หน้าเว็บ

บทความที่ได้รับความนิยม

9 พฤศจิกายน 2554

การฟื้นฟูนาข้าวหลังน้ำท่วม

ปฏิบัติการฟื้นฟูน้ำท่วมข้าวนาปี อายุการเก็บเกี่ยว 120 วัน
                                นายโกวิทย์ ดอกไม้
 โทร. 081-8769113
             เมื่อน้ำท่วม นาล่มจมอยู่ใต้น้ำ นั่นหมายถึงเงินที่พี่น้องชาวนาลงทุนไปไร่ละ 5,000 บาทกำลังจะลมหายไปกับกระแสน้ำ ถ้าคิดอยากฟื้นฟูนาล่มไม่ให้เสียหายหรือเสียหายเพียงส่วนน้อย ให้สรุปวิเคราะห์ ยื่นมือลงไปช่วยเหลือข้าวที่จมอยู่ใต้น้ำดังนี้
             1. วิเคราะห์อายุการปลูก คือ
                   1.1 ข้าวอายุ 1-50 วัน ข้าวเมื่อโดนน้ำท่วม 30 วันโอกาสรอดยากมาก เพราะต้นข้าวมีเซลล์ใบที่อ่อนแอ เนื่องจากเซลล์ใบมีชั่วโมงที่สัมผัสกับแสงแดดได้ไม่กี่ชั่วโมง ใบจึงเน่าง่าย (มีลำต้นติดรากอยู่ใต้ดิน)
                   1.2 ข้าวอายุ 50-70 วัน ข้าวเมื่อโดนน้ำท่วม 30 วันโอกาสรอด 50-70 % เพราะต้นข้าวมีเซลล์ใบเกิดใหม่อ่อนแอ มีกาบห่อลำต้นเน่าบางส่วน (มีข้อสังเกตคือข้าวมีปล้องประมาณ 1-2 ปล้อง)
                   1.3 ข้าวอายุ  70-85 วัน ข้าวเมื่อโดนน้ำท่วม 30 วันโอกาสรอด 100 % เพราะต้นข้าวมีสรีระทุกส่วนที่แข็งแรง (มีข้อสังเกตคือข้าวมีปล้องประมาณ 3-4 ปล้อง) ที่ข้าวแข็งแรงเพราะอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ เพราะใบได้สังเคราะห์แสงมานาน
                   1.4 ข้าวอายุ 85-120 วัน มีปล้อง 7 ปล้อง ใบ 7 ใบ เป็นระยะข้าวกลมตั้งท้อง – ออกรวงมีใบธงโผล่ ข้าวเมื่อโดนน้ำท่วม 30 วันโอกาสรอด 100 % แต่ต้องมีหลักการวิเคราะห์ดังนี้
                         4.1.1 เมื่อพบว่าข้าวที่โดนน้ำท่วม 30 วันแล้ว อายุข้าวกำลังตั้งท้องต้นกลม ข้าวยังยืนต้นหลังน้ำลด ให้สาดอีเอ็มทันทีหลังน้ำลด เพื่อลดพิษน้ำเน่า หรืออาการเมาตอซังตามมา และฉีดพ่นเพื่อเปิดปากใบให้ใบที่อ่อนชูตั้งขึ้น ทำให้ต้นข้าวหายใจได้ดีขึ้น โดยฉีดพ่น 2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 7 วัน
                         4.1.2 1 เมื่อพบว่าข้าวที่โดนน้ำท่วม 30 วันแล้ว อายุข้าวออกออกรวงเป็นน้ำนม ต้นข้าวล้มทับกัน”   ให้ระบายน้ำออก และสาดอีเอ็มทันทีหลังน้ำลด เพื่อลดน้ำเป็นพิษหลังน้ำลด หรืออาการเมาตอซังตามมา ต้นข้าวที่ล้มทับกันลำต้นจะเน่าเสีย ให้ตัดตอซังสูงประมาณ 20 เซนติเมตร หรือมีปล้อง 3-4 ปล้อง นำตอซังที่เกี่ยวออกเอาไปทำปุ๋ยหมัก หรือกองทับกันไว้ในที่เหมาะสม ฉีดพ่นอีเอ็มที่ตอซัง 2-3 ครั้งหว่านโบกาฉิ (อีเอ็มแห้ง) 1 ครั้งข้าวจะค่อย ๆ งอกออกจากตาใหม่ อีกประมาณ 30-40 วันจึงจะได้เก็บเกี่ยว
ข้อสรุปแนวทางคุณสมบัติของอายุต้นข้าว
             สรุปแนวความคิดแบบรวบยอด ที่จะช่วยฟื้นฟูข้าวที่น้ำท่วม ถ้าพบว่ากาบห่อลำต้นเน่า แกะกาบห่อลำต้นไปเรื่อย ๆ พบว่ามีปล้องยังสด ให้ช่วยทันทีอย่ารอช้า แต่เมื่อแกะกาบห่อใบไปเรื่อย ๆ ลำต้นก็เน่า รากก็เน่าสิ่งกลิ่นเหม็นต้องทำใจว่าช่วยไม่ได้ ถ้าพบว่ามี “รากขาวเหมือนปุยฝ้าย” ทุกอย่างสมบูรณ์ช่วยทันทีโอกาสรอด 100 % คือขอให้ยึดรากและลำต้นใต้ดินเป็นสำคัญ


