หน้าเว็บ

บทความที่ได้รับความนิยม

17 พฤศจิกายน 2554

ข่าวประชาสัมพันธ์18พ.ย.54

แถลงข่าวการใช้EM Ball บำบัดน้ำเสีย


หลักปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

        "เรื่องหนึ่งที่ควรกล่าวถึงไว้ด้วย  คือ  ปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำซึ่งมีความหมายคลาดเคลื่อน  เลื่อนลอย  แปลกไปตามกาลสมัย  ตัวอย่างสำคัญคือ  คำว่า  "ปฏิบัติธรรม"  ซึ่งมีความหมายที่แท้ควรได้แก่ การนำเอาธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิต  หรือการดำเนินชีวิตตามธรรม    แต่ปัจจุบันมักเข้าใจคำนี้ในความหมายว่า  เป็นการอบรมทางจิตปัญญาขั้นหนึ่งระดับหนึ่งโดยเฉพาะ  ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปแบบ และทำไปตามแบบแผนที่กำหนดวางไว้ ...."(จาก พุทธธรรม หน้า ๙๓๒ โดยท่านพระธรรมปิฎก) 
         ดังนั้นการปฏิบัติธรรม จึงควรมีความหมายถึงการปฏิบัติธรรมแม้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่นเมื่อเกิดเวทนา(ความรู้สึกรับรู้) หรือเห็นจิตเช่นจิตสังขาร(คิด)หรือเจตสิกคืออาการของจิตเช่นโทสะขึ้นแล้ว  มีสติรู้เท่าทันสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ของเวทนาหรือจิตสังขารที่เกิดขึ้นนั้น และมันเป็นเช่นนั้นเองเป็นธรรมดาไม่ต้องไปทําอะไรกับเขา เมื่อกำหนดรู้คือการมีสติเห็นเมื่อเกิดขึ้นบ้าง  หรือการมีสติเห็นเมื่อกำลังแปรปรวนเสื่อมไปบ้าง  หรือการมีสติเห็นเมื่อขณะดับไปบ้าง อย่างใดอย่างหนึ่ง  แล้วละเสีย ไม่จดจ้องพิรี้พิไร ให้มีแต่สติเป็นกลางวางเฉย(อุเบกขา)ไม่เอนเอียง ไม่แทรกแซง โดยการไปคิดนึกปรุงแต่งที่จะเกิดสืบต่อไปอีกเท่านั้น,  เห็นธรรมใด(เวทนา จิต หรือกาย หรือธรรม)ก่อน ก็ปฏิบัติธรรมนั้น   เพราะสังขารบางอย่างก็เห็นเวทนา(ความรู้สึกรับรู้ที่เกิดขึ้นจากการกระทบผัสสะ)ได้ง่าย บางอย่างก็เห็นจิตสังขาร(คิด)ได้ง่าย  นอกจากธรรมทั้ง๒แล้วก็สามารถเห็นกายโดยการรำลึกหรือเมื่อประสบพบอะไรบางอย่างในขณะดำเนินชีวิต (กายานุปัสสนา-เห็นกายเช่นความไม่เที่ยงต่างๆของกายบ้าง,เป็นสิ่งปฏิกูลบ้าง,หรือการที่เห็นอิริยาบถของกายอย่างมีสติอันมีคุณประโยชน์ในแง่ทั้งฝึกสติและจิตไม่ส่งนอกออกไปคิดปรุง)  หรือเห็นธรรม(ธรรมานุปัสสนา)อันอาจผุดขึ้นมาหรือพิจารณาธรรมที่สงสัยอันก่อให้เกิดภูมิรู้อันอาจบังเกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวัน  ดังนั้นในการปฏิบัติในชีวิตประจำวันแล้วจึงไม่จำเป็นต้องเห็นเฉพาะเจาะจงแต่อย่างเดียวหรือทุกๆธรรม  เห็นธรรมใดก่อน(กาย เวทนา จิต ธรรม) ก็ปฏิบัติธรรมนั้น  เพราะล้วนแล้วแต่เป็นคุณในการปฏิบัติเพื่อการดับไปแห่งทุกข์ทั้งสิ้น  เป็นการฝึกสติให้เป็นมหาสติ อันเป็นไปตามหลักสติปัฏฐาน๔ หรือแนวทางปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง  ดังเช่น
        สติเห็นกาย(กายานุปัสสนา) เพื่อให้เกิดนิพพิทาต่อกาย เพื่อคลายความยึดความอยากในกายสังขารต่างๆ โดยเฉพาะกายแห่งตนอันเป็นที่หวงแหนยิ่งโดยไม่รู้ตัว  หรือการสติตามดูรู้อริยาบถการเคลื่อนไหวของกาย เพื่อเป็นเครื่องอยู่ของจิต จิตจะได้ไม่ส่งออกไปคิดนึกปรุงแต่งให้เกิดทุกข์ แต่ต้องอย่างมีสติ ไม่ใช่ปล่อยให้เลื่อนไหลสู่ภวังค์หรือองค์ฌาน,สมาธิ
            สังเกตุให้เห็นความแตกต่างของความรู้สึก(เวทนา)ที่เกิดขึ้นระหว่างจิตที่มีสติอยู่กับการพิจารณากายหรืออริยาบถ กับความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อจิตคิดปรุงแต่ง
        สติเห็นเวทนา(เวทนานุปัสสนา) ทำให้เห็นแยกแยะและเข้าใจในธรรมชาติของเวทนาว่าเกิดการกระทบผัสสะ มันก็เป็นเช่นนี้เอง แล้วก็ต้องดับไป อันทำให้ไม่ยึดไม่อยาก เกิดนิพพิทาในเวทนา อันมีเกิดขึ้นทุกขณะเป็นธรรมดาของชีวิต แล้วอุเบกขา
            สังเกตุให้เห็นความแตกต่างระหว่างเวทนาที่เกิดขึ้นจากจิตที่ไม่ปรุงแต่ง กับเวทนาที่เกิดขึ้นเมื่อจิตคิดปรุงแต่ง ก็จะเกิดความเข้าใจในที่สุด
        สติเห็นจิต(จิตตานุปัสสนา) สติเห็นความคิด  เมื่อเห็นก็จะรู้เข้าใจว่า การคิดนึกเป็นขันธ์๕ มีอาการ(สังขารขันธ์)ต่างๆออกมาบ้าง(เห็นการเกิด) แต่ไม่ปรุงแต่งต่อ(อุเบกขา) เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนาอันเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ในที่สุด  เมื่อหยุดการปรุงแต่ง(อุเบกขา) อาการหรือสังขารขันธ์นั้นก็จะดับไปให้เห็นได้ด้วยตนเอง(ปัจจัตตัง) 
            และสังเกตุให้เห็นความรู้สึกที่แตกต่างกันระหว่างจิตที่ไม่ปรุงแต่งกับขณะจิตที่คิดปรุงแต่ง ก็จะเกิดความเข้าใจในที่สุด จนคลายความยึด
        สติเห็นธรรม(ธรรมานุปัสสนา) สติเห็นความคิดในธรรม อันความคิดเยี่ยงนี้เป็นคุณอย่างยิ่งยวด จึงมิจำเป็นต้องอุเบกขา  ขณะที่ขบคิดปัญหา หรือแวบในข้อธรรมบางประการขึ้นมา หรือหาเหตุหาผลในข้อธรรมต่างที่ผุดขึ้น(ธรรมวิจยะ)ในชีวิตประจำวันด้วยตนเองนั้นก็เป็นธรรมานุปัสสนาอย่างถูกต้องดีงาม  ธรรมต่างๆที่กล่าวในสติปัฏฐานนั้นเป็นเพียงตัวอย่างหรือหัวข้อแนะให้พิจารณา  ดังนั้นการพิจารณาปฏิจจสมุปบาทอันเป็นมงกุฎแห่งธรรม,หรือธรรมะอันถูกต้องดีงามทั้งหลาย ขณะที่เกิดหรือสังเกตุเห็นขึ้นในชีวิตประจำวัน หรือขณะว่างๆตอนใดก็ได้ ล้วนเป็นการปฏิบัติธรรมานุปัสสนาอันถูกต้องดีงาม  ไม่ต้องปฏิบัติตามรูปแบบหรือขณะปฏิบัติสมาธิแต่อย่างใด
