หน้าเว็บ

บทความที่ได้รับความนิยม

9 พฤศจิกายน 2554

ทางรอดเกษตรกรด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                               ทางรอดเกษตรกร ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง
---------
                                ก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ เมื่อปี ๒๕๔๐  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ  ทรงพระราชทานดำรัสเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อปี ๒๕๑๗   และทรงพระราชทานแนวปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง ไว้อย่างละเอียดอีกครั้ง เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐  นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ
ที่พระองค์ทรงพระเมตตาพระราชทานหนทางอยู่รอด ปลอดภัย แก่พสกนิกรชาวไทย  และโดยเฉพาะ
เกษตรกรของพระองค์
                                จะขอนำบทสัมภาษณ์ที่ผู้สื่อข่าว BBC ขอพระราชทานสัมภาษณ์เพื่อประกอบภาพยนตร์เรื่อง The Soul of Nation  ในปี ๒๕๒๒  โดยได้กราบบังคมทูลถามถึงพระราชทัศนะเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ไทย  พระองค์ได้พระราชทานคำตอบว่า
                                การที่จะอธิบายว่า  พระมหากษัตริย์ คืออะไรนั้น   ดูเป็นปัญหาที่ยากพอสมควร  โดยเฉพาะในกรณีของข้าพเจ้า   ซึ่งถูกเรียกโดยคนทั่วไปว่า พระมหากษัตริย์ที่เคยรู้จักหรือเข้าใจกันมาแต่ก่อน
                                หน้าที่ของข้าพเจ้าในปัจจุบันนั้นก็คือ  ทำอะไรก็ตามที่เป็นประโยชน์  ถ้าถามว่าข้าพเจ้ามีแผนการอะไรบ้างในอนาคต  คำตอบก็คือ  ไม่มี  เราไม่ทราบว่าอะไรจะเกิดขึ้นภายหน้า   แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม  เราก็จะเลือกทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์  ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่เพียงพอแล้วสำหรับเรา
                                สรุปได้ว่าสิ่งที่เป็นประโยชน์และมีค่ามากที่สุดในยุคปัจจุบันซึ่งกำลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจรอบใหม่  และน่าจะมีความต่อเนื่องยาวนาน    ด้วยความไม่ประมาทในการดำรงชีวิตของเราท่านทั้งหลาย   ควรหันมาให้ความสนใจ เรียนรู้ ศึกษา และหาแบบอย่างในการปฏิบัติตามแนวปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง อย่างจริงจัง      อาจกล่าวได้ว่าในสภาวะอย่างนี้ใครไม่หันมาใช้วิถีชีวิตแบบพอเพียง  เชื่อได้ว่าชีวิตของผู้นั้นน่าจะอยู่ในโลกใบนี้ยากเสียแล้ว
                                ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม  ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความยากจน เป็นหนี้สิน  ไม่มีที่ทำกิน
ปัญหาการว่างงาน  ปุ๋ยแพง  ผลิตตกต่ำ   ข้าวของแพง  เป็นต้น     บางคนทำใจไม่ได้ก็ทำลายชีวิต
ของตัวเองด้วยการฆ่าตัวตายหนีปัญหา        อะไรเกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน    เราอาจจะมองดูแต่
ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น      โดยลืมไปว่าสาเหตุของปัญหานั้นคือ อะไรกันแน่
                                ขอให้ท่านผู้ฟังรายการลองค้นหาสาเหตุของปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำ หรือในครอบครัวของท่าน     แล้วเรามาน้อมนำแนวปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง  เข้ามาดำเนินการ
แก้ไขปัญหาดังกล่าว   จะด้วยการคิด  การพูด  และการกระทำ  ให้ตั้งมั่นอยู่ในความพอประมาณ
ความมีเหตุมีผล   และจะต้องมีหลักประกันความถูกต้อง ดีงาม และไม่ประมาณ  ที่เรียกว่าการมี
ภูมิคุ้มกันที่ดี


