หน้าเว็บ

บทความที่ได้รับความนิยม

8 มีนาคม 2556

โรงเรียนผู้นำชาวนาและเกษตรอินทรีย์...ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง


           โรงเรียนผู้นำชาวนาและเกษตรอินทรีย์
        นับแต่.....ประเทศไทยใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 วิถีเกษตรกรไทยเปลี่ยนเข้าสู่ระบบเกษตรกรรม ปฏิวัติเขียว มีการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เป็นเกษตรแบบเคมีแทน แบบเกษตรยังชีพ ปัจจัยการผลิตนำเข้าจากภายนอก ทั้งพันธ์พืช พันธุ์สัตว์ ปุ๋ย และสารเคมีต่างๆ ที่ใช้เพื่อการเกษตร ไม่เว้นแม้แต่เครื่องจักรทางการเกษตร 40 ปี ผ่านไป วิถีเกษตรและชาวนาไทยต้องเผชิญหน้ากับความ ไม่รู้ เป็นผลจากการไม่เคารพธรรมชาติ บั้นปลายชีวิตทุกข์ทรมานด้วย   โรคร้ายเกิดจากพิษสารเคมีรุมเร้า
*  แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (ปี39-44) กำหนดให้ 20 % ของพื้นที่เกษตรกรรม หรือ 25 ล้านไร่ ต้องทำ           ระบบเกษตรกรรมแบบยั่งยืน 4 รูปแบบ คือ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร เกษตรอินทรีย์ และเกษตรธรรมชาติ แต่ไม่อาจต้านแนวทางปฏิวัติเขียวได้ เกษตรกรไทยยังบริโภคสารเคมี ตัวเลขผู้ป่วยจากสารเคมีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาคกลาง
*  มูลนิธิข้าวขวัญ ซึ่งทำงานด้านการพัฒนาเทคโนโลยี สำหรับเกษตรกรรมยั่งยืน และพัฒนาปรับปรุง อนุรักษ์พันธ์ข้าว เปิดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำนาข้าวแบบเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อชักชวนชาวนาร่วมกันแสวงหาทางออก เพื่อลดต้นทุนการผลิต และการพึ่งตนเอง รวมทั้งเพื่อสุขภาพที่ดีของชาวนา ก่อตั้งเป็น รร.ชาวนา
*  เป็นการจัดการความรู้ของชาวนา นำกระบวนการ และให้ชาวนาเป็นผู้ลงมือปฏิบัติจริง,เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้จริงๆ โดย รร.ชาวนา จะเป็นศูนย์กลาง เอาความรู้ไปเสริมชาวบ้าน            บนพื้นฐานความรู้ภูมิปัญญา ทำงานและทบทวนร่วมกัน เกิดความรู้ใหม่ๆ มาจากปฏิบัติจริง
     หลักสูตร นักเรียนชาวนาต้องเรียนรู้ แบ่งเป็น  3  หลักสูตร ได้แก่
1)     การจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธี
2)     การปรับปรุงดิน
3)     การพัฒนาพันธ์ข้าว ที่เหมาะสมกับเกษตรยั่งยืน
     หลักสูตรที่ 1 การจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธี
§  ร่วมกันเรียนรู้ระบบนิเวศในแปลงนา
§  เรียนรู้วงจรชีวิตของแมลง,เรียนรู้แมลงดี แมงร้าย และสัตว์อื่นๆ
§  เรียนรู้ สมุนไพรพื้นบ้าน ป้องกันแมลง
§  กระบวนการเรียนรู้จริง ตามพื้นที่การทำนา ตรวจสอบว่าเป็นแมลงดี (ป้องกันศัตรูพืช) หรือแมลงร้าย(กินต้นข้าว)
ความรู้ที่ได้
1)     ในแปลงนา มีแมลงที่เป็นมิตรกับชาวนา มากกว่าแมลงร้าย
