หน้าเว็บ

บทความที่ได้รับความนิยม

20 พฤษภาคม 2555

สรุปผลการดำเนินงาน ชมรมเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อ20 พฤษภาคม 2555

สรุปผลการดำเนินงาน ชมรมเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อคุณภาพชีวิต

1.ความเป็นมา
          -ปี 40-41 ประเทศประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจอย่างรุ่นแรง(ยุค IMF ,ต้มยำกุ้ง)  นโยบาย ผบ.ทบ.(พล.อ.เชษฐา  ฐานะจาโร) ให้ส่งกำลังพลเข้ารับการฝึกอบรมเกษตรธรรมชาติคิวเซ  เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ในการที่จะนำมาช่วยเหลือตนเองและครอบครับ ตลอดจนช่วยเหลือกำลังพลภายในหน่วย และชุมชนรอบค่ายทหาร
          -ปี 45 และ 46 ฝึกอบรมเกษตรธรรมชาติคิวเซ ณ  จว.สระบุรี    หลักสูตรพื้นที่ฐาน รุ่นที่ 6
และวิทยากรรุ่นที่ 3 ตามลำดับ
          -เมื่อ 16 มิถุนายน 2546 จัดตั้งโครงการรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ  ณ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง
          -เมื่อ 11 กรกฎาคม 2548 จัดตั้งชมรมเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต    เลขที่ 41/385   กรมยุทธศึกษาทหารบก ถนนเทอดดำริ  เขตดุสิต กทม.
          -เมื่อ 17 พฤษภาคม 2551 จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จว.อุทัยธานี
  เลขที่ 50 หมู่ 17 บ้านเพชรผาลาด ต.ตลุกดู่ อ.ทัพทัน จว.อุทัยธานี 
          -ปี 52 เป็นวิทยากรบรรยาย โครงการสู้วิกฤติเศรษฐกิจด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กองทัพบก(ทบ.)   และวิทยากรบรรยาย โครงการเสริมสร้างชุมชนแข้มแข็งตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)
          -เมื่อ 19 มกราคม 2554 เปิดศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง    ต.ท่าเสา  อ.กระทุ่มแบน
จว.สมุทรสาคร
2. การดำเนินงานที่ผ่านมา
          2.1 จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง   ทั้งในและนอกสถานที่
          2.2 ร่วมกับมวลชน กอ.รมน.ให้สมาชิก เครือข่าย และผู้สนใจ เข้าเยี่ยมชมโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา 
          2.3 จัดให้สมาชิก เครือข่าย และผู้สนใจ  เข้าร่วมการฝึกอบรมหลักสูตรไทยอาสาป้องกันชาติ และหลักสูตรพัฒนาสัมพันธ์เครือข่ายความมั่นคงระดับผู้บริหาร กอ.รมน.
          2.4 เมื่อ 7 พฤษภาคม 2555 งานสัมมนาการพัฒนาแก้ปัญหาท้องถิ่นด้วยจุลินทรีย์ EM  ภาคตะวันออก    โรงแรมซัมบีม  พัทยา จว.ชลบุรี
          2.5 การตรวจเยี่ยมและเยี่ยมชม ศูนย์ส่งเสริมเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จว.จันทบุรี(กำนัน สวัสดิ์   ขำเจริญ)
          2.6 เมื่อ 18 ตุลาคม 2554  จัดทำโครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยด้วยจุลินทรีย์ EM
          2.7 เมื่อ 20 ธันวาคม 2554 จัดทำโครงการฟื้นฟูนาข้าวหลังน้ำท่วม
          2.8 เมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2555 จัดทำโครงการผลิตและจำหน่ายข้าวอินทรีย์ชีวภาพด้วย EM
3. แผนงานที่จะดำเนินการต่อไป
          3.1 จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง      ศูนย์ส่งเสริมเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จว.อุทัยธานี  เป็นประจำทุกเดือน
และการทำนาข้าวอินทรีย์ชีวภาพด้วย EM
          3.2 จัดงานส่งเสริมเกษตรกรชาวนา “ปลูกวันแม่เกี่ยววันพ่อ” แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสาธิตการทำนาข้าวอินทรีย์ชีวภาพด้วย EM
          3.3 จัดสัมมนาการพัฒนาแก้ปัญหาท้องถิ่นด้วย EM  ภาคกลาง และภาคเหนือ
          3.4 จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น  เดือนละ 1-2 ครั้ง
          3.5 จัดงานมหกรรมเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อคุณภาพชีวิต  เดือนละ 1 ครั้ง
          3.6 การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความมั่นคง  ด้วยการฝึกอบรมให้ความรู้    ลงมือปฏิบัติ
สร้างองค์กรต้นแบบ   และขยายเครือข่าย
4. ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ
          4.1 การรวบรวมข้อมูลสมาชิก เครือข่าย และวิทยากร ตลอดจนสถานที่ฝึกอบรม
                   - วิทยากรหลักสูตรเกษตรธรรมชาติคิวเซ
                   - วิทยากรโครงการสู้วิกฤติเศรษฐกิจด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
                   - วิทยากรสัมภาษณ์ในรายการ “กองทัพบกเพื่อประชาชน”
                   - วิทยากรสารคดีในรายการ “พิทักษ์สิ่งแวดล้อม”
                   - วิทยากรเขียนบทความลง นิตยสารเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          4.2 ความร่วมมือกับสถานศึกษา
                   - นักศึกษาฝึกงาน ได้แก่ รร.อาชีวเกษตรสงเคราะห์, รร.การอาชีพ, วิทยาเกษตรและเทคโนโลยี,วิทยาลัยเทคนิค,วิทยาลัยสารพัดช่าง,วิทยาลัยชุมชน เป็นต้น
                   - ค่ายฝึกเยาวชน   คนรักถิ่น   หัวใจเกษตร   รักบ้านเกิด   ยุวเกษตร 
                   - ค่ายฝึกอบรมสำหรับประชาชน โครงการฟื้นฟูเกษตรกรไทย โครงการพักชำระหนี้ ธ.ก.ส.
โครงการกองทุนฟื้นฟู  โครงการสภาเกษตรกร
          4.3 การบูรณาการงานพัฒนาโครงการตามแนวทางพระราชดำริ  เครือข่ายความร่วมมือ ภาครัฐ
ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาชน  ภาคประชาสังคมและสื่อ
          4.4 วางแผนการตลาดและบริการให้ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาค ตั้งแต่ระดับภาค จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน/ชุมชน
          4.5 สื่อประชาสัมพันธ์ สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ   วิทยุส่วนกลางและชุมชน  สถานีโทรทัศน์

----------------
                  
                  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น