-        

                                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำสูตรการจัดสรรพื้นที่ตามแนว เกษตรทฤษฎีใหม่  โดยแบ่งพื้นที่เป็น ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ มาใช้   ทรงรับสั่งไว้ว่าคุณมีที่ร้อยไร่  คิดไปเลย ๓๐ ไร่
เป็นสระน้ำเก็บน้ำยามมีฝนตกหรือไม่ฝนมาก็มีน้ำใช้   เพราะน้ำเป็นปัจจัยในการผลิตอาหาร เลี้ยงปลา
โตเร็วไว้รับประทาน  มีโปรตีนสูง ราคาถูก  ปลูกข้าวสัก ๕ ไร่ต่อครอบครัวก็พอแล้ว  ไม่ต้องไปซื้อข้าวมากินตลอดทั้งปี   ถ้าขยันหน่อยก็เลี้ยงไก่บนบ่อปลาไว้กินไข่  พอไก่โตเต็มที่ก็ขายได้สตางค์ใช้
ที่เหลือก็ปลูกไม้  ๓ ชนิด  ผักสำหรับไว้กิน  ผลไม้สำหรับกินและขายได้  ไม้ฟืน ไม้เนื้อแข็งสำหรับ
ซ่อมบ้านให้ครบ   บางครอบครัวยังใช้ฟืนหุงข้าวอยู่ไม่ได้ใช้แก๊ส     นอกจากนั้น เราอยากจะกินอะไร
เราก็ปลูกพืชอย่างนั้น   เหลือก็แบ่งปันกัน  หรือเยอะเกินไปก็ขาย   การขายก็อย่านำไปขายในที่ห่างไกลนัก   เพราะจะเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่ง        เอาล่ะ  ถ้ามีที่ดินน้อย หรือไม่มีจะทำอย่างไร
ก็จะต้องบริหารจัดการชีวิตของตัวเองอยู่ในความพอดี พอประมาณกับรายได้    ถ้าจ่ายเกินตัวไป
ก็เดือดร้อน    แล้วจะรู้ได้อย่างไร   ก็ขอแนะนำให้ทำบัญชีครัวเรือน  ก็จะได้รู้รายรับ-รายจ่าย-รายเหลือ  หรือไม่เหลือ      แล้วหาเหตุผลของปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะอะไร     ไม่เหลือก็ต้องประหยัด
และหารายได้เพิ่มในอาชีพที่สุจริต    ทำอย่างนี้แล้วที่ไม่เหลือไม่พอ  ก็จะพอเพียงขึ้น  และมีเหลือ
                                เห็นไหมครับเกษตรกรจะเดินไปสู่เศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างไร        หากมีเหลือ
แต่ละบ้านแล้วนำมารวมกัน  ไม่ว่าจะเป็นเงินหุ้น  ผักในแต่ละบ้าน     ปลาในสระ     ไก่ที่เลี้ยงไว้
ก็นำมารวมกันไปตลาด   รวมตัวกันเป็นกลุ่ม       พระองค์ท่านรับสั่งไว้ทุกอย่างต้องรู้รักสามัคคี
ประการแรกที่สุดทำอะไรต้องรู้ก่อน     รู้ต้นตอปัญหา    รู้ทางแก้   ต้องเริ่มจากรู้ก่อน     ยังไม่พอ
มันต้องมีพลังผลักดันให้เราอยากเราความรู้นั้นมาใช้   พลังผลักดันนั้น คือ   ความรัก  ความปรารถนา
อยากนำความรู้นั้นให้ก่อประโยชน์ขึ้น          ต้องชักชวนให้คนอื่นมาร่วมกันทำเป็นการสร้างความ
สามัคคีจากความรู้และอยู่บนรากฐานของความพอเพียง   อย่างใช้อารมณ์เพราะอารมณ์เป็นรากฐานของความโลภ   ไม่ว่าจะเป็นองค์กร ชุมชน และตัวเราให้ยึดความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ตั้ง  แค่นี้คุณก็จะไปสู่ประโยชน์สุขและมีความยั่งยืนในชีวิต
                                สนใจศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง  ติดต่อได้ พ.ท.บรรเทิง
แสงดอกไม้       ประธานชมรมเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   โทร.089-0597623   หรือ
ฝ่ายเสริมสร้างชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง พน.สมท.กอ.รมน.โทร.02-244- 8583




-------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น