            สังเกตุให้เห็นความรู้สึกที่แตกต่างกันระหว่างจิตที่มีสติอยู่กับการพิจารณาธรรมอันถูกต้อง กับความรู้สึกจิตที่เกิดขึ้นเมื่อจิตคิดปรุงแต่ง
จงฝึกสติให้เห็นและเข้าใจเวทนาและจิตจนชํ่าชอง
เหมือนดัง
ตาที่ได้ฝึกเสียจนชํ่าชอง เมื่อกระทบเห็นอักษรเหล่านี้แล้วเข้าใจในขณะจิตนั่นเอง
        ดังนั้นหลักการปฏิบัติในชีวิตประจําวันก็คือการปฏิบัติตามความเข้าใจในหลักธรรมปฏิจจสมุปบาทในชีวิตประจําวัน หรือก็คือการปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน๔ หรือ อริยสัจ นั่นเองแต่ด้วยความรู้ความเข้าใจตามสภาวะธรรม เพราะแท้จริงก็คือแก่นหรือแกนแห่งธรรมเดียวกันนั่นเอง
        ถึงตอนนี้เราทราบวงจรปฏิจจสมุปบาท, ขันธ์๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ พอสมควรแล้ว จึงขอแสดงผังขบวนการทํางานของขันธ์ ๕ แบบต่างๆอีกครั้งดังที่กล่าวไว้ในเรื่องขันธ์ ๕ แต่เป็นแบบย่อรายละเอียดลง เพื่อให้พิจารณาเห็นขันธ์แบบต่างๆและการที่ตัณหาเข้ากระทําหรือเกิดจากเวทนา หรือ "เวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี" ให้เกิดภาพชัดเจนขึ้น
        แบบข้อ๑ ขันธ์ ๕ เกิดแบบปกติทั่วๆไปในชีวิตประจําวัน อันไม่ก่อทุกข์ใดๆ เป็นขันธ์ ๕ อันจําเป็นในการยังชีวิต,  หรือขันธ์ ๕ ที่พระอริยะเจ้าท่านมีเป็นปกติในสอุปาทิเสสนิพพานนั่นเอง
ตา  รูป  วิญญาณ  เวทนา  สัญญา สังขารขันธ์ (กาย, วาจา, ใจคิด)
        แบบข้อ๒ ขันธ์๕ที่เกิดแบบข้อ๑ แบบปกติดังกระบวนข้างบน ไปถึงเวทนา แล้วเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาขึ้น จึงเป็นไปตามกระบวนธรรมของวงจรปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง  กล่าวคือเกิดขันธ์ตามปกติธรรมดาจนถึงเวทนา แล้วแปรปรวนไปเป็นทุกข์คือดำเนินไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาท แทนกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ เดิม
        แบบข้อ๓ คือเหมือนในแบบข้อที่ ๒ เช่นกัน เพียงแต่เคยเกิดเคยเป็นทุกข์หรืออุปาทานขันธ์(อุปาทานทุกข์)มาแล้วและได้ดับไปแล้ว แต่เก็บจำในรูปอาสวะกิเลส  จึงมีสภาพเหมือนดั่ง ฟืนที่เคยไฟ จึงสามารถลุกติดหรือเกิดได้รวดเร็วกว่าแบบที่ ๒  เมื่อเกิดการคิดนึกขึ้นมา(ถ้ามองในมุมมองปฏิจจสมุปบาทก็คือ เกิดแต่อาสวะกิเลส อวิชชา  สังขารที่สั่งสมไว้)
        ทั้ง ๒ แแบบนี้เมื่อมีตัณหาไปปรุงแต่งเวทนาที่เกิดขึ้น ดังกระบวนธรรมที่แสดงด้านล่าง  จึงทําให้ขันธ์ที่เหลือ คือสัญญาและสังขารขันธ์แปรปรวนถูกครอบงำเป็นอุปาทานขันธ์คืออุปาทานสัญญาและอุปาทานสังขารขันธ์ ในตอนท้ายของกระบวนธรรม หรือเรียกว่าแบบ หัวมงกุฎ ท้ายมังกร คือเริ่มต้นมาด้วยดีเป็นกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ อันเป็นธรรมดาของชีวิต แต่ตอนปลายกลายเป็นของร้ายไปเสีย  กล่าวคือเกิดตัณหาขึ้นจากเวทนานั้นๆ  อันเป็นการเริ่มต้นเข้าสู่กระบวนธรรมแห่งการเกิดขึ้นของทุกข์  ดังนี้
ตา รูป วิญญาณ  เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ  ชาติ คือการเกิดของอุปาทานสัญญา อุปาทานสังขารขันธ์
        สังเกต รูป วิญญาณ เวทนา เป็นขันธ์ปกติ แต่สัญญาหมายรู้และสังขารขันธ์แปรปรวนไปเป็นอุปาทานสัญญาและอุปาทานสังขารขันธ์ อันถูกครอบงําด้วยอุปาทานแล้ว
        แบบข้อ๔ อุปาทานขันธ์๕ล้วนๆ คือขันธ์ต่างๆในขันธ์๕ ล้วนเป็นอุปาทานขันธ์ คือการเกิดต่อจากขันธ์ในข้อ ๒ หรือ ๓ อันเป็นหัวมงกุฏ ท้ายมังกร, อันเริ่มอุปาทานขันธ์ ๕ ต่างๆนาๆหรือความคิดนึกปรุงแต่งต่างๆนาๆที่เกิดๆดับๆเป็นระยะๆหรืออย่างต่อเนื่อง  อันคือสภาวธรรมในชรา(ความแปรปรวน,ความเปลี่ยนแปลงอย่างวนเวียน) จนกว่าจะมรณะ(ดับ)ไปในที่สุด  และยังเก็บสั่งสมเป็นอาสวะกิเลสอันเป็นเชื้อเพลิงของทุกข์ในภายหน้า
ใจ อุปาทานรูป(คิด)  อุปาทานวิญญาณ  อุปาทานเวทนา อุปาทานสัญญา อุปาทานสังขาร
หรือ ใจ รูปูปาทาน(คิด)  วิญญาณูปาทาน เวทนูปาทาน สัญญูปาทาน สังขารูปาทาน
        ดังนั้นถ้าเราประมวลความรู้ความเข้าใจจากปฏิจจสมุปบาท ขันธ์๕ และอุปาทานขันธ์๕ มาเขียนขยายวงจรปฏิจจสมุปบาทเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น คงจักได้ดังนี้
.........อวิชชา สังขารต่างๆที่สั่งสม วิญญาณ นาม-รูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติอันคือสัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ อุปาทานขันธ์๕ต่างๆนาๆครั้งแล้วครั้งเล่า อันคือชราหรือความแปรปรวน จนในที่สุด มรณะ คือดับไป อาสวะกิเลส เป็นปัจจัยจึงเกิดวงจรใหม่ของทุกข์อีกไม่สิ้นสุด......
         อุปาทานขันธ์๕จากกระบวนธรรมข้างต้น ที่เกิดในชราอันเป็นทุกข์นั้น ก็จักเกิดๆดับๆ วนเวียนไปในชราจนหมดกำลัง จึงมรณะ(ดับ)ไป  ดังวงจรต่อไปนี้
    รูปูปาทานขันธ์ ใจ  วิญญาณูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์           (ขันธ์๕= รูป ใจ วิญญาณ เวทนา สัญญา สังขาร)
                                                                                                 
