หน้าเว็บ

บทความที่ได้รับความนิยม

20 พฤษภาคม 2555

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความมั่นคง

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความมั่นคง
ชมรมเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อคุณภาพชีวิต
-----------------
1. หลักการและเหตุผล
              จากสภาวการณ์ในปัจจุบันของสังคมไทยและประชาคมโลก กำลังเผชิญกับวิกฤติมหันตภัยจากความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เกิดภาวะความเสี่ยงต่อโรคระบาดทั้งในคน สัตว์  และพืช     การขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง           ก่อให้เกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มนุษยชาติและประชาคมโลกต่างแสวงหาองค์ความรู้และภูมิปัญญาที่จะฝ่าวิกฤติดังกล่าว   ในการพัฒนาคน   ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง     ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้ทูลเกล้าถวายรางวัล “ความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์”แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และทรงยกย่องว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ผ่านการพิสูจน์ทฤษฎีอย่างเป็นรูปธรรมของความสำเร็จที่สามารถจะนำพาสังคมและนานาประเทศให้รอดพ้นจากวิกฤติการณ์ได้เป็นอย่างดี 
              แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) ยังคงน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันและมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม  เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างสมดุลย์และยั่งยืน
              การปฏิบัติตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง    เกษตรทฤษฎีใหม่   และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ   สามารถช่วยสร้างจิตสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ         มีความรักและหวงแหน
ผืนแผ่นดินถิ่นเกิด    ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต     สร้างความรู้รักความสามัคคี  ตลอดจนการเป็นพลเมืองที่ดีช่วยเหลือราชการและประชาชนในการพัฒนาประเทศ  เพื่อความมั่นคงอย่างถาวร
2. วัตถุประสงค์
      2.1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักคิดทฤษฎี หลักปฏิบัติ และหลักคุณธรรมตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
      2.2 เพื่อนำความรู้ไปขับเคลื่อนเชิงยุทธศาสตร์ในระดับนโยบายและการปฏิบัติ  ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
      2.3 เพื่อสร้างเครือข่ายการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับนโยบายทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาคประชาชาสังคมและสื่อ
3. เป้าหมาย 
      3.1 เชิงปริมาณ    มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ และร่วมกิจกรรมทั่วทุกภูมิภาค
      3.2 เชิงคุณภาพ    มีองค์กรเครือข่ายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีความรู้ความเข้าใจใน
หลักคิดทฤษฎี หลักปฏิบัติ และหลักคุณธรรม เกิดผู้นำการเปลี่ยนแปลง และสามารถนำความรู้ไปขับเคลื่อน
เชิงยุทธศาสตร์ในระดับนโยบายและการปฏิบัติ ให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง ทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมและสื่อ
4. การดำเนินงาน
     4.1 การจุดประกาย  ด้วยการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจของเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการจัดประกายให้คนมีความเข้าใจที่ถูกต้อง และเกิดการตื่นตัว การจัดชุดเข้าพบปะพี่น้องประชาชนฝึกอบรม ทัศนศึกษา และกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
     4.2 การตอกเสาเข็ม  เน้นการสร้างต้นแบบ(Case study) ให้ประชาชนเห็นว่าหลักเศรษฐกิจพอเพียงทำได้และประสบผลสำเร็จได้จริง  ที่สำคัญสร้างความเข้าใจว่าเศรษฐกิจพอเพียง  มิได้จำกัดเฉพาะเกษตรกรหรือชาวไร่ชาวนาเพียงเท่านั้น  แต่เป็นเศรษฐกิจของทุกคน ทุกอาชีพ ทั้งที่อยู่ในเมืองและอยู่ในชนบท ทำการเผยแผ่ประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง
     4.3 การสร้างเครือข่าย ในลักษณะการระดมพลังจากทุกภาคส่วนสนับสนุนกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เครือข่ายภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมและสื่อ   ด้วยการให้เครือข่ายภาควิชาการที่มีนักคิด ผู้ทรงคุณวุฒิในมหาวิทยาลัย สร้างกระบวนการเรียนรู้ นำเครือข่ายโรงเรียนเข้ามาร่วมและเครือข่ายสื่อมวลชนดำเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์    
     4.4 การขับเคลื่อนให้เกิดการนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม   เกิดผลผลิต  ผลสัมฤทธิ์   เป็นความกินดี  อยู่ดี
มีความสงบสุข เกิดความมั่นคงทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว หมู่บ้าน/ชุมชน จนถึงระดับประเทศ  
5. วัน-เวลา และสถานที่  
     5.1 ห้วงเดือน มกราคม – ธันวาคม 2555
     5.2 ในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล  ตลอดจนภูมิภาคต่าง ๆ
6. งบประมาณ
     6.1 หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ที่ให้การสนับสนุน
     6.2 องค์กรสนับสนุน หรือบริจาค      
7. ผู้รับผิดชอบโครงการ
     7.1 ชมรมเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อคุณภาพชีวิต
     7.2 มูลนิธิดินดี น้ำใส แห่งประเทศไทย
     7.3 มูลนิธิเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
8. หน่วยงานให้การสนับสนุน
     8.1 หน่วยงาน/องค์กรเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียง
     8.2 หน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและสื่อ
9.  การประเมินผล
      9.1 การสังเกต และสัมภาษณ์
      9.2 แบบสอบถามผู้เข้ารับการอบรม
      9.3 การติดตามผลการปฏิบัติงาน
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
      10.1 ผู้ร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในหลักคิดทฤษฎี หลักปฏิบัติ และหลักคุณธรรมตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
      10.2 ผู้ร่วมโครงการมีประสบการณ์และพร้อมที่จะนำไปขับเคลื่อนเชิงยุทธศาสตร์ในระดับนโยบายและการปฏิบัติ  ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
      10.3 มีเครือข่ายความร่วมมืออย่างบูรณาการทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมและสื่อ
                                                ------------------------------












