละปุโย อ.หนองจิก จ.ปัตตานี
วัตถุประสงค์
1)      เพื่อตอบสนองยุทศาสตร์ การแก้ปัญหาความยากจน โดยการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ จาการทำเกษตรตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2)      เพื่อส่งเสริมพัฒนาอาชีพ
3)      เพื่อให้สมาชิก นำความรู้จากการอบรม นำไปขยายผลประกอบกิจกรรม ในพื้นที่ทำกินของตนเอง
4)      เป็นศูนย์เรียนรู้ กองทุนแม่ของแผ่นดิน
วิธีดำเนินการ
1)      รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ จากสมาชิกกองทุนแม่ของแผ่นดิน
2)      คัดเลือกปราชญ์ชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อร่วมเป็นวิทยากรในการดำเนินกิจกรรม
3)      อบรมสมาชิก เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติ
4)      ฝึกปฏิบัติในเขตที่ดินของตนเอง โดยมีวิทยากร และเจ้าหน้าที่ แนะนำ ติดตามอย่างใกล้ชิด
5)      สนับสนุนการจัดตั้งเครือข่าย ชมรมเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อประสานงาน กับกลุ่มองค์กรอาชีพ เป็นการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และทรัพยากร
6)      จัดทำฐานข้อมูล ทั้งด้านองค์ความรู้ ปราชญ์ชาวบ้าน และกิจกรรม ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลการเรียนรู้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
§  สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการมีอาชีพ ทำงานในท้องที่ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และนำความรู้ที่ได้ ไปขยายผล   ในพื้นที่ทำกินของตนเอง อย่างยั่งยืน
§  ลดรายจ่ายในครอบครัว มีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดปัญหาด้านสังคม
§  สามารถสร้างเครือข่าย และถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่นได้
§  สมาชิกสามารถนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปปฏิบัติในพื้นที่ตนเองได้ 100 %

     ชาวนารุ่นใหม่อนาคตของสังคมไทย
o   ชาวนาวันนี้ไม่ได้ไถนาด้วยควาย ใช้รถไถที่นั่งสบาย,เครื่องพ่นเมล็ดข้าว,มีเครื่องสูบน้ำ
o   รอ 3 – 4 เดือน ให้ข้าวโต แล้วก็เกี่ยว ไม่ต้องใช้เคียว แต่ใช้รถเกี่ยว 100  ไร่ ไม่กี่วันก็เสร็จ ได้ข้าวสัก  50  ตัน เป็นอย่างน้อย นี่หมายถึงแบบธรรมดา ถ้าตั้งใจจริงๆ ดูแลดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ สองสามปีอาจได้ 100 ตัน
o   คุณ ชัยพล  ยิ้มไทร หนุ่มชาวนาปริญญาตรี ทำนาแถวนนทบุรี ร้อยกว่าไร่ ได้ครั้งละ 50 ตัน ปีหนึ่ง ทำสองหน   มีรายได้ประมาณ 2 ล้านบาท หักค่าใช้จ่ายแล้ว น่าจะเกินล้านบาท จึงได้ชื่อว่า ชาวนาเงินล้าน ทำนาคนเดียว ไม่แปลก เพราะมีเครื่องทุนแรง
                                    ได้รับแรงบันดาลใจจากข้อเขียน คุณเดชา   ศิริภัทร เลขาธิการมูลนิธิข้าวขวัญ