    สังขารูปาทานขันธ์ เช่นคิดที่เป็นทุกข์           สัญญูปาทานขันธ์
   จากวงจรที่เกิดๆดับๆนี้สืบเนื่องเป็นปัจจัยกันนี้ จักเห็นได้ว่าสังขารูปาทานขันธ์เช่นความคิดที่เป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้วนั้น ก็จักทําหน้าที่เปลื่ยนไปเป็นรูปชนิดรูปูปาทานขันธ์อีก คือเป็นธรรมารมณ์ชนิดที่มีอุปาทานครอบงําอันแฝงด้วยความยึดมั่นในกิเลสเพื่อความพึงพอใจของตนเป็นใหญ่ทั้งโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม  แล้วเกิดอุปาทานขันธ์ ๕ ที่เกิดใหม่วนๆเวียนๆ  เกิดๆดับๆ จนกว่าจะมีสติรู้ทัน หรือถูกเบี่ยงเบน บดบังด้วยอิริยาบถใดๆ
สรุปวงจรการทํางานของจิตที่ทําให้เกิดทุกข์ โดยปฏิจจสมุปบาทและขันธ์๕

หรือเขียนขยายวงจรลึกลงไปอีกได้เป็นดังนี้
        วงกลมเล็กสีแดงคืออุปาทานขันธ์๕หรือชราที่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาก็คือความคิดที่เป็นทุกข์แล้ว ที่แว๊บๆไปๆมาๆ ที่เกิดๆดับๆ อยู่ตลอดเวลาแต่โดยตามปกติไม่มีสติมองเห็น จึงเกิดความคิดที่เป็นทุกข์อย่างต่อเนื่อง,  แต่ในความเป็นจริง เกิดจากความคิดชั่วสายฟ้าแลบแล้วมีผลออกมา ผลนั้นยังไม่ทันจางคลายหรือดับไป ก็เกิดความคิดที่อุปาทานครอบแล้ว(อุปาทานรูป)ขึ้นใหม่อีก เป็นเช่นนี้อย่างเป็นระยะๆแต่อย่างต่อเนื่อง จนถ้าไม่สังเกตุด้วยการโยนิโสมนสิการแล้วจักไม่พบความจริงนี้ ดังนั้นปุถุชนผู้ถูกครอบแล้วด้วยทุกข์นั้น เมื่อมีสติรู้ทันและต้องเข้าใจทุกข์นั้นแล้วจึงต้องหยุดความคิดนึกปรุงแต่งที่ทําหน้าที่เป็นอุปาทานรูปนี้เสีย ทุกข์ก็จักขาดเหตุปัจจัยไม่สามารถคงทนอยู่ต่อไปได้ หรืออาจเบี่ยงเบนไปต่างๆเช่นพิจารณาธรรมเช่นพิจารณาถึงตัณหาที่ทําให้เกิดก็ได้(บางท่านบอกไม่มีตัณหาความอยากอะไรเลย ท่านเหล่านี้ต้องพิจารณาความไม่อยากให้เกิด,ไม่อยากให้เป็นที่แอบซ่อนในจิตลึกๆให้เห็นแล้วจักเข้าใจ)  ได้ทั้งเห็นโทษของตัณหาความอยากและความไม่อยาก ตลอดจนตัดความคิดนึกปรุงแต่ง(หมายถึงความคิดที่เป็นอุปาทานขันธ์๕เดิมๆนั่นแหละ)ในอุปาทานขันธ์ให้หยุด เป็นการดับทุกข์อย่างก่อปัญญาด้วย และเป็นการปฏิบัติในหลักสติปัฏฐาน ๔ นั่นเองคือเห็นเวทนาความรู้สึกรับรู้ที่เกิดขึ้นอันเป็นเวทนานุปัสสนา หรือเห็นจิตหรือความคิดอันเป็นจิตตานุปัสสนา
       ให้สังเกตุอุปาทานสังขารและอุปาทานขันธ์๕ อันคือ  ความคิด วาจา การกระทําใดๆ นั้นก็คือผลของขบวนการขันธ์๕ อันเป็นอุปาทานทุกข์แล้วนั่นเอง  ดังนั้นในบางครั้งรู้เท่าทันคิดหรือ จิตสังขารแล้ว จึงตัดหรือหยุดไม่ได้ง่ายๆเพราะอุปาทานอันแข็งแกร่งที่สามารถครอบสรรพสัตว์มาตลอดกาลนานได้ครอบงําแล้ว
        ถึงตอนนี้พอแยกออกได้ว่าในการตัดวงจรของทุกข์นั้น ขึ้นอยู่กับสติ จริตและปัญญาของผู้ปฏิบัติ แต่ทั่วๆไปเน้นอยู่ที่๓กองธรรมในกระบวนการปฎิจจสมุปบาทเป็นพิเศษ อันได้แก่ เวทนา,ตัณหา และจิตสังขาร(คิด)อันเป็นอุปาทานสังขารแล้วในกองธรรมชาติ-ชรา
        ๑ เวทนา เป็นกองธรรมที่ดีที่สุด ในการตัดวัฏฏะของทุกข์ ก่อนจะเข้าไปในกระบวนการให้เกิดทุกข์ เพราะที่เวทนานี้ถ้ารับรู้โดยเท่าทันคือดับโดยความเข้าใจในสภาวะธรรมชาติของเวทนาอย่างหมดจดว่าเวทนานั้นย่อมต้องเกิดเป็นธรรมดา  เวทนาในปฏิจจสมุปบาทนั้นมีอยู่ ๒ ลักษณะ
        ๑.๑ เวทนาในกองธรรมเวทนา อันจะตัดวงจรของทุกข์ขาด เนื่องจากขาดเหตุปัจจัยที่ทําให้เกิดอุปาทานทุกข์ ตั้งแต่ขันธ์๕ตัวแรกๆ  หรือตั้งแต่เวทนาในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง จึงไม่เกิดทุกข์อุปาทานใดๆเลย, จะเกิดสัญญาหมายรู้ตามธรรมชาติ สังขารขันธ์ อันเป็นขันธ์๕ธรรมชาติขึ้นต่อจากเวทนานั้น
         ๑.๒ อุปาทานเวทนาในกองธรรมชราอันเป็นที่เกิดของอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์ อันต้องเกิดอุปาทานเวทนาเป็นธรรมดา ที่อุปาทานเวทนานี้ต้องยอมรับและเข้าใจ และต้องใช้กําลังของจิตโดยการอุเบกขา เพราะถูกครอบงําแล้วโดยอุปาทาน ถ้าสติรู้เท่าทันทําให้ทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้วดับหรือสั้นลงเท่านั้นเพราะทุกข์ได้เกิดขึ้นแล้ว
        ในข้อที่๑ นั้น ขันธ์๕ในชีวิตทั่วๆไปที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่อสติรู้เท่าทันเวทนา อันมีผลลัพธ์คือสังขารขันธ์-ความคิด อันจักเกิดขึ้นเบาบางไม่รุนแรงหรือนุ่มนวลขึ้นด้วย  เพราะเวทนาเป็นเหตุเป็นปัจจัยของทั้งตัณหา(ของปฏิจจสมุปบาท)และสังขารขันธ์(ของขันธ์๕)เช่นกัน จึงมีผลโดยตรงต่อสังขารขันธ์ด้วย ตามหลักอิทัปปัจจยตา "เมื่อสิ่งนี้มี ผลนี้จึงมี" เช่นกัน  ดังขบวนการของขันธ์๕โดยย่อ