                      ปัจจัยความสำเร็จในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความมั่นคง
------

1.       ภาคีเครือข่าย/ผู้นำขับเคลื่อน ต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึงระบบเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้  แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องพึ่งตนเอง 100%   โดยไม่พึ่งเงิน   ไม่พึ่งการค้า ไม่สมาคมกับใคร
2.       ภาคธุรกิจเอกชน ควรมีส่วนผลักดันในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้มากขึ้น  ไม่มุ่งการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างผลกำไร  แต่ทำธุรกิจเพื่อสังคมควบคู่ไปด้วย  คนกับสังคม และองค์กรจะสามารถปรับเข้าหากันได้ และจะก่อให้เกิดความยั่งยืนมากกว่า
3.       ภาคอุตสาหกรรม เน้นการผลิตด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง และไม่ควรทำอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกินไป และชิ้นส่วนในการผลิตให้มีลักษณะพึ่งพา ลดการบริโภคนิยมให้น้อยลง
4.       ทุกภาคส่วนภาคีการพัฒนาสามารถร่วมกันผลักดันให้ประเทศก้าวสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือ การเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รับฟังแต่ละฝ่ายโดยปราศจากอคติ  นำเสนอตัวอย่าง มีการระดมสมอง และดึงประเด็นสำคัญๆ ขึ้นมาเป็นแนวทางพัฒนา
5.       ความสำเร็จของทุกภาคีการพัฒนาในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ควรจะต้องเกิดจากการ “ระเบิดออกมาจากภายใน” ของแต่ละภาคส่วน เพราะเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง  ความสำเร็จจะอยู่ที่ใจตนเป็นสำคัญ
6.       การปลูกฝังอุดมการณ์และการสร้างจิตสำนึกในการแสดงความจงรักภักดี  หวงแหน รักษาทนุบำรุงต่อสถาบันชาติ  ศาสนา พระมหากษัตริย์      ตลอดจนการรู้รักสามัคคี    การเป็นพลเมืองที่ดี   และมีจิตสำนึกด้านความมั่นคง