2)     การฉีดพ่นสารเคมี ที่ให้แมลงที่เป็นมิตรกับชาวนาหายไป
3)     การปล่อยให้แมลงควบคุมกันเอง เป็นการลดต้นทุน
4)     หากไม่สามารถ ควบคุมแมลงได้ ให้ใช้สมุนไพรไล่แมลง
5)     สูตรสมุนไพรต่างๆ ที่ใช้ไล่แมลง
     หลักสูตรที่ 2 การปรับปรุงบำรุงดิน โดยไม่ใช้สารเคมี
§  เรียนรู้ กลไกหมักฟาง การใช้จุลินทรีย์ ย่อยสลายฟางข้าวในนา
§  เรียนรู้ จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ ทดลอง คิดค้นสูตรน้ำหมักต่างๆ เพื่อคืนชีวิตให้แก่ดิน
§  สร้างจิตสำนึกที่ดีในการพัฒนาดิน โดยชีววิธี เช่น ฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณี และความเชื่อให้กลับมา  โดยนำสัญลักษณ์ของพระแม่ธรณี แทนความมีชีวิตของดิน หากดินแข็ง ไม่มีธาตุอาหาร เท่ากับว่า เลี้ยงแม่ธรณีไม่ดี ปล่อยให้แม่ธรณีอดอยาก แม่ธรณีตาย ทำให้ไม่มีใครคุ้มครอง ช่วยเหลือแม่โพสพ ให้งอกงาม
กระบวนการเรียนรู้จริง
·       ใช้สายตาวิเคราะห์ดิน นำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ให้ชาวบ้านทดสอบ ความเป็นกรด เป็นด่างของดิน แต่ละแปลงของสมาชิก รวมทั้งสารเคมีที่ตกค้างปรากฏว่า ดินในพื้นที่เดียวกัน ก็มีลักษณะ ที่ต่างกัน
·       นำเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงดิน โดยเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ
·       ขั้นตอนนี้ นักเรียนชาวนา จะได้เรียนรู้จากแหล่งความรู้ภายนอก ทำให้เกิดความมั่นใจ และเกิดความภาคภูมิใจ ในฐานะ นักวิทยาศาสตร์ในแปลงนา
·       ร่วมฟื้นฟูวัฒนธรรม ประเพณีในการทำนา ตามขั้นตอนกระบวนการทำนา
o  พิธีรับขวัญข้าว, การลงแขกเกี่ยวข้าว, การบวงสรวงพระแม่โพสพ
o  พิธีนำข้างขึ้นยุ้ง, พิธีไหว้แม่ธรณี
กิจกรรม นี้ ทำให้เกิดความรักความสามัคคี ในกลุ่มนักเรียนชาวนา และชาวบ้านใกล้เคียง
§  การกำจัดวัชพืชในแปลงนา การทำนาที่ไม่ใช้สารกำจัดวัชพืช มีอยู่วิธีเดียวคือการทำนาดำ
        หลักสูตรที่ 3 การพัฒนาพันธ์ข้าวที่เหมาะสมกับเกษตรยั่งยืน
·       ชาวนาจะร่วมกันระดมความคิดเห็น เรื่องการพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีอยู่เดิม ให้ดีขึ้น โดยระดมความรู้ เรื่อง พันธุ์ข้าวของไทยที่ต้องการอนุรักษ์
·       ระดมความคิดเห็น ลักษณะพันธุ์ข้าวที่ดี, ข้าวที่ชาวนาต้องการบริโภค เพื่อลดต้นทุนการซื้อเมล็ดพันธุ์จากพ่อค้า และขยายพันธุ์,พัฒนาพันธุ์ข้าวได้ตามเหมาะสมกับพื้นที่ ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค
                 กระบวนการที่เกิดขึ้นจริง
o  เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ในเรื่อง การคัดและผสมพันธุ์ข้าว โดยถอนต้นข้าวจริง มาเพื่อ   การเรียนรู้
o  ลักษณะทางกายภาพ ของต้นข้าว ตั้งแต่รากถึงรวงข้าว
o  เรียนรู้ลักษณะ เมล็ดพันธุ์ที่ดี ที่สมบูรณ์