ตา รูป วิญญาณ เวทนาเกิด,มีสติรู้และมีความรู้ความเข้าใจที่หมดจด สัญญาหมายรู้หมดจด สังขารขันธ์ที่เกิดเบาบางหมดจดเช่นกัน ดังเช่นความโลภ โกรธ หลง ฯลฯ. ที่เกิดขึ้นก็ได้รับผลอานิสงส์มีความนุ่มนวลขึ้น เป็นขันธ์๕ ธรรมชาติควรค่าแก่การใช้งานเช่นกัน(สังเกตุให้ดีว่ายังคงมีอยู่แต่ไม่ใช่อุปาทานทุกข์ เป็นขันธ์๕ ตามธรรมชาติอันจักเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป)
         ๒ ตัณหา มีทั้งป้องกันไม่ให้เกิด หรือเกิดแล้วก็ต้องใช้กําลังของจิตดับโดยตรง โดยปกติแล้วตัณหาเข้ากระทําโดยตรงหรือเกิดจากเวทนาดังที่เราทราบจากวงจรของทุกข์ปฏิจจสมุปบาทว่าเป็นมูลเหตุเบื้องต้นและโดยตรงที่สุด และถ้าไม่รู้ทันและไม่เข้าใจเวทนา  ก็จะเกิดตัณหาต่อเวทนานั้น, หรือในครั้งแรกอาจไม่เกิดตัณหาแต่ถ้าคิดนึกปรุงแต่งต่อไปคือเกิดขันธ์๕ปรุงแต่งใหม่เช่นความคิดต่างๆก็เป็นเหตุให้ตัณหาสามารถเข้าไปกระทําต่อเวทนาของสังขารขันธ์คิดนึกปรุงแต่งต่างๆที่เกิดขึ้นใหม่ได้เช่นกัน
ตา รูป วิญญาณ เวทนา สัญญา สังขาร ดังเช่น "ความคิดนึกต่างๆ" ......(ตัวอย่าง ก.)
แล้วเกิดการนําเอาความคิดนึกต่างๆ( ก.)ที่เกิดขึ้นนั้นมาเป็นธรรมารมณ์หรือรูปของขบวนขันธ์๕ อันใหม่ดังนี้
ใจ ความคิดนึกต่างๆ(ก.)ทําหน้าที่เป็นรูปคือสิ่งที่ถูกรู้ วิญญาณ  เวทนา สัญญา สังขารคิด
เป็นเช่นนี้ได้หลายๆครั้ง  ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการเกิดความคิด(หรือสังขารขันธ์คิด)อย่างนี้ขึ้นหลายๆครั้ง ย่อมเปิดโอกาสให้ตัณหาอันก่อทุกข์มีทางหลากหลายเข้ากระทําต่อเวทนาที่เกิดๆดับๆอยู่ตลอดเวลาของความคิดนึกต่างๆที่เกิดขึ้นหลายครั้งหลายครา ดังนั้นการหยุดตัณหาอาจต้องกระทําหลายๆครั้ง ตามการเกิดของขันธ์๕หรือความคิด นี่แหละจึงเป็นจุดประสงค์ที่ให้หยุดความคิดนึกปรุงแต่งฟุ้งซ่าน ความคิดเรื่อยเปื่อย ความคิดฟุ้งซ่านที่ไม่มีประโยชน์สาระ อันเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดตัณหาเข้าแทรกได้ อันนี้เป็นหลักการการป้องกันไม่ให้เกิดตัณหา  แต่ถ้าเกิดตัณหาขึ้นมาแล้วก็ต้องพยายามดับไปโดยกําลังของจิตโดยตรง
        ถ้ามีตัณหากระทําต่อเวทนา ดังในตัวอย่าง ก. ความรุนแรงของผลหรือสังขารขันธ์ย่อมมากกว่าสังขารขันธ์ปกติ เพราะผลที่ออกมาย่อมเป็นอุปาทานสังขารขันธ์ ซึ่งย่อมทําให้ขันธ์๕ ที่เกิดต่อเนื่องต่อๆไปแบบเกิดๆดับๆมีสภาพเป็นอุปาทานขันธ์ทั้งขบวน  ซึ่งย่อมทวีความทุกข์ขึ้นเรื่อยๆ ลองย้อนระลึกขันธ์๕ในอดีตดู ถ้ากลุ้มหรือโกรธเรื่องอันใด ถ้ายิ่งคิด,ทุกข์ยิ่งทวีขึ้นตลอดเวลาไม่มีเบาบาง(นอกจากผู้มีสติใช้ธรรมเข้าปลอบหรือข่ม) นี่แหละจึงเป็นเหตุให้ต้องหยุดคิดปรุงแต่ง, หยุดนึกปรุงแต่ง และนี่คือเหตุผลที่ทําไมเรารู้ทัน, มีสติเห็นสังขารขันธ์คือคิดอันเป็นผลแล้ว แต่ในบางครั้งไม่ดับเพราะความรุนแรงและเข้มแข็งของอุปาทานนั่นเองและเป็นการดับที่ผลไม่ใช่ที่เหตุ จึงไม่ดับสนิทจริงๆ เพราะต้นเหตุจริงๆอยู่ในเวทนาและตัณหา ดังนั้นการดับเวทนาและตัณหาด้วยความเข้าใจในตัวอย่าง ก. จึงตรงตามหลักธรรมที่กล่าวว่า "ธรรมใดเกิดแต่เหตุ เมื่อเหตุดับ ธรรรมนั้นก็ดับ" และที่สฬายตนะทั้ง๖นั้น เหตุปัจจัยภายนอก(รูป เสียง กลิ่น ฯ.)เราควบคุมบังคับไม่ได้ ย่อมต้องกระทบสัมผัสเป็นธรรมชาติห้ามไม่ได้อย่างแน่นอน(นอกจากสังวรสำรวมระวัง) ซึ่งเมื่อเกิดเป็นอุปาทานสังขารคิดแล้วย่อมดับไม่ค่อยได้ผล ดังนั้นจึงแนะนําให้รู้ทันและเข้าใจธรรมชาติของเวทนา  เพราะป้องกันทั้งสังขารคิดที่สั่งสมที่จะมากระทบใจ และการเข้าโดยตรงทางสฬายตนะทั้งหมด อันคือประตูทางเข้าของเหตุทั้งหมด
        ๓ จิตสังขารหรือความคิด มีสติรู้เท่าทันความคิด อันจะมีอยู่ใน ๒ ลักษณะคือ
        ๑.ความคิดของขันธ์๕อันคือสังขารขันธ์ของขันธ์๕ อันเป็นธรรมชาติ มีสติรู้เท่าทันว่าโลภ โกรธ หลง(โมหะ โทสะ โลภะ)ฯลฯ. แล้วเป็นกลางวางเฉยเป็นอุเบกขา ไม่คิดนึกปรุงแต่งไปทั้งด้านดีหรือชั่ว
        ๒.ความคิดชนิดที่เป็นอุปาทานสังขารขันธ์เกิดอยู่ในองค์ธรรมชาติ-ชรา  ต้องดับที่อุปาทานสังขารหรือความคิดนึกปรุงแต่งที่เกิดขึ้นที่กองธรรมชาติ-ชรา อันเป็นทุกข์แล้ว โดยการหยุดคิดนึกปรุงแต่งและถืออุเบกขาเป็นกลางวางเฉย วางเฉยอันหมายถึงไม่คิดนึกเอนเอียง แทรกแซง อันล้วนเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา..อันเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทานขันธ์๕ต่างๆอย่างต่อเนื่องอันเป็นทุกขได้โดยไม่รู้ตัว์ อันจักทําให้ทุกข์นั้นสั้นหรือหยุดลง  ที่ชรานี้ต้องยอมรับและเข้าใจ และต้องใช้กําลังของจิต เพราะถูกครอบงําแล้วโดยอุปาทานอันแข็งแกร่ง