             2. วิเคราะห์รากข้าวที่โดนน้ำท่วม (คุณสมบัติของปุ๋ยกับรากข้าว)
                   2.1 ใช้ปุ๋ยเคมี : ข้าวมีอายุ 1-60 วัน น้ำท่วม 30 วัน กาบใบและใบจะเปื่อยเน่าเหม็น หลังน้ำลด
หากรากและลำต้นใต้ดินยังไม่เน่า “ไม่เป็นสีดำ”  รีบระบายน้ำออกสาดและฉีดพ่นด้วยอีเอ็ม 100 – 200 ลิตร/ไร่ ข้าวมีโอกาสรอดตาย 20 %
                   ข้าวมีอายุ 75 วันขึ้นไป ข้าวจะแข็งแรงมากมีโอกาสรอดที่สามารถช่วยฟื้นฟูได้ 50 %  ถ้ารากมีสีดำ” หมดโอกาสที่จะที่ฟื้นฟูให้รอดตายได้ยากขึ้น
                   2.2 ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ : ข้าวมีอายุ 1-60 วัน น้ำท่วม 30 วัน กาบใบและใบจะเปื่อยเน่าบางส่วน หลังน้ำลด เมื่อรากและลำต้นใต้ดินยังไม่เน่าหรือเน่าบางส่วน “ไม่เป็นสีดำ”  รีบระบายน้ำออกสาดและฉีดพ่นด้วยอีเอ็ม 100 – 200 ลิตร/ไร่ ข้าวมีโอกาสรอดตาย 50 -70 %
                   ข้าวมีอายุ 75 วันขึ้นไป ข้าวจะแข็งแรงมาก “หลังน้ำลดยังเห็นบางส่วนเขียวที่ยอด” มีโอกาสรอดที่จะสามารถช่วยฟื้นฟูได้ 80 %  ถ้ารากมีสีดำหมด ต้นเน่าเปื่อยหมดโอกาสที่จะที่ฟื้นฟูให้รอดได้ยาก
                   2.3 ใช้ปุ๋ยชีวภาพ : ข้าวมีอายุ 1-60 วัน น้ำท่วม 30 วัน รากขาวปนน้ำตาล ข้าวมีอายุ 1-60 วัน กาบใบและใบสมบูรณ์ไม่เน่า หลังน้ำลดถอนดูรากมีรากขาวปนน้ำตาล  ระบบรากค่อนข้างสมบูรณ์ ไม่มีรากสีดำไม่เหม็น หลังน้ำลด  รีบระบายน้ำออกสาดและฉีดพ่นด้วยอีเอ็ม 100 – 200 ลิตร/ไร่ ข้าวมีโอกาสรอดตาย 90 %
                   ข้าวมีอายุ 75 วันขึ้นไป ข้าวจะแข็งแรงมาก “หลังน้ำลดยังเห็นใบไม่เสียหายหรือเสียหายเพียงเล็กน้อย” มีโอกาสรอดที่สามารถช่วยฟื้นฟูได้ 100 % 
                   2.4 ใช้ปุ๋ยชีวภาพ+เคมี : ข้าวมีอายุ 1-60 วัน น้ำท่วม 30 วัน พบรากสีน้ำตาลปนดำ เน่าเหม็นคาวข้าวมีอายุ 1-60 วัน กาบใบและใบสมบูรณ์เน่าบางส่วน หลังน้ำลดถอนดูรากมีรากขาวปนน้ำตาล ระบบรากเน่าบางส่วน หรือมีรากสีดำเหม็น หลังน้ำลด  รีบระบายน้ำออกสาดและฉีดพ่นด้วยอีเอ็ม 100 – 200 ลิตร/ไร่ ข้าวมีโอกาสรอดตาย 50 %
                   ข้าวมีอายุ 75 วันขึ้นไป ข้าวจะแข็งแรงมาก “หลังน้ำลดยังเห็นใบไม่เสียหายหรือเสียหายเพียงเล็กน้อย” มีโอกาสรอดที่สามารถช่วยฟื้นฟูได้ 80 %  (กรณีที่โคราช)
                   2.5 ใช้ปุ๋ยชีวภาพอีเอ็ม : ข้าวมีอายุ 1-60 วัน น้ำท่วม 30 วัน พบรากขาวเหมือนปุยฝ้าย ข้าวมีอายุ 1-60 วัน กาบใบและใบสมบูรณ์เน่าบางส่วน หลังน้ำลดถอนดูรากมีรากขาวปนน้ำตาล ระบบรากเน่าบางส่วน อาจมีรากสีดำเหม็น หลังน้ำลด  รีบระบายน้ำออกสาดและฉีดพ่นด้วยอีเอ็ม 100 – 200 ลิตร/ไร่ ข้าวมีโอกาสรอดตาย 30-50 % (กำลังศึกษาที่นคสวรรค์ และ สกลนคร ปี 2554)
                   ข้าวมีอายุ 75 วันขึ้นไป ข้าวจะแข็งแรงมาก พบรากขาวเหมือนปุยฝ้าย ไม่มีส่วนใดเน่าเสียหาย“หลังน้ำลดยังเห็นใบไม่เสียหายหรือเสียหายเพียงเล็กน้อย” มีโอกาสรอดที่สามารถช่วยฟื้นฟูได้ 100 %  (กรณีที่ตลิ่งชัน – สงขลา ปี 2553 และ กำลังศึกษาที่นคสวรรค์ และ สกลนคร ปี 2554)
ข้อสรุปคุณสมบัติของปุ๋ยพบว่า
             1. หลังน้ำลด ข้าวที่มีอายุต่ำกว่า 60 วัน มีโอกาสฟื้นฟูได้ยากมาก เนื่องจากใบข้าวสัมผัสแดดมาน้อยชั่วโมง เมื่อถูกน้ำท่วมกาบและใบข้าวจึงเน่าเสียหายเร็ว ข้าวมีอายุมากกว่า 80 วันมีโอกาสรอดสูงมาก ทั้งข้าวที่ใช้ปุ๋ย และ ข้าวที่ใช้ปุ๋ยอีเอ็ม แต่ใช้อีเอ็มฟื้นตัวง่ายกว่าให้ผลผลิตที่สูงกว่า เพราะระบบรากสมบูรณ์กว่า
             2. หลังน้ำลดให้ถอนรากมาดู แกะกาบห่อลำต้นออก ดูส่วนที่เป็นลำต้นยังสดหรือไม่ ถ้าเน่าก็ไม่ควรช่วย ถ้าเน่าบางส่วนควรพิจารณา ถ้ายังสดทั้งลำต้น ราก ใบอาจเสียหายบางส่วนควรรีบช่วยให้อยู่ในดุลพินิจ
             3. การใช้ปุ๋ยในนาข้าวให้เป็นบทเรียนของชาวนา จากที่ศึกษาพบว่า “ปุ๋ยที่ไม่ดีขณะที่ข้าวยังไม่ตาย รากมันมีสีดำ” มีรากเหม็นเน่าบางส่วน เกิดโรคเพลี้ยะกระโดด  เพลี้ยไฟ หนอนม้วนใบ โรคไม้ รากเน่า โคนเน่า ยืนต้นตาย ฯลฯ ข้าวที่เกิดจากปุ๋ยแบบนี้ พอโดนน้ำท่วมก็คงบอกคำเดียวว่า ปุ๋ยที่ทำให้เกิดรากสีดำนั้นพอกันที หยุดกันเสียที “แม้กระทั่งน้ำยังไม่ท่วมมันยังจะเอาตัวไม่รอด” ใช้ปุ๋ยอะไรก็ได้ที่สร้างสรรค์ระบบรากสีขาวเหมือนปุยฝ้าย จะทำให้ต้นข้าวแข็งแรง แม้น้ำท่วมนานนับเดือนก็ไม่หวั่นไหว จึงขอให้ชาวนาถอนดูรากข้าวเมื่อ “ข้าวมีอายุ 1 เดือน  2 เดือน  3 เดือน และ ตอซังหลังการเก็บเกี่ยว” ว่านาแปลงใดปลูกแล้วมีรากสีขาวเหมือนปุยฝ้าย แล้วจึงตามไปถึงผู้ผลิตซื้อมาใช้ไม่ผิดหวังแน่นอน เพราะข้าวในนาแปลงนั้นจะได้ผลผลิตไร่ละ 1,000 กิโลกรัมแน่นอน