----------

















ผนวก    กิจกรรมตามแผน/โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความมั่นคง
------

    1. โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง
    2. โครงการฝึกอบรมผู้นำขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
    3. โครงการสัมมนาวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงสัญจร
    4. โครงการเสริมสร้างชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
    5. โครงการเสริมสร้างสุขภาพ(สุขภาพดี วิถีไทย)
    6. โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    7. โครงการฝึกวิชาชีพ(อาชีพเสริม เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส)
    8. จัดงาน “มหกรรมเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อคุณภาพชีวิต” สืบสานวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
    9. จัดงาน “รวมใจภักดิ์ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เทิดไท้องค์ราชันย์”
  10. โครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ประวัติศาสตร์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น
  11. โครงการค่ายฝึกอบรมเยาวชนหัวใจเกษตรธรรมชาติ
  12. โครงการค่ายฝึกอบรมผู้นำขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
  13. โครงการปฏิบัติธรรมนำชีวิต
  14. โครงการบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์
  15. โครงการขยะเศรษฐกิจ/ธนาคารขยะ
  16. โครงการธนาคารจุลินทรีย์
  17. โครงการธนาคารต้นไม้
  18. โครงการธนาคารปุ๋ยชีวภาพ
  19. โครงการวิสาหกิจชุมชน
  20. โครงการฟื้นฟูนาข้าวหลังน้ำท่วม
  21. โครงการผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพด้วยเทคโนโลยีอีเอ็ม

ฯลฯ




สรุปผลการดำเนินงาน ชมรมเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อ20 พฤษภาคม 2555

สรุปผลการดำเนินงาน ชมรมเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อคุณภาพชีวิต