เมื่อประมวลความรู้ความเข้าใจแล้ว
แก่นของการปฏิบัติในชีวิตประจําวัน มีดังนี้
สติรู้เท่าทันอันใด ปฏิบัติอันนั้น ตามกําลังสติ จริต แห่งตน
        สติรู้ทันและเข้าใจเวทนา ว่าเวทนาสักแต่ว่าเวทนาและรู้ด้วยว่าเกิดขึ้นตามสภาวะธรรมอันห้ามไม่ได้ แล้วเป็นกลางวางเฉย(อุเบกขา)แค่รับรู้ ไม่ติดเพลินในสุขเวทนา ไม่ครํ่าครวญพิรื้พิไรในทุกขเวทนา ระวังอทุกขมสุขเพราะความรู้สึกไม่มีอะไรจึงมักปล่อยกายปล่อยใจจนเป็นทุกข์ (เวทนานุปัสสนา) แล้วใช้อุเบกขา
        สติรู้ทันตัณหา และละตัณหา อันเป็นสมุทัยเหตุแห่งทุกข์ แล้วใช้อุเบกขา
        สติรู้ทันความคิด แล้วเป็นกลางวางเฉยไม่คิดนึกปรุงแต่งต่อทั้งด้านดีและชั่ว(อุเบกขา)  อันเป็นการปฏิบัติจิตตานุปัสนาคือสติรู้ทันว่ามีโมหะ โทสะ โลภะ ฯลฯ. แล้วเป็นอุเบกขาเป็นกลาง,วางเฉยโดยการไม่คิดนึกปรุงแต่งเพราะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา..อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา..อันเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ (สังเกตุนะว่ามีเกิดขึ้น ไม่ใช่กดข่ม หรือพอเกิดแล้วหาว่าจิตไม่ดี ยังคงมีอยู่แล้วก็จะดับไปเอง)
 อุเบกขาเป็นกลาง วางเฉย
 วางเฉยโดยการไม่คิดนึกปรุงแต่ง ไม่เอนเอียงไม่แทรกแซง ไปทั้งในด้านดีหรือร้าย
อันเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา..อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา
อุเบกขาเป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝนอบรม และสั่งสม