             3. วิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพของดินที่ปลูกข้าว
                   3.1 รากข้าวแข็งเป็นเสี้ยน : มีรากฝอยน้อย รากขนอ่อนไม่มี ข้าวไม่มีการแตกกอ ระบบรากข้าวหากินจากแนวดิ่ง “น้ำไม่ท่วมข้าวก็รากดำ” ข้าวไม่แตกกอ หนึ่งกอไม่เกิน 10 รวง ข้าวนาปี 1 รวงไม่เกิน 7 ระแง้ และไม่เกิน 270 เมล็ด ผลผลิตไม่เกิน 400 กิโลกรัม / ไร่ (ข้าวมะลิ 105) เมื่อดมดินหรือดมรากข้าวมีกลิ่นเหม็น เดินลงไปในนาเหยียบดินมีฟองก๊าซไข่เน่าผุดขึ้นมา กลิ่นเหม็นโชยเข้าจมูก มีข้าวยืนต้นตายเป็นหย่อม ๆ เมื่อน้ำท่วมไม่เกิน 7 วันรากจะเน่าทันทีเกิดการแพร่เชื้ออย่างรวดเร็ว คือ เกิดพิษในดิน - พิษในน้ำ เรียกอาการนี้ว่า “โรคเมาตอซัง (Akiochi) ซึ่งจะเป็นฉนวนทำให้เกษตรกรติดเชื้อโรค Melioidosis ข้าวเกิดเพลี้ยะกระโดด หนอนม้วนใบ ใบไหม้สีน้ำตาล ไหม้คอรวง ฯลฯ สาเหตุเพราะดินที่ใช้ปุ๋ยเคมีมากเกิน 30 ปีขึ้นไป จะฟื้นฟูเยียวยาข้าวที่โดนน้ำท่วมได้ยากมาก  เพราะดินป่วย น้ำป่วย ข้าวป่วย ไม่มีทางรอด เมื่อน้ำไม่ท่วมข้าวก็จะยืนต้นตายอยู่แล้ว ทางแก้ของชาวนาคือ ต้องป้องกันน้ำไม่ให้ท่วมนาเท่านั้นจึงจะช่วยได้ แต่ก็เป็นวิธีที่สุดวิสัยที่จะแก้ไขเยียวยาได้
                         วัชพืชที่เกิดหลังน้ำท่วม หรือ หลังการเก็บเกี่ยว เป็นต้นเล็ก ๆ รากสั้น “ใบแคบ-แหลม-เรียวเล็ก” วัชพืชบางชนิดได้สร้างปมไว้ที่ใต้ดินเป็นที่สะสมพลังงานอาหาร เช่น หญ้าหวาย เป็นต้น เพื่อหลบหลีกภาวะไฟไหม้ฟางหน้าแล้ง โลกร้อน ยาฆ่าหญ้า แล้วแต่ท้องถิ่น วัชพืชจะมีลำต้นแข็งเป็นเสี้ยน มีสีน้ำตาล วัว ควายไม่กิน เพราะเป็นพืชไม่อวบน้ำ แม้แต่ฟางข้าวที่นวดเสร็จหลังการเก็บเกี่ยวเอามือไปสัมผัสจะแข็งเป็นเสี้ยน นำฟางไปเพาะเห็ดฟางไม่เกิดเห็ด คุณสมบัติทางกายภาพของดิน ดินจะแข็งอัดแน่น ไม่มีไส้เดือนเกิดหลังการเก็บเกี่ยว จึงไม่สามารถหมุนเวียนเอาออกซิเจนลงไปหมุนเวียนสู่ใต้ดินได้ ใต้ผิวดินจึงสะสมด้วยเชื้อโรคร้ายนา ๆ ชนิด เป็นสาเหตุให้ข้าวไม่มีภูมิต้านทาน เพราะน้ำไม่ท่วมมันก็จะตายอยู่แล้ว เมื่อน้ำท่วมคงช่วยได้ยาก
                   3.2  รากข้าวขาวเหมือนปุยฝ้าย : นิ่มมือคล้ายสำลี  มีขุยเล็กละเอียดจำนวนมาก ซึ่งเกิดจากคุณสมบัติของปุ๋ยชีวภาพหมักกับซากตอซัง และซากหญ้าพืชสดที่ไถกลบ แล้วเกิดกระบวนการหมักแบบสังเคราะห์ คือหมักแล้วมีกลิ่นหอมที่ดิน ข้าวจึงแตกกอดีมาก ข้าว 1 กอมีรวง 30-50 รวง ระบบรากหาอาหารที่ผิวดินเป็นแนวกว้างไม่ลงลึก ข้าวที่เกิดในดินประเภทนี้จะไม่เกิดโรค จึงแข็งแรง ข้าวนาปีน้ำท่วมนานนับเดือนโอกาสฟื้นตัวรอดตายสูงมาก   และให้ผลผลิตสูงถึงไร่ละ 1,200 กิโลกรัม ทุกพื้นที่ของประเทศไทย และข้าวนาปีทุกสายพันธุ์ ข้าวที่เกิดขึ้นในดินประเภทนี้จะมีภูมิต้านทานจากราเห็ดฟาง เพราะปุ๋ยที่ดีจะต้องเกิดรา Fungal hyphae  ซึ่งเป็นการพึ่งพาราเห็ดฟางในต้นข้าว เมื่อปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพทำให้ฟางข้าวเกิดราเห็ดฟางในลำต้นแล้ว ต้นข้าวจะแข็งแรง เหมือนเชื้อเห็ดฟางเป็นวัคซีนให้กับต้นข้าว ที่เป็นการอาศัยแบบพึงพิงระหว่างราเห็ดฟางกับต้นข้าวนี้เป็นการพึงพิงอาศัยกันและกันแบบเอนโดไมคอร์ ไรซ่า ( Endomycorrhiza)  จะเกิดในพื้นนาที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพคุณภาพดีพิเศษเท่านั้น ปุ๋ยหมักอีเอ็มคือปุ๋ยที่ทำให้ข้าวมีคุณสมบัติดังกล่าว แต่มีปุ๋ยชีวภาพมีมากมายในท้องตลาดชาวไร่ชาวนาไม่อยากโดนหลอกต้องเป็นปราชญ์ชาวนาที่ตาถึง การแสดงความเป็นปราชญ์ของชาวนา คือ เมื่อถอนรากขึ้นมาดู รากข้าวมีคุณสมบัติข้างต้น รากข้าวมีกลิ่นหอม ดินมีกลิ่นหอมเมื่อใช้ติดต่อกันนานหลายปี คุณสมบัติข้าวที่นำไปหุงอยู่ได้ 2-3 วันโดยไม่บูด ฯ