โรงเรียนผู้นำชาวนาและเกษตรอินทรีย์
ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กองทุนแม่ของแผ่นดิน สู้วิกฤตเศรษฐกิจ
*   รร.ผู้นำชาวนาฯ บ้านหัวควน ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
*   รร.ผู้นำชาวนาฯ บ้านน้ำดำ ต.ปุโละปุโย อ.หนองจิก จ.ปัตตานี
วัตถุประสงค์
1)      เพื่อตอบสนองยุทศาสตร์ การแก้ปัญหาความยากจน โดยการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ จาการทำเกษตรตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2)      เพื่อส่งเสริมพัฒนาอาชีพ
3)      เพื่อให้สมาชิก นำความรู้จากการอบรม นำไปขยายผลประกอบกิจกรรม ในพื้นที่ทำกินของตนเอง
4)      เป็นศูนย์เรียนรู้ กองทุนแม่ของแผ่นดิน
วิธีดำเนินการ
1)      รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ จากสมาชิกกองทุนแม่ของแผ่นดิน
2)      คัดเลือกปราชญ์ชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อร่วมเป็นวิทยากรในการดำเนินกิจกรรม
3)      อบรมสมาชิก เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติ
4)      ฝึกปฏิบัติในเขตที่ดินของตนเอง โดยมีวิทยากร และเจ้าหน้าที่ แนะนำ ติดตามอย่างใกล้ชิด
5)      สนับสนุนการจัดตั้งเครือข่าย ชมรมเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อประสานงาน กับกลุ่มองค์กรอาชีพ เป็นการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และทรัพยากร
6)      จัดทำฐานข้อมูล ทั้งด้านองค์ความรู้ ปราชญ์ชาวบ้าน และกิจกรรม ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลการเรียนรู้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
§  สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการมีอาชีพ ทำงานในท้องที่ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และนำความรู้ที่ได้ ไปขยายผล   ในพื้นที่ทำกินของตนเอง อย่างยั่งยืน
§  ลดรายจ่ายในครอบครัว มีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดปัญหาด้านสังคม
§  สามารถสร้างเครือข่าย และถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่นได้
§  สมาชิกสามารถนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปปฏิบัติในพื้นที่ตนเองได้ 100 %

     ชาวนารุ่นใหม่อนาคตของสังคมไทย
o   ชาวนาวันนี้ไม่ได้ไถนาด้วยควาย ใช้รถไถที่นั่งสบาย,เครื่องพ่นเมล็ดข้าว,มีเครื่องสูบน้ำ
o   รอ 3 – 4 เดือน ให้ข้าวโต แล้วก็เกี่ยว ไม่ต้องใช้เคียว แต่ใช้รถเกี่ยว 100  ไร่ ไม่กี่วันก็เสร็จ ได้ข้าวสัก  50  ตัน เป็นอย่างน้อย นี่หมายถึงแบบธรรมดา ถ้าตั้งใจจริงๆ ดูแลดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ สองสามปีอาจได้ 100 ตัน
o   คุณ ชัยพล  ยิ้มไทร หนุ่มชาวนาปริญญาตรี ทำนาแถวนนทบุรี ร้อยกว่าไร่ ได้ครั้งละ 50 ตัน ปีหนึ่ง ทำสองหน   มีรายได้ประมาณ 2 ล้านบาท หักค่าใช้จ่ายแล้ว น่าจะเกินล้านบาท จึงได้ชื่อว่า ชาวนาเงินล้าน ทำนาคนเดียว ไม่แปลก เพราะมีเครื่องทุนแรง
                                    ได้รับแรงบันดาลใจจากข้อเขียน คุณเดชา   ศิริภัทร เลขาธิการมูลนิธิข้าวขวัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น