        สติรู้ทันเวทนา จุดประสงค์คือตัดวงจรทุกข์ และทําให้ขันธ์๕ที่เกิดนุ่มนวลหรือเบาบางขึ้น (นุ่มนวลไม่ใช่หมายถึงเรียบร้อยอ่อนช้อยขึ้น แต่หมายถึงสังขารขันธ์ต่างๆ)
        สติรู้ทันตัณหา คือเมื่อจิตเห็นจิต หรือสติเห็นคิดหรือสังขารขันธ์แล้ว ยังต้องรู้ทันหยุดตัณหาความทะยานอยากและความไม่อยากอันเป็นสมุทัยด้วยถ้าเกิดขึ้น กล่าวคือถ้าหลุดจากสติรู้ทันเวทนาในข้อ๑, สติรู้ทันตัณหาในข้อ๒จะทําหน้าที่แทนในการดับทุกข์
        สติรู้ทันความคิดหรือจิตสังขาร ความคิดนึกที่เป็นลักษณะฟุ้งซ่านควรหยุดเสียเพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ตัณหาเข้ากระทําต่อเวทนาของความคิดนึกฟุ้งซ่านที่เกิดขึ้นนั้น  กล่าวคือถ้าหลุดจากสติรู้ทันตัณหาอันต้องก่อเป็นอุปาทานทุกข์แล้ว สติรู้ทันความคิดนึกหรือ"เห็นจิตในจิต"อันคือสติเห็นจิตสังขารขันธ์ จักทําหน้าที่แทน
       