                         วัชพืชที่เกิดหลังน้ำท่วม หรือ หลังการเก็บเกี่ยว ดินมีความชื้นสูงมาก มีไส้เดือน มีรูปู กบ เขียดอาศัยอยู่มาก วัชพืชที่เกิดเป็นพืชอวบน้ำส่วนใหญ่หลังการเก็บเกี่ยวใหม่ ๆ จะมีพวกพืชสมุนไพรที่เป็นอาหารได้ทั้งมนุษย์และสัตว์เลี้ยง วัชพืชที่เกิด เช่น ผักอีฮีน ผักแว่น ผักโหบเฮบ (พืชใบกว้างในนาข้าวซึ่งย่อยสลายเองเป็นปุ๋ยพืชสดที่เกิดหลังปักดำ) หลังเก็บเกี่ยวจะเกิดผักแกงขม ผักแกงส้ม ผักหม ผักกาดนา และหญ้างวงช้างจะเกิดหลังฟางยุบสลาย ผู้เขียนจำได้สมัยเมื่อเป็นเด็กหลังไปขุดกบ เขียด ปูในท้องนาจะมีผักเหล่านี้เกิดในท้องนาเสมอ เมื่อได้กบ เขียด ก็เก็บผักตามท้องนากลับบ้านไปทำแกงอ่อมกิน และบ้านของสัตว์เหล่านี้เป็นรู จึงเป็นพาหะดึงอากาศออกซิเจนลงสู่ใต้ดิน เมื่อออกซิเจนหมุนเวียนถึงใต้ดิน เชื้อโรคจึงไม่สามารถหลบซ่อนอยู่ใต้ดินได้ เพราะออกซิเจนคือก๊าซวิเศษที่เราได้รับแล้วเกิดความสดชื่น เป็นสิ่งที่พระเจ้า หรือ องค์อัลเลาะห์ทรงประทานมาคู่โลก เพื่อ ฆ่าเชื้อโรคร้ายต่าง ๆ นั่นเอง ดินจึงโปร่งร่วนซุย เพื่อสร้างความแข็งแรงให้รากข้าว  ข้าวที่เกิดอยู่ในดินนี้จึงจะมีความแข็งแรงของระบบรากด้วย แม้เกิดอุทกภัยจากน้ำท่วม จึงไม่ไหวหวั่น จากที่ผู้เขียนเข้าไปสัมผัสพบว่า ข้าวนาปีอายุ 75 วัน น้ำท่วม 1 เดือนต้นข้าวยังยืนต้นอย่างทระนง (กรณีที่ ต.ตลิ่งชัน) ใช้อีเอ็มฉีดพ่นพื้นฟื้นฟูจึงไม่ใช่เรื่องยากเลย ปุ๋ยชีวภาพชนิดอื่นอย่าได้น้อยใจ จงนำไปทดลองศึกษา มีเรื่องดี ๆ เอามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เล่าสู่กันฟัง ให้ยึดถือพี่น้องชาวไร่ชาวนาเป็นสำคัญ
             4. วิเคราะห์คุณสมบัติน้ำที่ท่วมข้าว
                   4.1 น้ำที่ท่วมข้าว เป็น น้ำใส มีการไหลหมุนเวียน มีแดดส่องถึงพื้น ข้าวที่โดนน้ำท่วมมีโอกาสรอด และสามารถฟื้นฟูได้ง่าย (เครื่องวันคือ เหล็กสีขาวผูกเชือกหย่อนลงในน้ำ)
                   4.2 น้ำที่ท่วมข้าว เป็น น้ำขุ่น มีดินตะกอนโคนตมเกาะที่ใบ แต่มีไหลหมุนเวียน ไม่มีแดดส่องถึงพื้น ข้าวที่โดนน้ำท่วมมีโอกาสรอดได้น้อย และสามารถฟื้นฟูได้ค่อนข้างยาก
                   4.3 น้ำที่ท่วมข้าว เป็น น้ำใสหรือน้ำขุ่น น้ำนิ่งไม่มีการไหวหมุนเวียน โดยเฉพาะแดดร้อน ๆ กลางวัน น้ำนิ่งขุ่น ดินและน้ำจะเป็นพิษ ที่เรียกว่า การเมาตอซัง ข้าวจะเน่าเปื่อยเร็วมาก
             5. วิเคราะห์การช่วยเหลือข้าวน้ำท่วมต้องทำงานแข่งกับเวลา
             การเข้าไปบำบัดเยียวยาข้าวที่โดนน้ำท่วม ระยะแรกเหมือนกับคนไข้ได้รับอุบัติเหตุใหม่ ๆ  ซึ่งถ้าเป็นคนไข้ที่ได้รับอุบัติเหตุแล้ว จะรอช้าเอาคนไข้นั่งเกวียนไปโรงพยาบาลไม่ได้ เพราะทุกนาทีคือการยืดชีวิตให้กับต้นข้าวบอบช้ำน้อยที่สุด เช่น
                   5.1 ข้าวโดนน้ำท่วม ไม่เกิน 10 วัน เข้าไปช่วยเหลือทันที แม้ข้าวที่ลำต้นยังอ่อนก็สามารถช่วยฟื้นฟูได้
                   5.2 ข้าวโดนน้ำท่วม ไม่เกิน 20 – 30 – 40 – 50 วัน โอกาสที่ต้นข้าวอ่อนแอเหมือนคนป่วยเลี้ยงไขอยู่ในอาการหนักสูงขึ้นตามลำดับ จึงไม่ควรรอช้า รีบยื่นมือเข้าไปช่วยทันทีก่อนที่ทุกอย่างยังไม่สายเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะเมื่อน้ำท่วมนาน ๆ พบว่า ข้าวที่รอดตายคือข้าวที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพคุณภาพดีเท่านั้น และมีรากขาวเหมือนปุ๋ยฝ้ายจึงจะสามารถบำบัดฟื้นฟูได้ 100 %
             การฟื้นฟูข้าวน้ำท่วมหลังน้ำลด :  เป็นวิธีสุดท้ายที่ได้ผลน้อยมาก มีภาวะความเสี่ยงต่อการบอบช้ำของต้นข้าวสูงมาก เพราะโดนน้ำท่วมมานาน ขาดการสังเคราะห์แสง ขาดอากาศหายใจ  ขาดการปรุงอาหารนานนับเดือน จึงทำให้ให้ข้าวฟื้นตัวได้ช้ามาก เช่น เมื่อเห็นคนได้รับอุบัติเหตุร้ายแรง รอนับวันประกันพรุ่งอาจช้าไป  เมื่อเห็นน้ำท่วมข้าวจะนิ่งดูดายรอน้ำลดก่อนอาจสายเกินแก้ได้
             6.  อีเอ็ม และ อีเอ็มบอลช่วยฟื้นฟูข้าวน้ำท่วม
