หน้าเว็บ

บทความที่ได้รับความนิยม

9 พฤศจิกายน 2554

เกษตรยั่งยืน

เกษตรยั่งยืน
--------
                  เกษตรยั่งยืน  ตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในรูปแบบต่าง ๆ  มีความหมายความหมายที่เป็นประโยชน์ต่อโลกของเรา ต่อสุขภาพอนามัย และต่อการดำรงชีวิต   ที่ช่วยให้ทุกชีวิตอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยกันได้อย่างยั่งยืน
                        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงให้ความสำคัญในการจัดการทรัพยากร
ธรรมชาติ และใช้ประโยชน์สูงสุดจากธรรมชาติ   ซึ่งเป็นการรักษาและปรับปรุงสภาพของธรรมชาติให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืนด้วยแนวพระราชดำริ  ทรงสนับสนุนให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยธรรมชาติแทนปุ๋ยเคมี  เพราะสารเคมีสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวอันเป็นที่มาของ เกษตรยั่งยืน เพราะความยั่งยืนเป็นรากฐานของความมั่นคง ฉะนั้นเราควรร่วมมือร่วมใจกันด้วยการเรียนรู้ศัพท์ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อความเข้าใจและนำไปปฏิบัติให้เกิดความมั่นคงต่อไป
                        เกษตรยั่งยืน   กรมป่าไม้ได้แบ่งรูปแบบออกเป็น  5  รูปแบบ คือ
                        1. วนเกษตร   เป็นการปลูกพืชหลายชนิดที่เกื้อกูลกันเหมือนต้นไม้ในป่าธรรมชาติ   มึทั้งไม้ยืนต้นและพืชเศรษฐกิจผสมกัน
                        2. เกษตรผสมผสาน มีลักษณะของการปลูกพืชสองชนิดหรือมากกว่าสองชนิดขึ้นไปในพื้นที่และระยะเวลาเดียวกัน  อาจมีกิจกรรมอื่นที่ไม่ใช่เพียงแค่การปลูกพืชช่วยเสริมในแปลงเกษตรด้วย เช่น การเลี้ยงสัตว์  เลี้ยงปลา  เกษตรกรสามารถปลูกและเลี้ยงสิ่งที่บริโภค   ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเสริมให้เกษตรกรมีรายได้หมุนเวียนตลอดปี  ซึ่งการปลูกแบบหมุนเวียนนี้ช่วยปรับสภาพดินและสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดีเช่นกัน
                        3. เกษตรทฤษฎีใหม่    เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของเกษตรยั่งยืนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่เกษตรกรไทยที่มีพื้นที่ทำกินน้อย และเป็นตัวอย่างบริหารจัดการพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพบนความยั่งยืน  เนื่องจากบนพื้นที่อันจำกัดนี้เกษตรกรสามารถบริหารกิจกรรมที่หลากาหลายเพื่อการาเลี้ยงชีพ  มีกิน และสร้างรายได้ตลอดปี โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
                        4. เกษตรอินทรีย์   ขณะนี้กำลังได้รับความนิยมในกลุ่มผู้บริโภค  เพราะความใส่ใจในสุขภาพและสิ่งแวดล้อม          เกษตรรูปแบบนี้มุ่งเน้นการใช้ความสมดุลทางธรรมชาติเป็นหลักโดยไม่ต้องใช้สารเคมี
                        5. เกษตรธรรมชาติ          เป็นรูปแบบเกษตรที่คำนึงถึงระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมเป็นหลัก  เช่น  เน้นการไม่ไถพรวนดิน ไม่กำจัดวัชพืช ใช้ปุ๋ยธรรมชาติใช้การคลุมดิน และใช้ธรรมชาติให้เกิดประโยชน์โดยไม่ทำลายธรรมชาติด้วยกันเองเพราะดินดีเป็นแหล่งกำเนินของพืชหลายชนิด

ที่มา...วารสารมูลนิธิชัยพัฒนา เรื่อง ศัพท์ควรรู้
ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
โดย  ศุลีพร    บุญบงการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น