        ข้อควรระวัง คิดนึกปรุงแต่ง, ตัณหา, ตัณหาปรุงแต่ง, ตัณหาคิดนึกปรุงแต่ง หมายเป็นตัณหาหรือทําให้เกิดตัณหาอันเดียวกันทั้งสิ้น อันปกติเกิดเพราะเวทนาหรือเข้ากระทําต่อเวทนาเป็นมูลเหตุสําคัญโดยตรงแล้ว,  จะเห็นว่าตัณหายังสามารถกระทําหรือเกิดจากสิ่งต่างๆ,ขันธ์ต่างๆ อันเนื่องสัมพันธ์กับเวทนาได้ดังเช่นทําต่อความคิดนึกปรุงแต่งดังที่กล่าวมา, จึงควรมีความระวังสังวรไว้,
        ดังที่มีการแจกแจงรายละเอียดแยกแยะเพื่อศึกษาตัณหา อันหมายถึงตัณหาสามารถเกิดขึ้นได้จากเหตุปัจจัยที่จะกล่าวนี้แต่ไม่ใช่อยู่ที่หรือเกิดที่ปัจจัยที่จะกล่าวนี้โดยตรง  อันท่านได้จําแนกแจกแจงอยู่ใน"ปิยรูป สาตรูป ๑๐" ถึงสิ่งอันเป็นปัจจัยให้เกิด,เป็นปัจจัยให้ตั้งอยู่และเป็นปัจจัยให้ดับไปของตัณหาอันมี ๑๐ หมวดๆละ ๖ อันมี
        ๑. สฬายตนะทั้ง๖   ตา   หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ    นั่นเอง
        ๒. อายตนะภายนอกทั้ง๖  รูป  รส  กลิ่น เสียง  สัมผัส(โผฏฐัพพะ)  ธรรมารมณ์
        ๓. วิญญาณ ๖ ของ   ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ
        ๔. ผัสสะ ๖ ที่เกิดจาก   ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ
        ๕. เวทนา ๖ อันเกิดจาก  ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ
        ๖. สัญญา ๖ ใน  ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ
        ๗. สัญเจตนา ๖ ในความคิดอ่านหรือเจตนาของสังขารขันธ์อันมีใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ เช่นกัน
        ๘. ตัณหา ๖ ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์
        ๙. ตรึก (วิตก๖) คิดใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์
        ๑๐.ตรอง (วิจารณ์๖) คือพิจารณาไตร่ตรองในธรรมารมณ์,รูป,เสียง,กลิ่น,รส,สัมผัส


        เมื่อเกิดเวทนาหรือจิตสังขารขึ้นแล้ว มีสติรู้เท่าทันสภาวะธรรม(ชาติ)ของเวทนาหรือจิตสังขารที่เกิดขึ้นนั้นและมันเป็นเช่นนั้นเองเป็นธรรมดาไม่ต้องไปทําอะไรกับเขา พระไตรลักษณ์จะทําหน้าที่อย่างเที่ยงธรรม ทําให้ผลที่เกิดขึ้นนั้นย่อมดับไปในไม่ช้า   เพียงแต่มีสติและเป็นกลางวางเฉย(อุเบกขา)ไม่คิดนึกปรุงแต่งในเรื่องทุกข์ที่จะเกิดสืบต่อไปอีกเท่านั้น  อันเป็นเหตุปัจจัยไม่ให้มีเหตุเกิดอีก อันเป็นไปตามกฎอิทัปปัจจยตา ผลที่จะเกิดสืบเนื่องต่อจากนั้นก็จักเกิดอีกไม่ได้   และการหมั่นปฏิบัติเช่นนี้ จะยังให้เกิดสังขาร(ปฏิจจสมุปบาท)ที่สั่งสมอบรมขึ้นใหม่ อันไม่มีอวิชชา