             ไม่อยากโฆษณาว่าให้ใช้ปุ๋ยชีวภาพชนิดไหนดี แต่ที่ กอ.ป่าดงนาทาม ฯ ทำมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2539 และผู้เขียนคนนี้อยู่ในวงการเกษตรอินทรีย์ และเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ ล้มลุกคลุกคานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 เวลานับ 30 ปีที่อยู่วงการภาคเกษตรย่อมรู้ดีว่าความยั่งยืนภาคการเกษตรที่ยั่งยืนคืออะไร ที่ไหน อย่างไร เช่น การใช้ปุ๋ยหมักอีเอ็มไถกลบฟาง ที่ผู้เขียนต่อสู้กับเรื่องนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 ที่อีเอ็มยังไม่เข้ามาประเทศไทย เกิดความยั่งยืนหรือไม่ ให้วันเวลาเป็นสิ่งพิสูจน์เทคนิคการปลูกข้าวที่ทำให้ต้นแข็งแรง เกิดรากขาวเหมือนปุยฝ้ายจริงหรือไม่ ผู้ใช้ ผู้สัมผัสได้ทำด้วยมือ จะรู้ดี หากมีปุ๋ยชีวภาพชนิดใดก็ได้ ที่ในแกลลอนมีจุลินทรีย์ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ชอบอากาศ และ ไม่ชอบอากาศ (ผลิตโดย บริษัทเอ็มโรเอเชีย จำกัด)ในกระบวนการหมัก เป็นโอกาส เป็นอัศวินแก้วิกฤติที่จะทำให้นาล่ม 4 ล้านไร่ในขณะนี้ กับพื้นที่ถูกน้ำท่วม 59 จังหวัดให้กลับฟื้นฟูได้ เพราะเงินของชาวนาที่จมอยู่ไต้กระแสนี้ไร่ละ 5,000 บาทคิดเป็นเงินประมาณ 200,000,000 บาท ซึ่งเป็นการลงทุนของผู้ยากไร้ที่มองเห็นน้ำท่วมข้าวด้วยการหมดอาลัยตา ดังนั้นจะรอช้าอีกต่อไปไม่ได้ เริ่มต้นตามขั้นตอนได้ดังนี้
                   6.1 การทำอีเอ็มโบกาฉิ หรือ  การทำอีเอ็มแห้ง  (สูตรทำในครอบครัว)
          วัสดุ      
1.   รำละเอียด                     1             ปี๊บ             
2.   มูลสัตว์                          1             ปี๊บ                                         
3.   แกลบ                            1             ปี๊บ
             4.   ถังน้ำ 10  ลิตร                1             ใบ     
5.  จุลินทีย์อีเอ็ม   20 ซี.ซี. (2 ช้อนโต๊ะ )   
6.  กากน้ำตาล                     20  ซี.ซี.  
             7.   จอบ  หรือ  พลั่ว              1  อัน
        วิธีทำ
1.   นำมูลสัตว์ และแกลบคลุกให้เข้ากัน                                                                                        
             2.  เติมน้ำลงในถัง  10  ลิตร  แล้วเติมจุลินทรีย์อีเอ็มและกากน้ำตาลลงไปอย่างละ 20 ซี.ซี.  คลุกให้เข้ากัน  รดลงที่ส่วนผสมของมูลสัตว์และแกลบ (ในข้อ 1)   ให้มีความชื้นพอหมาด ๆ  ให้น้ำกระจายทั่วทุกส่วนอย่าให้น้ำเปียกแฉะ ใช้มือบีบดูอย่าให้มีน้ำซึมผ่านออกมา (น้ำผสมอีเอ็ม 10 ลิตรอาจจะใช้ไม่หมด)            
             3.   โรยรำละเอียดให้รำข้าวกระจายทั่วถึง  จะเกิดความชื้นหมาด ๆ พอดี
การหมัก  
             การหมักเพื่อให้จุลินทรีย์อีเอ็มเพิ่มหรือขยายจำนวนประชากรให้มากขึ้น  มีการหมัก 2  แบบคือ
             1.  หมักโดยกองกับพื้นให้สูงจากพื้นประมาณ 20  เซนติเมตร  คลุมด้วยกระสอบป่านภายใน 5  ชั่วโมงจะมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ประมาณ 50  องศาเซลเซียส  ในวันที่ 2  และวันที่ 3  ให้คลุกผสมใหม่  นำกระสอบคลุมไว้เหมือนเดิม  เมื่อครบ 5-7 วัน  ปุ๋ยหมักจะแห้งสนิท  สามารถนำไปใช้ 
             2.   หมักในกระสอบพลาสติก โดยบรรจุลงในกระสอบพลาสติกสานที่มีรูระบายอากาศได้ดี  ประมาณ ½  กระสอบ  มัดปากกระสอบนอนไว้แล้วเก็บในที่ร่มอากาศถ่ายเท  เมื่อถึงวันที่ 2  และวันที่ 3  ให้พลิกกระสอบ  เพื่อให้จุลินทรีย์อีเอ็มสร้างสปอร์หรือเพิ่มจำนวนประชากรทุกส่วนได้อย่างทั่วถึง  เมื่อ 5-7 วันปุ๋ยหมักจะแห้งสนิท
                   6.2 อีเอ็มบอล  คือการทำอีเอ็มโบกาฉิที่แห้งสนิทแล้วนำมาปั้นเป็นก้อนกลม  เพื่อง่ายหรือ
สะดวกในการโยนลงในแหล่งน้ำเสีย เพื่อบำบัดน้ำเสียที่ผิวดิน  จะทำให้การบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น  มีการทำดังนี้
วัสดุ
1.              น้ำสะอาด 10  ลิตร  ผสมอีเอ็ม และ กากน้ำตาลลงในน้ำอย่างละ  2  ช้อน
2.             นำโบกาฉิที่แห้งสนิทแล้วมา    1              ปี๊บ
3.             นำดินร่วน                                     1             ปี๊บ
4.             นำรำละเอียดมา                           1/2         ปี๊บ
ขั้นตอนการทำ
1.             เอาโบกาฉิ และ  ดินเหนียวคลุกผสมกัน  พร้อมทั้งรดด้วยน้ำผสมอีเอ็มจากข้อ 1 รดลงใน
ส่วนผสมจนเกิดความชื้นพอหมาด ๆ อย่าให้แฉะพอปั้นให้เกิดก้อนกลม ๆ
             2.   เอารำละเอียดลงคลุกผสมแล้วปั้นเป็นก้อนกลม ๆ  ทรงกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  5  เซนติเมตร 
             3.   นำก้อนทรงกลมมาวางเรียงกันในที่ร่มหรือผึ่งแดด  ทิ้งไว้ให้แห้งสนิทประมาณ 7-10  วัน
             การทำอีเอ็มโบกาฉิแบบกองโต สูตร ของชุมชน หรือ อบต.
การเตรียมวัสดุ และ เงินเพื่อดำเนินการดังนี้

