หน้าเว็บ

บทความที่ได้รับความนิยม

9 พฤศจิกายน 2554

วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง

เราจะดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร
----------------
                         สิ่งที่ทุกคนมีความต้องการในชีวิต คงหนีไม่พ้นในเรื่องของ ความสุข  หรือทุกข์มีน้อยลง
หนทางปฏิบัติในชีวิตประจำวันหลายคนก็ปฏิบัติตามองค์ความรู้ที่มีอยู่และประสบการณ์ที่ผ่านมา หากมีวิชชาที่ถูกต้องและแนวทางในการดำเนินชีวิตตามเป้าหมายที่ต้องการ  ควรน้อมนำแนวทาง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ทรงพระราชทานให้แก่ปวงชนชาวไทย
                         มีคำถามว่าแล้วเราจะเริ่มปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างไร   ก่อนอื่นต้องรู้ถึงความหมายที่แท้จริงของปรัชญากันเสียก่อนเป็นลำดับแรก  เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง แนวความคิดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้ถึงการดำรงอยู่ของชีวิตและการปฏิบัติตนของประชาชน      ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทุกระดับตั้งแต่ ระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร จนถึงระดับประเทศ
                         ขั้นที่ 2 การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานในการนำคุณลักษณะ
และองค์ประกอบไปใช้  โดยการดำเนินชีวิตในทางสายกลาง ด้วยความพอเพียง  เปรียบเทียบได้กับ
เส้นเสียงของเครื่องสายดนตรี  ถ้าตึงเกินไปเสียงไม่ไพเราะ และเส้นเสียงอาจจะขาดได้     ถ้าหย่อน
เกินไปก็ไม่ไพเราะเช่นกัน   ทำอย่างไรให้พอดี  ก็จะได้เสียงที่ถูกต้อง เหมาะสม และสามารถนำไป
ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จ        ในความพอเพียง ก็ประกอบด้วย       ความพอประมาณ   พอดีต่อความจำเป็น เหมาะสมกับฐานะ สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งวัฒนธรรม   ความ
มีเหตุผล   เป็นไปตามหลักวิชา กฎหมาย ศีลธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรม  คำนึงผลที่จะเกิดขึ้น
มีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี   เตรียมพร้อมรับผลกระทบ ผลการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งทาง
ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
                         ขั้นที่ 3 การเสริมสร้างพื้นฐานทางด้านจิตใจ      เพื่อให้เกิดความพร้อมที่จะปฏิบัติด้วยความเพียรพยายาม  อดทน   ด้วยความสำนึกในด้านคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต  ดำเนินชีวิต
ด้วยความอดทน มีความเพียร  มีสติ  ปัญญา และรอบคอบ
                         ขั้นที่ 4 พิจารณาปัจจัยหรือเงื่อนไข  ที่จะส่งผลให้การปฏิบัติต่อชีวิตดำเนินไปอย่าง
ราบรื่น เรียบร้อย   ด้วยเงื่อนไขหลักคุณธรรม  ความซื่อสัตย์สุจริต  รู้รักสามัคคี ไม่โลภ ไม่ตระหนี่
รู้จักแบ่งปัน หลักวิชา(รู้)   มีความรอบรู้  รอบคอบ และระมัดระวังทุกขั้นตอน  หลักชีวิต(คุณธรรม+
หลักวิชา)  มีความอดทน  เพียร  สติ  ปัญญา  บริหารจัดการ
                         ขั้นที่ 5 การน้อมนำมาปฏิบัติ     ด้วยการนำหลักการทรงงานของพระองค์  ในเรื่อง
ระเบิดจากข้างใน  ด้วยการสร้างจิตสำนึก ศรัทธา  เชื่อมั่น  เห็นคุณค่า   แล้วนำไปปฏิบัติให้เกิด
ประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติต่อไป




- ๒ -   
                         ขั้นที่ 6 การประยุกต์ใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
                                      ระดับบุคคล/ชุมชน    มีความสุขกายสุขใจ   พึ่งตนเอง  ไม่ใช้จ่ายเกินตัว  ไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น   พัฒนาตนเองต่อเนื่อง  ใฝ่รู้  ประกอบสัมมาชีพ  ประหยัด  ไม่ตระหนี่
ลด ละ เลิก อบายมุข  รู้จักออมเงินและของใช้ให้คุ้มค่า   แบ่งปัน  รักษาวัฒนธรรม  เหมาะสม
กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                                      ระดับชุมชน   รวมกลุ่มทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม   รู้รักสามัคคี  สร้างเครือข่าย
เชื่อมโยงช่วยเหลือกัน  ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่สร้างประโยชน์อย่างคุ้มค่า
                                      ระดับธุรกิจ    หวังผลประโยชน์หรือกำไรระยะยาวมากกว่าระยะสั้น   แบ่งปัน จัดสรรให้เหมาะสม  เป็นธรรมสำหรับลูกค้า คู่ค้า ผู้ถือหุ้น  และพนักงาน  ขยายกิจการอย่าง
ค่อยเป็นค่อยไป   รู้และเข้าใจธุรกิจของตนเอง   เตรียมพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง   ป้องกันผลกระทบ
ต่อสิ่งแวดล้อม   สร้างเสริมความรู้ และจัดสวัสดิการ
                                      ระดับรัฐ/ประเทศ    บริหารวางรากฐานให้ประชาชนพอมีพอกินและพึ่งตนเองได้
ให้ประชาชนมีความรู้ และมีคุณธรรมในการดำเนินชีวิต    รวมกลุ่มชุมชนหลาย ๆ แห่ง แลกเปลี่ยน
เรียนรู้    สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น  วัฒนธรรมประเพณี    ร่วมกันพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
อย่างรู้รักสามัคคี   เสริมสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงให้เกิดสังคมแห่งความพอเพียง
                          การดำเนินชีวิตภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงควรเริ่มต้นตั้งแต่ระดับบุคคลและครอบครัวก่อนเป็นพื้นฐาน    อันจะส่งผลให้เกิดความมั่นคงทั้งระดับชุมชน สังคม และประเทศชาติ
ในที่สุด    ความมั่นคงดังกล่าวจะมีคุณลักษณะดังนี้.-
                                      ด้านเศรษฐกิจ     ไม่ใช้จ่ายเกินตัว   ไม่ลงทุนเกินขนาด  คิดและวางแผนอย่างรอบคอบ    มีภูมิคุ้มกันที่ดี  ไม่เสี่ยงเกินไป
                                      ด้านจิตใจ     มีความเข้มแข็ง  อดทน   มีจิตสำนึกที่ดี  เอื้ออาทร  เห็นประโยชน์
ส่วนร่วมมากกว่าส่วนตัว
                                      ด้านสังคมและวัฒนธรรม    มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน   รู้รักสามัคคี   สร้างความ
เข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน   รักษาเอกลักษณ์(ภาษา ภูมิปัญญา  และวัฒนธรรมไทย)
                         ผลที่จะได้รับ
                                      การพัฒนาประเทศ        มีความสมดุล  มั่นคง และยั่งยืน
                                      ภูมิคุ้มกันที่ดี                   พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทุกด้าน(ชีวิต เศรษฐกิจ สังคม
                                                                                วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี)
                                      สันติสุข ร่มเย็น              อยู่เย็น เป็นสุข ร่วมกันในสังคมไทย
                         สนใจศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง        ได้ที่   พ.ท.บรรเทิง
แสงดอกไม้        ประธานชมรมเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม    โทร.089-0597623       หรือ
ฝ่ายเสริมสร้างชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง สมท.กอ.รมน.โทร.02-244- 8583

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น