ข้อคิดคํานึง
คิด(เหตุ-ธรรมารมณ์) ใจ  มโนวิญญูาณขันธ์   เวทนาขันธ์
                           ขันธ์ทั้ง๕                                
คิด(ผล-สังขารขันธ์)                                    สัญญาขันธ์
วงจรแสดงการทำงานหรือกระบวนธรรมของ ขันธ์ทั้ง๕
ความคิดเป็นธรรมชาติของขันธ์๕ หรือชีวิต,  แต่ความคิดนึกปรุงแต่งไม่จําเป็น
เพราะคิดนึกปรุงแต่ง ๑ ครั้ง  ก็คือการเกิดกระบวนธรรมของขันธ์๕ขึ้น ๑ ครั้ง
เกิดขันธ์๕ขึ้น ๑ ครั้ง,  ย่อมต้องเกิดเวทนาขึ้น ๑ ครั้งเช่นกัน
ดังนั้นคิดนึกปรุงแต่ง ๑๐๐ ครั้ง,  ย่อมต้องเกิดเวทนาขึ้น ๑๐๐ ครั้งเช่นกัน
เวทนาเกิดขึ้น ๑๐๐ ครั้ง  ย่อมเปิดโอกาสให้เกิดตัณหาได้ ๑๐๐ ครั้งเช่นกัน
ตัณหาเกิดขึ้นเมื่อใด  ทุกข์อุปาทานอันเร่าร้อนเผาลนก็เกิดขึ้นเมื่อนั้น
อันเป็นการดำเนินไปตามวงจรของการเกิดขึ้นของทุกข์ ปฏิจจสมุปบาท
ดังนั้นจงมีแต่คิด,  แต่ไม่มีคิดนึกปรุงแต่ง. 

เพื่อเพิ่มเติมรายละเอียดในการปฏิบัติ













"หลักธรรม ๓ เรื่องที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันมาก"

พระพุทธเจ้าได้เทศนาสั่งสอนประชาชนหลังจากตรัสรู้แล้วเป็นเวลาถึง ๔๕ ปี พระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์จึงมีมากมายรวมเรียกว่า พระไตรปิฎก มีเนื้อความทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ อันประกอบด้วย พระวินัยปิฎก (๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์) พระสูตร หรือ พระสุตตันตปิฎก(๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์) พระอภิธรรมปิฎก (๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์) เป็นหนังสือภาษาบาหลีจำนวน ๔๕ เล่ม และแปลเป็นภาษาไทยออกมาได้ ๘๐ เล่มขนาดใหญ่ หลักธรรม ๓ เรื่องที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันมากคือ ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร หรือปฐมเทศนา ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงโปรดพระปัญจวัคคีย์ (มี ๕ องค์ คือ อัญญาโกณฑัญญะ, วัปปะ, ภัททิยะ, มหานานะ,อัสสชิ) เป็นครั้งแรกจนทำให้ท่านอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม อันแสดงว่าการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าอาจ อาจมีผู้สามารถรู้ตามได้ ในสูตรนี้พระองค์ทรงแสดงอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ ๑ เหตุให้เกิดทุกข์ ๑ การดับทุกข์ ๑ และทางที่จะดำเนินไปสู่ความดับทุกข์ ๑ ซึ่งทางที่จะดำเนินไปสู่ความดับทุกข์นี้ เรียกกันว่า มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร คือ พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป หรือพระสูตรว่าด้วยการหมุนวงล้อธรรม พระพุทธเจ้าทรงแสดงที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี แคว้นกาสี ในวันขึ้น ๑๕ คำ เดือน ๘ หลักจากวันซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้สองเดือน ๒. อนัตตลักขณสูตร ในสูตรนี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้เห็นความไม่เที่ยงของสิ่งต่าง ๆ คือ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมตลอดไปได้ทั้งเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตนจริง ๆ เลย เป็นการสมมุติขึ้นมาเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นเราจึงไม่สามารถบังคับให้มันอยู่ในอำนาจของเราได้ อนัตตลักณสูตร เป็นพระสูตรที่แสดงลักษณะแห่งเบญจขันธ์ว่าเป็นอนัตตา พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ ภายหลังจากแสดงปฐมเทศนาแล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ ได้สำเร็จพระอรหัตด้วยได้ฟังอนัตตลักขณสูตรนี้ ๓. กาลมสูตร พระสูตรนี้ได้แสดงให้เห็นความเป็นนักเสรีประชาธิปไตยของพระพุทธเจ้า เพราะพระองค์ทรงสอนให้คนใช้ความคิดด้วยเหตุผลโดยรอบคอบเสียก่อนแล้วจึงค่อยเชื่อ พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าจงอย่าได้เชื่อโดยการอ้างตำรา หรือเพราะครูอาจารย์สอนไว้อย่างนั้น หรือเพราะคำพูดนั้นตรงกับความเห็นของเรา หรือเพราะผู้นั้นเป็นบุคคลที่ควรเชื่อ หรือโดยการคาดคะเนหรือ นึกเดาเอาหรือโดยการใช้เหตุผลตามหลักตรรกศาสตร์ พระองค์ทรงสอนว่าการกระทำใด ๆ ถ้าจะไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ในภายหลัง นักปราชญ์ไม่ติเตียน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นแล้ว พึงทำเถิดแต่ถ้าตรงกันข้ามกันก็อย่าทำเลย กาลามสูตร เป็นสูตรหนึ่งในคัมภีร์ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระพุทธเจ้าตรัสสอนชนชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคมในแคว้นโกศล ไม่ให้เชื่อถืองมงายไร้เหตุผล ตามหลัก ๑๐ ข้อ คือ อย่าปลงใจเชื่อเพราะ ๑. ด้วยการฟังตามกันมา ๒. ด้วยการถือสืบ ๆ กันมา ๓. ด้วยการเล่าลือ ๔.ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ ๕. ด้วยตรรก ๖. ด้วยการอนุมาน ๗. ด้วยการคิดตรึกตรองตามแนวเหตุผล ๘. ด้วยเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน ๙. ด้วยเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ ๑๐. ด้วยเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา ต่อเมื่อใด พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศลเป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว
จึงควรละหรือปฏิบัติตามนั้น