ที่
รายการวัสดุ
ราคารถบรรทุก

จำนวน

ราคา/
หน่วย
รวมราคา
(บาท)
น้ำหนัก
ปุ๋ยหมัก
1.
มูลสัตว์
20 ตัน
2 เที่ยว
10,000
20,000
น้ำหนัก
2.
เปลือกมันสำปะหลัง
20 ตัน
2 เที่ยว
10,000
20,000
สุทธิ 70ตัน
3..\
ใบไม้สด / ใบไม้แห้ง/แกลบ
10 ตัน
-
-
6,000
ราคาตันละ
3.
จุลินทรีย์อีเอ็ม

10 ลิตร
90
900
872 บาท
4.
กากน้ำตาล

100  ก.ก.
1,000
1,000
หรือ
5.
รถบรรทุกน้ำ

5,000 ลิตร
1,000
1,000
กิโลกรัมละ
6.
ค่ารถไถพรวนผสม

2 ชั่วโมง
1,000
1,000
1.21 บาท
7.
ดินร่วน
20 ตัน
2 รถสิบล้อ
1,000
2,000

8.
รำละเอียด
1 ตัน

10,000
10,000


รวมค่าวัสดุ



61,900
71 ตัน

วิธีทำ
1.    ขยายจุลินทรีย์อีเอ็ม  คือ  เติมอีเอ็ม  1  ลิตร  และกากน้ำตาล  5 ลิตรลงในถัง 200  ลิตร (ทำแบบเดียวกัน 5 ถัง)  เติมน้ำสะอาดลงในถัง 200  ลิตรจนเต็มถัง  ปิดฝาให้สนิท  ไม่ให้อากาศเข้า ทิ้งไว้  5  วัน  ก็จะได้อีเอ็มขยาย  200  ลิตรที่สมบูรณ์ 5 ถังจำนวน 1000 ลิตร
             2.    ในวันที่  5  ให้นำอีเอ็มขยายขึ้นรถฉีดพ่นน้ำ  ขนาดบรรจุ  5,000  ลิตร  เติมอีเอ็มขยายลงในรถฉีดน้ำ  1,000  ลิตร  และเติมกากน้ำตาลที่เหลืออีก 95  ลิตรลงในรถน้ำ  (เอากากน้ำตาลละลายน้ำก่อนเทลงในรถน้ำ )
3.    เตรียมวัสดุทำปุ๋ย  เช่น  มูลสัตว์  เปลือกมันสำปะหลัง   ใบไม้  ผักตบชวา  กองไว้ใกล้ ๆ   กัน  แล้วใช้รถไถนาเดินตาม  หรือ  รถแทรกเตอร์ดัน  และไถพรวนเพื่อคลุกให้วัสดุผสมกัน
4.    ฉีดน้ำที่ผสมอีเอ็มและกากน้ำตาลลงไปในวัสดุเรื่อย ๆ  จนกว่าจะเกิดความชื้นพอหมาด ๆ  ประมาณ  50  %  จึงหยุดฉีด  ระวังอย่าให้แฉะเกินไป  น้ำที่เหลืออาจนำไปฉีดพ่นต่อในแปลงนาได้
การหมักปุ๋ยหมักแบบกองโต
             1. ให้รถไถปรับดันกองปุ๋ยให้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า  โดยไถปรับให้กองปุ๋ยหมักสูงจากดินประมาณ 1 ฟุต
             2. ในวันที่ 3 ให้ไถพรวนผสมอีกครั้ง เพื่อให้ส่วนผสมคลุกกันใหม่อีกครั้ง เพื่อลดความร้อนในกองปุ๋ยหมักให้พอดี ซึ่งจำให้การหมักเชื้ออีเอ็มขยายในกองปุ๋ยได้ดียิ่งขึ้น
             3. ในวันที่ 5 ให้ไถพรวนผสมกองปุ๋ยเพื่อให้เกิดการผสมกันใหม่อีกครั้ง
การทำอีเอ็มบอลแบบกองโต
             1. เมื่อหมักกองปุ๋ยหมักได้ 6-7 วันกองปุ๋ยหมักจะแห้ง ให้ฉีดพ่นน้ำอีเอ็มลงไปในกองปุ๋ยหมักอีกครั้ง  จนเกิดเป็นความชื้นพอหมาด ๆ และนำรำละเอียดไปโปรยลงในกองปุ๋ยหมักประมาณ 500 – 1,000 กิโลกรัม
             2. นำดิน 20 ตันและรำละเอียด 1 ตันมาเทลงบนกองปุ๋ยหมัก ใช้รถไถปรับดัน และใช้ใบไถปรับไถพรวนผสมให้ทุกส่วนผสมให้เข้ากัน หากส่วนผสมแห้งเกินไปให้ฉีดพ่นอีเอ็มลงไปจนเกิดความชื้นพอเหมาะ ไถพรวนแบะฉีดพ่นน้ำอีเอ็มไปเรื่อย ๆ จนกว่าปั้นปุ๋ยหมักได้เป็นก้อนพอดี
             3. ปั้นก้อนปุ๋ยหมักเป็นก้อนกลม   ทรงกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  5  เซนติเมตร  นำก้อนทรงกลมมาวางเรียงกันในที่ร่มหรือผึ่งแดด  ทิ้งไว้ให้แห้งสนิทประมาณ 7-10  วัน
                   6.3 ผลที่เกิดหลังการใช้ ประโยชน์และการนำไปใช้
                   อีเอ็มบอลที่มีจำนวนประชากรของอีเอ็มรวมกันอยู่อย่างหนาแน่น ใช้สำหรับบำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยงกุ้ง  บ่อเลี้ยงปลา  แหล่งน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ  อีเอ็มจะย่อยก๊าชแอมโมเนีย  ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์จนเป็นน้ำที่สะอาดจากก้นบ่อ  โดยปริมาณน้ำเสีย 10  ลูกบาศก์เมตร  จะใช้อีเอ็มบอลประมาณ 2-5 ก้อน  เมื่อโยนอีเอ็มบอลลงในนาข้าวที่ถูกน้ำท่วม จะเกิดผลขึ้นดังนี้
             1. ทำให้น้ำที่ขุ่นใสขึ้น จนแสงแดดส่องถึงพื้นดินได้ ทำให้ข้าวสามารถปรุงอาหารด้วยการสังเคราะห์แสงได้ใต้น้ำ ซึ่งจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจะทำหน้าที่ดึงพลังงานแสงสู่ใต้น้ำได้