1.ความเป็นมา
          -ปี 40-41 ประเทศประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจอย่างรุ่นแรง(ยุค IMF ,ต้มยำกุ้ง)  นโยบาย ผบ.ทบ.(พล.อ.เชษฐา  ฐานะจาโร) ให้ส่งกำลังพลเข้ารับการฝึกอบรมเกษตรธรรมชาติคิวเซ  เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ในการที่จะนำมาช่วยเหลือตนเองและครอบครับ ตลอดจนช่วยเหลือกำลังพลภายในหน่วย และชุมชนรอบค่ายทหาร
          -ปี 45 และ 46 ฝึกอบรมเกษตรธรรมชาติคิวเซ ณ  จว.สระบุรี    หลักสูตรพื้นที่ฐาน รุ่นที่ 6
และวิทยากรรุ่นที่ 3 ตามลำดับ
          -เมื่อ 16 มิถุนายน 2546 จัดตั้งโครงการรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ  ณ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง
          -เมื่อ 11 กรกฎาคม 2548 จัดตั้งชมรมเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต    เลขที่ 41/385   กรมยุทธศึกษาทหารบก ถนนเทอดดำริ  เขตดุสิต กทม.
          -เมื่อ 17 พฤษภาคม 2551 จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จว.อุทัยธานี
  เลขที่ 50 หมู่ 17 บ้านเพชรผาลาด ต.ตลุกดู่ อ.ทัพทัน จว.อุทัยธานี 
          -ปี 52 เป็นวิทยากรบรรยาย โครงการสู้วิกฤติเศรษฐกิจด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กองทัพบก(ทบ.)   และวิทยากรบรรยาย โครงการเสริมสร้างชุมชนแข้มแข็งตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)
          -เมื่อ 19 มกราคม 2554 เปิดศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง    ต.ท่าเสา  อ.กระทุ่มแบน
จว.สมุทรสาคร
2. การดำเนินงานที่ผ่านมา
          2.1 จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง   ทั้งในและนอกสถานที่
          2.2 ร่วมกับมวลชน กอ.รมน.ให้สมาชิก เครือข่าย และผู้สนใจ เข้าเยี่ยมชมโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา 
          2.3 จัดให้สมาชิก เครือข่าย และผู้สนใจ  เข้าร่วมการฝึกอบรมหลักสูตรไทยอาสาป้องกันชาติ และหลักสูตรพัฒนาสัมพันธ์เครือข่ายความมั่นคงระดับผู้บริหาร กอ.รมน.
          2.4 เมื่อ 7 พฤษภาคม 2555 งานสัมมนาการพัฒนาแก้ปัญหาท้องถิ่นด้วยจุลินทรีย์ EM  ภาคตะวันออก    โรงแรมซัมบีม  พัทยา จว.ชลบุรี
          2.5 การตรวจเยี่ยมและเยี่ยมชม ศูนย์ส่งเสริมเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จว.จันทบุรี(กำนัน สวัสดิ์   ขำเจริญ)
          2.6 เมื่อ 18 ตุลาคม 2554  จัดทำโครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยด้วยจุลินทรีย์ EM
          2.7 เมื่อ 20 ธันวาคม 2554 จัดทำโครงการฟื้นฟูนาข้าวหลังน้ำท่วม
          2.8 เมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2555 จัดทำโครงการผลิตและจำหน่ายข้าวอินทรีย์ชีวภาพด้วย EM
3. แผนงานที่จะดำเนินการต่อไป
          3.1 จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง      ศูนย์ส่งเสริมเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จว.อุทัยธานี  เป็นประจำทุกเดือน
และการทำนาข้าวอินทรีย์ชีวภาพด้วย EM
          3.2 จัดงานส่งเสริมเกษตรกรชาวนา “ปลูกวันแม่เกี่ยววันพ่อ” แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสาธิตการทำนาข้าวอินทรีย์ชีวภาพด้วย EM
          3.3 จัดสัมมนาการพัฒนาแก้ปัญหาท้องถิ่นด้วย EM  ภาคกลาง และภาคเหนือ
          3.4 จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น  เดือนละ 1-2 ครั้ง
          3.5 จัดงานมหกรรมเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อคุณภาพชีวิต  เดือนละ 1 ครั้ง
          3.6 การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความมั่นคง  ด้วยการฝึกอบรมให้ความรู้    ลงมือปฏิบัติ
สร้างองค์กรต้นแบบ   และขยายเครือข่าย
4. ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ
          4.1 การรวบรวมข้อมูลสมาชิก เครือข่าย และวิทยากร ตลอดจนสถานที่ฝึกอบรม
                   - วิทยากรหลักสูตรเกษตรธรรมชาติคิวเซ
                   - วิทยากรโครงการสู้วิกฤติเศรษฐกิจด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
                   - วิทยากรสัมภาษณ์ในรายการ “กองทัพบกเพื่อประชาชน”
                   - วิทยากรสารคดีในรายการ “พิทักษ์สิ่งแวดล้อม”
                   - วิทยากรเขียนบทความลง นิตยสารเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          4.2 ความร่วมมือกับสถานศึกษา
                   - นักศึกษาฝึกงาน ได้แก่ รร.อาชีวเกษตรสงเคราะห์, รร.การอาชีพ, วิทยาเกษตรและเทคโนโลยี,วิทยาลัยเทคนิค,วิทยาลัยสารพัดช่าง,วิทยาลัยชุมชน เป็นต้น
                   - ค่ายฝึกเยาวชน   คนรักถิ่น   หัวใจเกษตร   รักบ้านเกิด   ยุวเกษตร 
                   - ค่ายฝึกอบรมสำหรับประชาชน โครงการฟื้นฟูเกษตรกรไทย โครงการพักชำระหนี้ ธ.ก.ส.
โครงการกองทุนฟื้นฟู  โครงการสภาเกษตรกร
          4.3 การบูรณาการงานพัฒนาโครงการตามแนวทางพระราชดำริ  เครือข่ายความร่วมมือ ภาครัฐ
ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาชน  ภาคประชาสังคมและสื่อ
          4.4 วางแผนการตลาดและบริการให้ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาค ตั้งแต่ระดับภาค จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน/ชุมชน
          4.5 สื่อประชาสัมพันธ์ สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ   วิทยุส่วนกลางและชุมชน  สถานีโทรทัศน์

----------------