             2. อาการเมาตอซังที่เกิดจากน้ำท่วมฟางข้าวเน่ามลพิษหลังน้ำลด ฟางข้าวเน่า 500 ก.ก. /ไร่ จึงมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)  ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ( H2S)  ก๊าซแอมโมเนีย(NH3) ก๊าซมีเทน (CH4) ปริมาณมาก อีเอ็มบอลสามารถย่อยสลายก๊าซดังกล่าวนี้ ทำให้เกิดน้ำในนาข้าวใสสะอาด บริสุทธิ์ เปลี่ยนเป็นน้ำดีจนสะอาด  H2O ได้
             3. ปริมาณการใช้อีเอ็มบอล ใช้อัตราส่วนประมาณ 200 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ก็เหตุปัจจัยที่ไม่แน่นอน ทั้งนี้ควรพิจารณา กรณี เช่น น้ำลึก น้ำตื้น น้ำขุ่น น้ำไหล น้ำนิ่ง ให้โยนอีเอ็มบอลลงไปจนกว่า มองเห็นดิน ที่สามารถมองเห็นดินโคนต้นข้าว  เพราะลงทุนค่าอีเอ็มบอลฟื้นฟูนาข้าวใช้อัตราประมาณ 200 กิโลกรัมต่อไร่  200 บาท ก็ยังดีกว่าปล่อยให้ข้าวเน่าตายที่ลงทุนไปไร่ละ 5,000 บาท  ที่เงินทุนจมหายไปกับกระแสน้ำ
             7.  แผนยุทธศาสตร์ สู้ภัยน้ำท่วมข้าวจากบทเรียนในอดีต
                   ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เหตุของการก่อตัวของพายุได้เกิดขึ้นไม่ต่ำกว่าห้าร้อยล้านปีมาแล้ว กล่าวคือเมื่อต้นฝน ชาวนาไทยได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ คือเกิดการก่อตัวของลมมรสุมพัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย ไม่มีผลต่อการเกิดน้ำท่วม แต่เมื่อย่างเข้าเดือนกรกฎาคม ลมมรสุมจะเปลี่ยนทิศทาง คือจะเป็นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มรสุมจะก่อตัวขึ้นที่มหาสมุทรแปซิฟิก ดังนั้นพอปลายฤดูฝนมรสุมนี้ได้ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมที่รุนแรงทุกปี นับวันที่จะรุนแรงขึ้น ส่งผลให้ชาวไร่ชาวนาสิ้นเนื้อประดาตัว หากไม่มีแผนที่เตรียมการไว้ล่วงหน้า เพราะลมมรสุมที่ก่อตัวเริ่มจากการแสดงอิทธิพลที่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศจีน แล้วแผ่อิทธิพลเข้าไปหาส่วนกลางประเทศจีนแล้วสลายตัวไป ดังนั้นเดือนสิงหาคม – กันยายน – ตุลาคม – พฤศจิกายน – ธันวาคม อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก จะค่อย ๆ ก่อตัวเคลื่อนลงต่ำเรื่อย ๆ เช่น ในเดือนสิงหาคม เวียดนาม ลาว ภาคอีสานตอนบน ภาคเหนือ จะได้รับผลกระทบจากมรสุมนี้ทุกปี ในเดือนกันยายน อิทธิพลของลมมรสุมจะเริ่มก่อตัวขึ้นใหม่ ทำให้พื้นที่เวียดนาม ลาว ภาคอีสาน ภาคกลาง รับอิทธิพลลมมรสุมไปเต็ม ๆ ตลอดทั้งเดือน และอิทธิพลลมมรสุมเกิดใหม่ มีชื่อใหม่อาทิตย์ละลูกสองลูก ประเทศไทยรับไปเต็มตอลดกว่าจะไปสิ้นสุดที่ด้ามขวาน ประมาณเดือนธันวาคม ต่อปีหน้าฟ้าใหม่ เมื่อรู้ว่าลมมรสุมมาทุกปี มีอิทธิพลต่อประเทศไทยอยู่ที่ 5-6 เดือน เราจะแก้วิกฤตินี้อย่างไร
                   7.1 การเตรียมการสร้างองค์ความรู้ให้เกษตรกร มีองค์ความรู้ให้มากที่สุด จากประสบการณ์ที่ผู้เขียนสัมผัสกับรากหญ้า มีน้อยคนมากที่ใส่ใจกับคุณภาพชีวิตรากหญ้า ถ้ามอบองค์ความรู้นี้ให้รัฐบาลรู้เรื่อง ถ้านักวิชาการู้เรื่อง เป็นเรื่องทันที เคมีบอลจะเกิดการระบาดทั้งแผ่นดิน เพราะชาวไร่ ชาวนา จะโดนหลอก เหมือนกับในอดีต ชาวนามีปราชญ์ชาวบ้าน มีความซื่อ มีความบริสุทธิ์ มีองค์ความรู้ ประสบการณ์ทั้งชีวิต องค์ความรู้ของปราชญ์ชาวนามันมีค่ามากกว่าด๊อกเตอร์ทำงานในห้องแอร์ เขาต้องการการยอมรับ เขาอยากพูด เขาอยากเผยแพร่ ผู้เขียนอธิฐานต้องการพบกับปราชญ์ชาวบ้าน เพราะเชื่อว่า ปราชญ์ชาวบ้านมีความซื่อสัตย์ต่อแผ่นดิน “มรดกพ่อ” จะพาวิกฤติให้ประเทศชาติอยู่รอดปลอดภัย ถ้าผู้เขียนมีบารมี มีอำนาจ จะตั้งมหาวิทยาลัยปราชญ์ชาวบ้าน มีรางวัลมอบให้ปราชญ์ชาวบ้านแห่งชาติสาขาต่าง ๆ ให้ปราชญ์ชาวบ้านมีเงินเดือนเพื่อขยายความเป็นไทย สืบศานต์คู่เมืองไทยสืบต่อไป เพราะการศึกษาของชาติมันผิดพลาดมาตั้งแต่จุดเริ่มต้นเป็นเวลายาวนาน จนปัจจุบันนักวิชาการเติมบ้านเติมเมือง มีความรู้ท่วมตัว แต่เอาหัวไม่รอดมีอยู่มากมาย
                   7.2 การคัดเลือกพันธุ์ข้าวนาปีที่แข็งแรงต่อน้ำท่วม ประเทศไทยปลูกข้าวนาปีซึ่งเป็นข้าวไวแสง พันธุ์ข้าว ซึ่งมีอายุการเก็บเกี่ยวที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เพราะเรื่องภูมิต้านของข้าวนาปีสายพันธุ์ต่างๆ ที่ปลูกในทุกภูมิภาคของประเทศไทยมีมากมาย ณ เวลานี้ผู้เขียนยังไม่กล้าบอก จึงไม่กล้าฟันธงได้ว่า ข้าวพันธุ์ใด ในท้องที่ใด เมื่อน้ำท่วม นานนับเดือนมีภูมิต้านทาน เกษตรกรในท้องถิ่นที่ปลูกเท่านั้นจะเป็นผู้บอกคำตอบให้ เมื่อมีการศึกษาวิจัย คงมีคำตอบให้ เป็นคำตอบที่ดีที่สุดในแต่ละท้องที่
                   7.3 เทคนิคการทำนาที่ทำให้ข้าวเกิดภูมิต้านทานสูงเมื่อภาวะน้ำท่วม ที่กล่าวไว้ในตอนแรก ว่าเทคนิคการทำให้ข้าวมีผลผลิตสูง และมีต้นทุนต่ำ ข้าวมีภูมิต้านทานแม้น้ำท่วมนานนับเดือนไม่หวั่นไหล เมื่อนำฟางที่นวดเอาข้าวออกมากองทิ้งตากฝนแล้วเกิดเห็ดฟาง คือ เทคนิคการปลูกข้าวของ กอ.ป่าดงนาทาม ฯ โดย พลเอก. ดร. พิเชษฐ์ วิสัยจร เป็นที่รู้จักกันทั้งแผ่นดิน เมื่อประเทศไทยมีพื้นที่ทำนานับหกสิบห้าล้านไร่ มีปราชญ์ทำนานับหมื่น มีบริษัทผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพนับพันที่มีความประสงค์จะอยากช่วยชาวนา หากมีการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research-PAR) ซึ่งไม่ใช่การนั่งเทียนในห้องแอร์ ผู้เขียนอยากจะนำผู้มีส่วนร่วมทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปลูกข้าว ความรู้สึกผู้ที่กินข้าว มาวิเคราะห์วิจัยช่วยกัน แม้แต่ควายก็จะช่วยในงานวิจัยนี้ด้วย หากมีเจ้าภาพ งานในหน้าที่ไม่รัดตัวมากผู้เขียนจะขอเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมทำวิจัยนี้ด้วย
                   เพราะผู้เขียนไม่วุฒิ ด้านการเกษตร จึงชอบให้ผู้ช่วยที่ซื่อสัตย์ เป็นสัตว์เดรัชฉาน ช่วยวิเคราะห์ วิจัย กล่าวคือ จะให้ วัว ควาย กระต่าย มดช่วยวิเคราะห์สารพิษสารเคมีในพืชผักก่อนนำเข้าตู้เย็น   เมื่อการวิจัยยังไม่ปรากฏแน่ชัด ขอเสนอให้ควายช่วยทำวิจัยให้ก่อนไปพลาง ๆ  คือ เอาฟางที่นวดข้าวเสร็จแล้วมากองที่ควายเดินผ่าน ถ้ามันกินฟางกองไหนถามหาต้นตอดูว่า ปลูกด้วยปุ๋ยชนิดใด ใครคือผู้ผลิต มีเทคนิคการปลูกอย่างไร ผลผลิตเป็นอย่างไร เพราะความจะซื่อสัตย์ ไม่รับซองขาวจากบริษัทผู้ผลิตปุ๋ย เป็นวิธีที่ทำวิจัยง่าย ลงทุนวิจัยถูก ใคร ๆ ก็วิจัยเป็น แม้แต่ความเอาจมูกดมก็วิจัยเป็น และมีความเที่ยงตรงได้มาตรฐาน
                   วิธีทำวิจัยแบบที่ 2 ง่ายเช่นกัน คือ นำฟางที่เหลือจากการนวดข้าวมากองทิ้งไว้ปริมาณที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวกี่กิโลกรัมต่อไร่ โดยนำมากองไว้ใกล้ ๆ กัน ปล่อยทิ้งไว้ให้ตากหมอก ตากแดด ตากฝนตั้งแต่หลังเก็บเกี่ยวเดือนมกราคมจนถึงเดือนธันวาคมปลายปี ฟางกองตากแดดตากฝนนาน 12 เดือนกองไหนเกิดการย่อยสลายอย่างไร กระบวนการย่อยสลายเกิดก๊าซอะไรต่อสิ่งแวดล้อม ปลายปีเหลือกองฟางที่ยังไม่ย่อยสลายกี่กิโลกรัม ของฟางที่เหลือจากปุ๋ยที่เกิดแต่ละชนิด แล้วให้หมอพรทิพย์ โรจน์สุนันท์มาพิสูจน์ มันจะได้ทราบต้นสายปลายเหตุกันเสียทีว่า ทำไมชาวนาชอบเผาฟาง เผาเพราะอะไร ก๊าซที่เกิดภาวะเรือนกระจกที่ตกค้างอยู่ในนา ผู้ผลิตคือใคร แล้วใครจะรับผิดชอบ แต่ชาวนาชาวนาช่วยทำวิจัยแบบง่าย ๆ คือ ฟางกองไหนเกิดเห็ดฟางให้กินตลอดปี ให้ซื้อมาใช้เลย ไม่ผิดหวัง
                   7.3 การเตรียมอีเอ็มบอลก่อนการเกิดลมมรสุมมา ลมมรสุมที่เกิดจากมหาสมุทรแปซิฟิกพัดผ่านประเทศไทยนานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม โดยทำให้เกิดอุทกภัยตั้งแต่ภาคเหนือ แล้วเกิดมรสุมลูกใหม่ซ้อน ๆ กันมาติด ๆ ถึง เดือนธันวาคมที่เบตง กว่า 6 เดือนที่ประเทศไทยทั้งประเทศมีนาล่มจมอยู่ใต้กระแสน้ำ พี่น้องชาวไร่ชาวนา พอเห็นพายุเข้าจีนรุนแรงเดือนกรกฎาคม  พี่น้องทั่วทุกภูมิภาคเตรียมปั้นอีเอ็มบอลรอไว้เลย ดีไหม ให้กรณีศึกษาน้ำท่วมปีที่ผ่านมาคือบทเรียน ถ้าชาวนาปลูกข้าวน้ำท่วมเสียหายหมด เราจะกินอะไรกัน...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น